Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

พรรคเอกภาพ

พรรคเอกภาพ
หัวหน้าชาติวัฒน์ ชาติกรกุล
เลขาธิการเสฐียรพงษ์ รัตนภิรมย์
ก่อตั้งพรรคประชาไทย
10 มีนาคม พ.ศ. 2526
พรรครวมไทย
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
พรรคเอกภาพ
18 เมษายน พ.ศ. 2532
ถูกยุบ17 มกราคม พ.ศ. 2545 (19 ปี)
รวมตัวกับพรรคประชาชน
พรรคกิจประชาคม
พรรคก้าวหน้า
ที่ทำการ670/104 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
สี  สีเขียว   สีเหลือง
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคเอกภาพ (อังกฤษ: Solidarity Party) เป็นพรรคการเมืองของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2526[1][2] ในนามพรรคประชาไทย โดยมีทวี ไกรคุปต์ เป็นหัวหน้าพรรค ต่อมาในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พรรคประชาไทยได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรครวมไทย[3] และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น พรรคเอกภาพ [4] โดยได้ยุบรวมพรรคการเมืองขนาดเล็ก จำนวน 3 พรรค คือพรรคกิจประชาคม ของบุญชู โรจนเสถียร พรรคก้าวหน้า ของอุทัย พิมพ์ใจชน และพรรคประชาชน ของเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เข้ามารวมกับพรรครวมไทยและมี สส.จากการรวมตัวในครั้งนี้จำนวน 61 คน และถือเป็นพรรคใหญ่อันดับ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 16 ซึ่งเป็นสภาฯ ในช่วงเวลานั้น

ในช่วงแรกของการจัดตั้งพรรค ได้มีการมอบหมายให้ณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรครวมไทย ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ หัวหน้าพรรคประชาชน ซึ่งมีจำนวน สส.เป็นอันดับ 2 เป็นเลขาธิการพรรคคนแรกอีกด้วย โดยภายหลังจากการรวมพรรคกันไม่นาน พรรคก็เข้าร่วมรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัน เมื่อได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 2

ประวัติ

พรรคประชาไทย

พรรคประชาไทย จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2526 [5] โดยจดทะเบียนเป็นลำดับที่ 15/2526 มีนาย ทวี ไกรคุปต์ เป็นหัวหน้าพรรคและนาย สันติ ชัยวิรัตนะ เป็นเลขาธิการพรรค

ต่อมาในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พรรคประชาไทยได้ยื่นเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น "พรรครวมไทย" พร้อมกับเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ [6]

พรรครวมไทย

ตราสัญลักษณ์ของพรรครวมไทย

พรรครวมไทย (อังกฤษ: Ruam Thai Party) เปลี่ยนชื่อมาจาก "พรรคประชาไทย" จากการประชุมพรรคเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พร้อมกับได้คณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ที่นำโดยนาย ณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตรองหัวหน้า พรรคชาติไทย ในฐานะหัวหน้าพรรค และนาย ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เป็นเลขาธิการพรรค

ใน การเลือกตั้ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 พรรครวมไทยได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้น 19 คน

ต่อมาใน การเลือกตั้ง 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 พรรครวมไทยได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้น 34 คนก่อนจะประกาศยุบรวมพรรคเข้ากับพรรคการเมืองขนาดเล็ก 3 พรรคคือ พรรคกิจประชาคม พรรคก้าวหน้า และ พรรคประชาชน กลายเป็น พรรคเอกภาพ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2532 [7] ทำให้พรรคเอกภาพได้ ส.ส. ในสภาทั้งหมด 61 คนกลายเป็นพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ในสภามากที่สุดเป็นอันดับ 2 เป็นรองแค่ พรรคชาติไทย ที่มี ส.ส. ในสภามากถึง 87 คน

