Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ท่าเตียน

ท่าเตียน
ประชาชนใช้งานท่าเตียนในปี พ.ศ. 2550
ประเภทท่าเรือโดยสาร
ประเภทเรือเรือด่วน, เรือข้ามฟาก, เรือหางยาว
โครงสร้างท่าสะพานเหล็กปรับระดับ
ที่ตั้งเขตพระนคร, กรุงเทพมหานคร
ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ชื่อทางการท่าเตียน (โดยกรมเจ้าท่า)
เจ้าของเอกชน
ผู้ดำเนินงาน • เรือด่วนเจ้าพระยา
ค่าโดยสารปิดปรับปรุงจึงไม่มีเรือเทียบท่า
ข้อมูลเฉพาะ
รหัสท่า น8 (N8) 
โครงสร้างหลักโป๊ะลอยน้ำ
ความยาว15 เมตร (ด้านเหนือ)
6.08 เมตร (ด้านใต้)
ความกว้าง4 เมตร (ด้านเหนือ)
3.80 เมตร (ด้านใต้)

ท่าเตียน (อังกฤษ: Tha Tien Pier; รหัส: น8, N8) เป็นท่าเรือและตลาดแห่งหนึ่ง ในแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนมหาราช ด้านตะวันตกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา

ประวัติ

ประวัติท่าเตียน มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคเริ่มต้นสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ โดยอยู่บริเวณด้านหลังพระบรมมหาราชวัง และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยที่ชื่อ "ท่าเตียน" มีที่มาต่าง ๆ กันไป บ้างก็ว่าเกิดจากในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ที่แถบนี้เคยเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ จนราบเรียบเหี้ยนเตียน หรือเชื่อว่ามาจาก "ห่าเตียน" เมืองท่าแห่งหนึ่งในตอนใต้ของประเทศเวียดนาม (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเกียนซาง ในต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นดินแดนของไทย ในชื่อ บันทายมาศ หรือ พุทไธมาศ[1]) เนื่องจากแถบนี้ในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวญวนอพยพหนีภัยสงครามจากเว้ ตั้งแต่ยุคกรุงธนบุรี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และชาวญวนเหล่านี้ได้เรียกชื่อถิ่นฐานนี้ว่าห่าเตียน เนื่องจากมีภูมิทัศน์คล้ายกับห่าเตียนเพื่อคลายความคิดถึงถิ่นฐานตนเอง[2] และได้เรียกเพี้ยนมาเป็นท่าเตียนในที่สุด[3] แต่ทั้งนี้ท่าเตียนปรากฏมาตั้งแต่อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏหลักฐานเป็นนิราศของหม่อมพิมเสนเรียกว่า "บางจีน" สันนิษฐานว่าอาจเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวจีนด้วย[2]

ร้านค้าและอาคารพาณิชย์ทางเข้าตลาดท่าเตียน หลังการปรับปรุง

และยังมีตำนานเมืองที่โด่งดังมาก คือ เรื่องของยักษ์เฝ้าประตูวัดสองฟากต่อสู้กัน คือ ยักษ์วัดแจ้ง จากฝั่งธนบุรี ต่อสู้กับ ยักษ์วัดโพธิ์ แห่งฝั่งพระนคร เนื่องจากผิดใจกันเรื่องการขอยืมเงินกัน จนในที่สุดที่บริเวณนี้เหี้ยนเตียนราบเรียบไปหมด[4] ซึ่งในบางตำนานก็มีการเสริมเติมแต่งเข้าไปอีกว่า ที่ยักษ์ทั้งสองตนนั้นหยุดสู้กันเพราะมีโยคีหรือฤๅษีมาห้าม บ้างก็ว่าเป็นยักษ์วัดพระแก้วเข้ามาห้าม[2]

ปัจจุบัน ท่าเตียนเป็นทั้งตลาดและสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม มีร้านอาหารและร้านกาแฟเป็นจำนวนมาก[5] ในส่วนของตลาด เป็นตลาดที่นับว่าใหญ่ที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น[6] เป็นตลาดที่มีสินค้าหลากหลายประเภทขายทั้งสินค้าทางการเกษตรหรือข้าวของเครื่องใช้ เนื่องจากเป็นท่าจอดเรือที่มีชัยภูมิเหมาะสม โดยในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีชื่อเรียกว่า "ตลาดท้ายวัง" หรือ "ตลาดท้ายสนม" กินอาณาบริเวณตั้งแต่ถนนท้ายวังจนถึงตลาดท่าเตียนในปัจจุบัน เป็นตลาดที่บรรดานางในหรือนางสนมจะออกจากกำแพงพระบรมมหาราชวังมาจับจ่ายซื้อข้าวของต่าง ๆ โดยสินค้าที่นิยมมากที่สุด คือ ดอกไม้ ต่อมาได้รวมเป็นตลาดเดียวกับตลาดท่าเตียน จนกระทั่งถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเริ่มมีการสร้างอาคารขึ้นมาอย่างเป็นรูปร่าง โดยวางแนวเป็นรูปตัวยู ด้วยสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก และมีสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น และกลายมาเป็นแหล่งค้าส่งแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น วัสดุก่อสร้าง, เครื่องตัดหญ้า, อะไหล่รถยนต์, ผักและผลไม้, น้ำตาล, ลูกอมหรือท็อฟฟี่ รวมถึงอาหารทะเลแห้ง เป็นต้น[7][8]ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ท่าเตียนมีสถานะเป็นตำบลชื่อ "ตำบลท่าเตียน" ขึ้นอยู่กับอำเภอพระราชวัง[1] (เขตพระนครในปัจจุบัน) ปัจจุบันอาคารพาณิชย์ตลอดจนบ้านเรือนต่าง ๆ ได้รับการบูรณะปรับปรุงโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปี พ.ศ. 2556[7][9] ให้แลดูใหม่และสวยงามยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่ท่าช้างที่อยู่ใกล้เคียง โดยทำการปรับปรุงทั้งสิ้น 55 คูหา[10]

