Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

สะพานพระราม 4

สะพานพระราม 4
สะพานพระราม 4
เส้นทางถนนแจ้งวัฒนะ, ถนนชัยพฤกษ์
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตั้งอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ชื่อทางการสะพานพระราม 4
ผู้ดูแลกรมทางหลวงชนบท
รหัสส.005
เหนือน้ำสะพานนนทบุรี
ท้ายน้ำสะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง
ความยาว278.00 เมตร
ความกว้าง40.00 เมตร
ความสูง5.60 เมตร
ประวัติ
วันเริ่มสร้าง1 ธันวาคม พ.ศ. 2546
วันเปิด8 ธันวาคม พ.ศ. 2549

สะพานพระราม 4 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมการคมนาคมระหว่างพื้นที่ตำบลบางตะไนย์กับตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด ทางตอนเหนือของจังหวัดนนทบุรี โดยสร้างเป็นส่วนต่อจากสะพานลอยรถข้ามห้าแยกปากเกร็ดตามแนวถนนแจ้งวัฒนะ ยกระดับเหนือถนนแจ้งวัฒนะย่านกลางเมืองปากเกร็ด ข้ามแม่น้ำตรงด้านเหนือของเกาะเกร็ด แล้วเชื่อมต่อกับถนนชัยพฤกษ์ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ

สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2540 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณห้าแยกปากเกร็ดและถนนเชื่อมต่อ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การคมนาคม การขนส่ง และการจราจร[1] กรมทางหลวงชนบทได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างถนนตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546[2] ระหว่างนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณห้าแยกปากเกร็ดแห่งนี้ว่า สะพานพระราม 4 เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งการรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] กรมทางหลวงชนบทจึงได้ออกแบบและตกแต่งภูมิทัศน์ของสะพานตามแบบสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 ให้สอดคล้องกับชื่อที่ได้รับพระราชทาน[3]

เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ กรมทางหลวงชนบทจึงเปิดใช้สะพานพร้อมกับถนนชัยพฤกษ์ (ถนนเชื่อมต่อแนวตะวันออก-ตะวันตก) อย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2549[4] และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิดสะพาน พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551[3]

ข้อมูลทั่วไป

สะพานพระราม 4 ทางด้านขวามือคือ วัดบ่อ
  • วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546[2]
  • วันเปิดการจราจร : วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2549[4]
  • บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : Taisei-Sino-Thai Joint Venture
  • ราคาก่อสร้างเฉพาะส่วนสะพานและถนนเชื่อมต่อแนวตะวันออก-ตะวันตก (สัญญาที่ 1) : 1,511,722,429.91 บาท[2]
  • แบบของสะพาน : สะพานคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง (prestressed concrete box-girder bridge)
  • ความสูงช่องเรือลอด : 5.60 เมตร[2]
  • ความยาวของสะพาน : 278.00 เมตร[2] (กลางสะพาน 134 เมตร ช่วงริมตลิ่งสองข้าง ข้างละ 72 เมตร)
  • จำนวนช่องทางจราจร : 6 ช่องทางจราจร[2]
  • ความกว้างสะพาน : 40.00 เมตร[2]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง และอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 (ตอนที่ 50 ก): หน้า 15-17. 26 กันยายน 2540.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 กรมทางหลวงชนบท. "โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณห้าแยกปากเกร็ด และถนนเชื่อมต่อ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dor.go.th/~pakkret เก็บถาวร 2008-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 กันยายน 2551.
  3. 3.0 3.1 3.2 สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. กองสารนิเทศ. "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินฯ ทรงประกอบพิธีเปิดสะพานพระราม ๔." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&parent=468&directory=1821
    &pagename=content2&contents=23275
    เก็บถาวร 2011-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2551. สืบค้น 30 กันยายน 2551.
  4. 4.0 4.1 ประชาชาติธุรกิจ. "พระราชทานนาม พระราม 4 สะพานข้ามเจ้าพระยาแห่งใหม่เชื่อม กทม.-นนท์." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://news.sanook.com/
    immovable/immovable_60444.php
    2549. สืบค้น 30 กันยายน 2551.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°54′57″N 100°29′38″E / 13.915802°N 100.493875°E / 13.915802; 100.493875

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานนนทบุรี
สะพานพระราม 4
ท้ายน้ำ
สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9