พรรคเอกภาพ

ตราสัญลักษณ์ของพรรคเอกภาพในช่วงแรก

ต่อมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น พรรคเอกภาพ [8] โดยได้ยุบรวมพรรคการเมืองขนาดเล็ก จำนวน 3 พรรค คือ พรรคกิจประชาคม ของนายบุญชู โรจนเสถียร พรรคก้าวหน้า ของนายอุทัย พิมพ์ใจชน และพรรคประชาชน ของนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เข้ามารวมกับพรรครวมไทยและมี ส.ส.จากการรวมตัวในครั้งนี้จำนวน 61 คน และถือเป็นพรรคใหญ่อันดับ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น

ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 อุทัย พิมพ์ใจชน ซึ่งไม่ได้รับเลือกตั้งในเขตเดิมที่ตนลงสมัคร ได้ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรค[9] โดยให้ ไชยยศ สะสมทรัพย์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน

รายนามผู้บริหารพรรค

พรรคเอกภาพ ได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในชื่อพรรคประชาไทย (2526-2529) พรรครวมไทย (2529-2532) และพรรคเอกภาพ (2532-2545) มีผู้บริหารพรรค ดังนี้

หัวหน้าพรรค

ลำดับ รูป ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
พรรคประชาไทย
1 ทวี ไกรคุปต์ 10 มีนาคม พ.ศ. 2526[10] 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
พรรครวมไทย
2 ณรงค์ วงศ์วรรณ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2529[11] 18 เมษายน พ.ศ. 2532
พรรคเอกภาพ
2 ณรงค์ วงศ์วรรณ 18 เมษายน พ.ศ. 2532 27 มิถุนายน พ.ศ. 2534
3 บุญชู โรจนเสถียร 27 มิถุนายน พ.ศ. 2534[12] 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
4 อุทัย พิมพ์ใจชน 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2535[13] 23 สิงหาคม พ.ศ. 2538[14]
5 ไชยยศ สะสมทรัพย์ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2538[15] 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543[16]
6 ชาติวัฒน์ ชาติกรกุล 1 ธันวาคม พ.ศ. 2543[17] 17 มกราคม พ.ศ. 2545[18]

เลขาธิการพรรค

  1. นายสันติ ชัยวิรัตนะ (10 มกราคม 2526 - 27 พฤษภาคม 2529)
  2. นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ (5 มิถุนายน 2529 - 11 เมษายน 2532)
  3. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ (12 เมษายน 2532[19] - 31 พฤษภาคม 2532)
  4. นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ (1 มิถุนายน 2532 - 1 มิถุนายน 2534)
  5. นายอุทัย พิมพ์ใจชน (27 มิถุนายน 2534 - 13 กรกฎาคม 2535)
  6. นายไชยยศ สะสมทรัพย์ (20 กรกฎาคม 2535 - 21 สิงหาคม 2538)
  7. นายฉัฐวัสส์ มุตตามระ (29 สิงหาคม 2538 - 28 พฤศจิกายน 2539)
  8. นายเนวิน ชิดชอบ (29 พฤศจิกายน 2539 - 4 ตุลาคม 2543)
  9. นายเสถียรพงษ์ รัตนภิรมย์ (1 ธันวาคม 2543 - 17 มกราคม 2545)

บทบาททางการเมือง

ฝ่ายบริหาร

พรรคเอกภาพ ได้เข้าร่วมรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ในปี 2535 โดยมีสมาชิกพรรคได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลดังกล่าว จำนวน 2 คน คือ อุทัย พิมพ์ใจชน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และไชยยศ สะสมทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

และเมื่อมีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาลในปี พ.ศ. 2540 พรรคเอกภาพได้เข้าร่วมรัฐบาลของนายชวน หลีกภัยอีกครั้งหนึ่ง โดยมีสมาชิกพรรคได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลดังกล่าว จำนวน 4 คน คือ ไชยยศ สะสมทรัพย์, ไชยา สะสมทรัพย์, เผดิมชัย สะสมทรัพย์. และเนวิน ชิดชอบ