ท่าเรือ

ในส่วนที่เป็นท่าเรือ ในอดีตเป็นท่าเรือที่มีเรือเมล์วิ่งไปจนถึงบางบัวทอง, อยุธยา, ชัยนาท, นครสวรรค์ ในปัจจุบันเป็นท่าเรือ (รหัส น8 หรือ N8) สำหรับเรือข้ามฟากไปยังท่าวัดอรุณ ของฝั่งธนบุรี โดยสามารถมองเห็นพระปรางค์วัดอรุณฯและป้อมวิไชยประสิทธิ์ได้อย่างชัดเจนจากฟากนี้[6] และเป็นท่าเรือที่ให้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาอีกด้วย เปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์–วันศุกร์ ในเวลา 06:00–19:00 น.[11]

โครงสร้าง

ท่าเตียนประกอบไปด้วยท่าเรือสอง 2 คือ ด้านเหนือ และด้านใต้ ให้บริการในการเดินเรือ ปัจจุบันยังคงปิดปรับปรุงอยู่ คาดว่าจะเปิดใช้ได้ในปี 2556[12] เดิมประกอบไปด้วยโครงสร้าง[13] คือ

  • ท่าเตียนด้านเหนือ ประกอบไปด้วยโป๊ะเหล็ก ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร พร้อมด้วยสะพานเหล็กปรับระดับขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 12 เมตร ให้บริการเรือด่วนเจ้าพระยา และเรือยนต์เพลาใบจักรยาว (เรือหางยาว) เส้นทางท่าเตียน - บางกอกน้อย
  • ท่าเตียนด้านใต้ ประกอบไปด้วยโป๊ะเหล็ก ขนาดกว้าง 3.80 เมตร ยาว 6 เมตร พร้อมด้วยสะพานเหล็กปรับระดับขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 7.10 เมตร ให้บริการเรือด่วนเจ้าพระยา

สถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้เคียง

สิ่งสืบเนื่อง

ในเพลงแม่ค้าตาคมที่ไพบูลย์ บุตรขันแต่งเพลงนี้ให้ศรคีรี ศรีประจวบเป็นผู้ขับร้องนั้นได้มีการกล่าวถึงท่าเตียนในเพลงดังกล่าวซึ่งมีเนื้อร้องที่ว่า "คอยดักน้องที่ท่าเตียนทุกเที่ยวเรือเปลี่ยนไม่เห็นหน้าแฟน" และ "พี่หลงคอยคอยน้องเก้อเฝ้าหลงคอยเธอท่าเตียนทุกวัน"

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "ประวัติศาสตร์การอพยพของชาวเวียดนาม". หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. 2015-10-19. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  2. 2.0 2.1 2.2 "พินิจนคร(Season 2) ตอน ท่าเตียน". พินิจนคร. 2009-12-21. สืบค้นเมื่อ 2018-02-21.
  3. "ชุมชนท่าเตียน". ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  4. พรรณลึก, เฟรม - สลิตา (2017-11-11). ""ท่าเตียน" จากเมือง "ท่า" สู่เมือง "เที่ยว"". เนชั่นทีวี. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  5. Time Out Bangkok staff (2017-09-19). "รวมร้านอาหารอร่อยและคาเฟ่น่านั่ง ย่านท่าเตียน-วัดโพธิ์". TimeOut. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  6. 6.0 6.1 "ถอดรหัส "ท่าเตียน" ผ่านอดีตสู่ปัจจุบัน ยลเสน่ห์ริมเจ้าพระยา วัดอรุณ - วัดโพธิ์". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-11-24. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  7. 7.0 7.1 "ย้อนวันวานย่านเก่า "ท่าเตียน" เปิดบันทึกประวัติศาสตร์บางกอก". เดลินิวส์. 2014-10-08. สืบค้นเมื่อ 2018-01-20.
  8. ท่องเที่ยววิถีชุมชน ช้อปปิ้งตลาดนัดชุมชน เที่ยวชมนิทรรศการในงาน “ท่าเตียนซิงตัคลั้ค” by Pira Pira 's Story
  9. "HUMAN WILD" (PDF). ธนาคารไทยพาณิชย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-10. สืบค้นเมื่อ 2018-02-21.
  10. "ตึกแถวถนนมหาราช บริเวณท่าเตียน". ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-07. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  11. "16ท่าเรือข้ามฟาก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าเตียน-ท่าวัดอรุณฯ บริเวณตลาดท่าเตียน เขตพระนคร". สวัสดีดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.[ลิงก์เสีย]
  12. "ยลโฉม 'ท่าเรือ' แม่น้ำเจ้าพระยา ปรับใหม่ เปิดใช้ปี 66 รับท่องเที่ยวพีค!". thansettakij. 2023-01-06.
  13. กรมเจ้าท่า. รายงานท่าเทียบเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ ถึงจังหวัดปทุมธานี ประจำปีงบประมาณ 2563 เก็บถาวร 2023-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′46.9″N 100°29′27.6″E / 13.746361°N 100.491000°E / 13.746361; 100.491000

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9