Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

อำเภอนครหลวง

อำเภอนครหลวง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Nakhon Luang
ปราสาทนครหลวง
คำขวัญ: 
มีดอรัญญิกลือนาม สง่างามปราสาท
นครหลวง โชติช่วงเกษตรอุตสาหกรรม
เลิศล้ำภูมิปัญญาไทย
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอนครหลวง
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอนครหลวง
พิกัด: 14°27′51″N 100°36′20″E / 14.46417°N 100.60556°E / 14.46417; 100.60556
ประเทศ ไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด198.9 ตร.กม. (76.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด36,507 คน
 • ความหนาแน่น183.55 คน/ตร.กม. (475.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 13260
รหัสภูมิศาสตร์1403
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอนครหลวง เลขที่ 9
หมู่ที่ 1 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13260
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครหลวง เป็นอำเภอหนึ่งใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติ

ในสมัยอยุธยานั้น บริเวณนอกกำแพงเมืองถูกแบ่งออกเป็นเขตการปกครอง 3 เขต เรียกว่าแขวง (ภายหลังเปลี่ยนมาเรียกอำเภอ) ประกอบด้วยแขวงขุนนคร แขวงขุนเสนา และแขวงขุนอุทัย

แขวงขุนนครนั้น ต่อมาแยกออกเป็นแขวง คือ

  1. แขวงนครใหญ่ ซึ่งต่อมาแยกเป็น แขวงนครใหญ่ (อำเภอมหาราชในปัจจุบัน) และ แขวงนครใน (อำเภอบางปะหันในปัจจุบัน)
  2. แขวงนครน้อย ต่อมาก็แยกออกเป็น 2 แขวงเช่นกัน คือ
  • แขวงนครน้อย ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอท่าเรือ
  • แขวงนครกลาง ต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาเรียกว่า อำเภอนครกลาง มีที่ว่าการอำเภออยู่ที่ตำบลบ่อโพง แต่ด้วยสถานที่ตั้ง ณ ตำบลบ่อโพงนั้นไม่เป็นศูนย์กลาง ในเวลาต่อมาจึงมีการย้ายที่ว่าการอำเภอนครกลางมาอยู่ที่ตำบลนครหลวง (เหตุที่ชื่อตำบลนครหลวงเพราะเป็นที่ตั้งของปราสาทนครหลวง) แล้วจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น อำเภอนครหลวง จนถึงปัจจุบัน [1]

ส่วนนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2490 ถึงปัจจุบัน

  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลคลองสะแก แยกออกจากตำบลบ่อโพง ตั้งตำบลหนองปลิง แยกออกจากตำบลบ่อโพง และตำบลบ้านชุ้ง ตั้งตำบลปากจัน แยกออกจากตำบลบางระกำ ตั้งตำบลบางพระครู แยกออกจากตำบลนครหลวง ตั้งตำบลท่าช้าง แยกออกจากตำบลพระนอน[2]
  • วันที่ 16 มิถุนายน 2490 โอนพื้นที่หมู่ 10-14 ตำบลพระนอน (ในขณะนั้น) ไปขึ้นกับ ตำบลท่าช้าง (หมู่ 3-7 ในขณะนั้น) [3]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม 2494 โอนพื้นที่หมู่ 7 ตำบลบางระกำ (ในขณะนั้น) ไปขึ้นกับ ตำบลนครหลวง (หมู่ 8 ในขณะนั้น) [4]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลนครหลวง ในท้องที่บางส่วนของตำบลนครหลวง บางส่วนของตำบลบางระกำ และ บางส่วนของตำบลบางพระครู [5]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลอรัญญิก ในท้องที่บางส่วนของตำบลพระนอน บางส่วนของตำบลท่าช้าง และ บางส่วนของตำบลสามไถ [6]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลนครหลวง และ สุขาภิบาลอรัญญิก เป็น เทศบาลตำบลนครหลวง และ เทศบาลตำบลอรัญญิก

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอนครหลวงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอนครหลวงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 74 หมู่บ้าน ได้แก่

1. นครหลวง (Nakhon Luang) 9 หมู่บ้าน 7. บางพระครู (Bang Phra Khru) 4 หมู่บ้าน
2. ท่าช้าง (Tha Chang) 8 หมู่บ้าน 8. แม่ลา (Mae La) 6 หมู่บ้าน
3. บ่อโพง (Bo Phong) 7 หมู่บ้าน 9. หนองปลิง (Nong Pling) 5 หมู่บ้าน
4. บ้านชุ้ง (Ban Chung) 7 หมู่บ้าน 10. คลองสะแก (Khlong Sakae) 5 หมู่บ้าน
5. ปากจั่น (Pak Chan) 6 หมู่บ้าน 11. สามไถ (Sam Thai) 4 หมู่บ้าน
6. บางระกำ (Bang Rakam) 6 หมู่บ้าน 12. พระนอน (Phra Non) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอนครหลวงประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนครหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครหลวงทั้งตำบล รวมถึงบางส่วนของตำบลบางระกำและตำบลบางพระครู
  • เทศบาลตำบลอรัญญิก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าช้าง ตำบลสามไถ และตำบลพระนอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อโพงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชุ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านชุ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากจั่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากจั่นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลาทั้งตำบล รวมถึงตำบลบางระกำและตำบลบางพระครู (นอกเขตเทศบาลตำบลนครหลวง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปลิงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสะแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสะแกทั้งตำบล

บุคคลสำคัญ

เศรษฐกิจ

อำเภอนครหลวง เป็นเขตอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีนิคมอุตสาหกรรม 1 แห่ง คือ

  • นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง ตั้งอยู่ในตำบลบางพระครู

สถานศึกษา

  • โรงเรียนนครหลวงอุดมรัชต์วิทยา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-และมัธยาศึกษาตอนปลายเป็นสถานศึกษาขนาดกลาง เป็นโรงเรียนประจำอำเภอนครหลวง
  • โรงเรียนท่าช้างวิทยาคมเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-และมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก

สถานที่ท่องเที่ยว

  • ปราสาทนครหลวง เริ่มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยทรงโปรดให้ช่างไปถ่ายแบบมาจากปราสาทเมืองพระนครหลวง ประเทศกัมพูชา เพื่อเป็นที่พักร้อนก่อนที่จะเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี
  • พิพิธภัณฑ์หัตถกรรมอรัญญิกมีดอรัญญิก ตั้งอยู่ในตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • หมู่บ้านหัตถกรรมมีดอรัญญิกหมู่บ้านอรัญญิก ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 และ 7 ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แท้จริงแล้วหมู่บ้านอรัญญิกมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่สองหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านต้นโพธิ์ และบ้านหนองไผ่ ทั้งสองหมู่บ้านมีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะเป็นแหล่งผลิตมีดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาเกือบสองร้อยปี

อ้างอิง

  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอนครกลาง เป็นอำเภอนครหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (22): 352–353. 30 สิงหาคม 2446. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2012-10-17.
  2. [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (28 ง): 1616–1617. 24 มิถุนายน 2490.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (46 ง): 2921. 17 กรกฎาคม 2494.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 63-64. 7 มกราคม 2500.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลอรัญญิก อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (225 ง): (ฉบับพิเศษ) 19. 28 ธันวาคม 2536.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9