Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

กรมราชทัณฑ์

กรมราชทัณฑ์
Department of Corrections
เครื่องหมายราชการ
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง13 ตุลาคม พ.ศ. 2458; 109 ปีก่อน (2458-10-13)
กรมก่อนหน้า
  • แผนกราชทัณฑ์
  • การราชทัณฑ์
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 222 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
บุคลากร13,894 คน (พ.ศ. 2568)[1]
งบประมาณต่อปี13,972,653,300 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์, อธิบดี
  • พันตำรวจโท เชน กาญจนาปัจจ์, รองอธิบดี
  • ชาญ วชิรเดช, รองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงยุติธรรม
ลูกสังกัดกรม
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่

กรมราชทัณฑ์ (อังกฤษ: Department of Corrections) เป็นหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่ดูแลเรือนจำและผู้ต้องราชทัณฑ์จากคดีต่าง ๆ

ประวัติกรมราชทัณฑ์

การราชทัณฑ์ของไทย ได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้อง กับสังคมการเมืองและสภาพเศรษฐกิจ ตลอดยุคสมัยที่ผ่านมา ในยุคก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการเรือนจำได้ สังกัดอยู่ตามส่วนราชการต่าง ๆ สอดคล้องกับการปกครองแบบจตุสดมภ์ คือ แบ่งเป็นเรือนจำในกรุงเทพฯ และเรือนจำในหัวเมืองชั้นนอก เรือนจำในกรุงเทพฯ มี 2 ประเภท คือ "คุก" เป็นที่คุมขังผู้ต้องขังที่มีโทษ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป อยู่ในสังกัดกระทรวงนครบาล ส่วน "ตะราง" ใช้เป็นที่คุมขัง ผู้ต้องขังที่มีโทษต่ำกว่า 6 เดือน หรือนักโทษที่มิใช่โจรผู้ร้าย สังกัดกระทรวง ทบวง กรม ที่บังคับกิจการนั้น ๆ ส่วนการเรือนจำในหัวเมืองชั้นนอก มีที่คุมขัง ผู้ต้องโทษ เรียกว่า "ตะราง" การคุมขังอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ว่าราชการเมือง หรืออาจส่งต่อให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม รับตัวไปคุมขัง แล้วแต่กรณีโทษ

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงระเบียบราชการใหม่ โดยโปรดให้สร้างคุกใหม่ขึ้น เรียกว่า "กองมหันตโทษ" และให้สร้างตะรางใหม่เรียกว่า "กองลหุโทษ" ซึ่งในสมัยนั้น รวมเรียกว่า "กรมนักโทษ" สังกัดกระทรวงนครบาล และในปี พ.ศ. 2444 (ร.ศ.120) ได้มีพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะเรือนจำขึ้นเพื่อให้การจัดการเรือนจำเป็นไปอย่างเรียบร้อยยิ่งขึ้น จนถึงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งกรมราชทัณฑ์[3] โดยมีพระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์) เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรก

ในปี พ.ศ. 2468 ได้เกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ งบประมาณ รายได้รายจ่ายไม่ได้ดุลยภาพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงยุบกรมราชทัณฑ์และให้ไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม และต่อมาได้โอนกรมราชทัณฑ์ไปเป็นแผนกหนึ่ง (แผนกราชทัณฑ์) สังกัดกระทรวงมหาดไทย[4]

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การราชทัณฑ์ได้ยกฐานะเป็นกรมราชทัณฑ์ และมีการตราพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการเรือนจำ การกักกัน ผู้มีสันดานเป็นโจรผู้ร้ายการฝึกและอบรมเด็กดัดสันดาน และในส่วนภูมิภาคได้มีการกำหนดเป็นเรือนจำจังหวัดและเรือนจำอำเภอ

ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการ จึงได้โอนย้ายกรมราชทัณฑ์กลับมาสังกัดกระทรวงยุติธรรม[5]

ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. ​2564​ อธิบดี​กรมราชทัณฑ์​ได้จัดตั้ง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรมราชทัณฑ์ เป็นหน่วยงานใหม่เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อในเรือนจำจำนวนมากและมีคงามจำเป็นต้องแก้ปัญหา​โรคระบาด ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565 มีการเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์ราชทัณฑ์ปันสุข

อำนาจและหน้าที่

  1. ปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามกฎหมาย โดยดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการราชทัณฑ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง โดยให้สอดคล้องกับ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ นโยบายของกระทรวง หลักอาชญาวิทยา และหลักทัณฑวิทยา ตลอดจนข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง และข้อเสนอแนะในเรื่องที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติ
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับสวัสดิการและการสงเคราะห์แก่ผู้ต้องขัง
  4. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

หน่วยงานในสังกัด

เรือนจำ ทัณฑสถาน และสถานที่กักขัง

กรมราชทัณฑ์ มีเรือนจำ ทัณฑสถาน และสถานที่กักขังในสังกัดจำนวน 143 แห่ง เพื่อรองรับผู้ต้องราชทัณฑ์จำนวน 317,672 คน (ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559)[7]

เรือนจำ

  • เรือนจำกลาง หมายถึง เรือนจำปกติรับคุมขังผู้ต้องขังที่มีคำพิพากษาแล้ว และนักโทษเด็ดขาด ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ปัจจุบันมีเรือนจำกลาง 34 แห่ง โดยมีเรือนจำกลางที่มีอำนาจคุมขังผู้ต้องขังที่ต้องรับโทษจำคุก 15 ปี ถึงประหารชีวิต จำนวน 2 แห่ง คือ เรือนจำกลางบางขวางและเรือนจำกลางคลองเปรม[8]
  • เรือนจำพิเศษ เป็นเรือนจำที่รับผู้ต้องขังประเภทเดียวกับเรือนจำส่วนภูมิภาค ซึ่งในพื้นที่นั้นไม่มีเรือนจำส่วนภูมิภาคตั้งอยู่ เรือนจำพิเศษมีอำนาจคุมขัง ผู้ต้องขังที่ต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี (2 แห่ง) จนถึงจำคุกไม่เกิน 15 ปี (28 แห่ง) ปัจจุบันมีเรือนจำพิเศษ 30 แห่ง
  • เรือนจำจังหวัด เป็นเรือนจำส่วนภูมิภาคที่มีอำนาจคุมขัง ผู้ต้องขังที่ต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี แต่มีเรือนจำจังหวัด 1 แห่ง ที่มีอำนาจคุมขังผู้ต้องขังที่ต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 25 ปี คือ เรือนจำจังหวัดตรัง ปัจจุบันมีเรือนจำจังหวัด 49 แห่ง
  • เรือนจำอำเภอ เป็นเรือนจำส่วนภูมิภาคที่มีอำนาจคุมขัง ผู้ต้องขังที่ต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี จนถึงจำคุกไม่เกิน 15 ปี ปัจจุบันมีเรือนจำอำเภอ 26 แห่ง

ทัณฑสถาน

ทัณฑสถาน เป็นสถานที่ควบคุม กักขังผู้ต้องขังที่ได้รับการคัดแยกประเภทแล้ว เพื่อประโยชน์ในการควบคุม บำบัดรักษา การอบรมแก้ไข และการฝึกวิชาชีพ เช่น หญิง วัยหนุ่ม บำบัดพิเศษ ปัจจุบันมีจำนวน 25 แห่ง มีทัณฑสถานที่รับผู้ต้องขังที่ต้องรับโทษจนถึงประหารชีวิต จำนวน 3 แห่ง คือ ทัณฑสถานหญิงกลาง ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ทัณฑสถานหญิงชลบุรี และทัณฑสถานที่รับผู้ต้องขังที่ต้องรับโทษจนถึงจำคุกตลอดชีวิต จำนวน 3 แห่ง คือ ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง และทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง[9]

สถานกักขัง

สถานกักขัง เป็นสถานที่ที่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องกักขัง ซึ่งถูกกำหนดโทษกักขัง ปัจจุบันมีสถานกักขัง 5 แห่ง ได้แก่ สถานกักขังกลางจังหวัดลำปาง สถานกักขังกลางจังหวัดตราด สถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี สถานกักขังกลางจังหวัดร้อยเอ็ด และสถานกักขังกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช

สถานกักกัน

  • สถานกักกัน 1 แห่ง คือ สถานกักกันนครปฐม

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. กรมราชทัณฑ์, รายงานประจำปี 2566 กรมราชทัณฑ์, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๖๗, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. ประกาศ ตั้งกรมราชทัณฑ์
  4. ประกาศ เรื่อง ยุบเลิกกรมราชทัณฑ์
  5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕[ลิงก์เสีย]
  6. มติที่ประชุมกรมราชทัณฑ์[ลิงก์เสีย]
  7. "จำนวนผู้ต้องราชทัณฑ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-29. สืบค้นเมื่อ 2010-11-02.
  8. ประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง การกําหนดอํานาจการคุมขังของเรือนจํา พ.ศ. ๒๕๕๔
  9. ประกาศกระทรวงยุติธรรมเรื่อง การกำหนดอำนาจการคุมขังของเรือนจำฉบับที่ 19

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • ศรัญญู เทพสงเคราะห์. “อยู่ร่วมกันในคุกต่างประเทศ: นักโทษ, อาณานิคม และการปฏิรูปราชทัณฑ์ช่วงปลายระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม.” ใน ชาญณรงค์ บุญหนุน, คงกฤช ไตรยวงค์ และพัชชล ดุรงค์กวิน (บก.), เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 12 ‘อยู่ด้วยกัน’: โลก เทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำ และความเป็นอื่น. หน้า 260–285. ม.ป.ท., 2561.
  • อมรา ขันอาสา. “สภาพสังคมไทย: ศึกษาจากงานการราชทัณฑ์ พ.ศ. 2433-2476.” วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้), ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2525.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9