ผลการเลือกตั้ง

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง สถานภาพพรรค ผู้นำเลือกตั้ง
พรรคประชาไทย
2526
4 / 324
เพิ่มขึ้น 4 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล[] ทวี ไกรคุปต์
พรรครวมไทย
2529
19 / 347
เพิ่มขึ้น 15 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน ณรงค์ วงศ์วรรณ
2531
34 / 357
เพิ่มขึ้น 15 ที่นั่ง [] ฝ่ายค้าน (2531-2533)
ร่วมรัฐบาล (2533-2534)
พรรคเอกภาพ
มี.ค. 2535
6 / 360
ลดลง 28 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน บุญชู โรจนเสถียร
ก.ย. 2535
8 / 360
เพิ่มขึ้น 2 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล อุทัย พิมพ์ใจชน
2538
8 / 391
Steady 0 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน
2539
8 / 393
Steady 0 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน (2539​- 2540) ไชยยศ สะสมทรัพย์
ร่วม​รัฐบาล (2540 - ​2544)
  1. หลังจากเลือกตั้ง สส. ที่ได้รับเลือกย้ายสังกัดไปร่วมพรรคอื่น ดังนี้ พรรคชาติไทย 4 คน
  2. หลังจากรวมพรรคก้าวหน้า พรรคกิจประชาคม และพรรคประชาชนแล้ว มี สส.รวมทั้งสิ้น 62 คน

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

การเลือกตั้ง ผู้สมัคร คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
2539 วรัญชัย โชคชนะ 1,011 ไม่ พ่ายแพ้

การย้ายพรรคของสมาชิกกลุ่มสำคัญ

ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 นายณรงค์ และนายเฉลิมพันธ์ พร้อมด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่งได้ลาออกจากพรรค และย้ายไปอยู่กับพรรคสามัคคีธรรม ส่งผลให้พรรคเอกภาพกลับมาเป็นพรรคขนาดเล็กอีกครั้ง ต่อมานายอุทัย พิมพ์ใจชน ได้รื้อฟื้นพรรคขึ้นมา จนกระทั่งก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2544 สมาชิกพรรคเอกภาพ ได้ลาออกไปร่วมงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทยเกือบทั้งหมด อาทิ ไชยยศ สะสมทรัพย์ หัวหน้าพรรค จนเป็นเหตุให้พรรคเอกภาพหมดบทบาททางการเมืองลงไป

การยุบพรรค

ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำสั่งที่ 2/2545 ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2545 ให้ยุบพรรคเอกภาพ เนื่องจากไม่ดำเนินการตามมาตรา 35 และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541[2]

อ้างอิง

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชาไทย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
  2. 2.0 2.1 ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรือง การยุบพรรคเอกภาพ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 22ง วันที่ 14 มีนาคม 2545
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาไทย ตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรครวมไทยเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคและภาพเครื่องหมายพรรค" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2012-07-24.
  5. ราชกิจจานุเบกษา [ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชาไทย)] ฉบับพิเศษ เล่มที่ 100 ตอนที่ 51 ก หน้า 1-9 วันที่ 1 เมษายน 2526
  6. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 103 ตอนที่ 92 ก หน้า 3-4 วันที่ 29 พฤษภาคม 2529
  7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรครวมไทยเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคและภาพเครื่องหมายพรรค เก็บถาวร 2018-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106 ตอน 65 ก หน้า 159 25 เมษายน 2532
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรครวมไทยเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคและภาพเครื่องหมายพรรค" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2012-07-24.
  9. "รัฐสภาสาร ปีที่ 43 ฉบับที่ 7 (ก.ค.2538)". dl.parliament.go.th.
  10. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง [พรรคประชาไทย]
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรครวมไทย ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2017-12-10.
  12. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคเอกภาพเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค ภาพเครื่องหมายพรรคและที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรค
  13. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคเอกภาพเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
  14. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคเอกภาพเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
  15. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคเอกภาพเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค (จำนวน ๓๖ คน)
  16. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหาร พรรคเอกภาพ
  17. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเอกภาพ
  18. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบพรรคเอกภาพ
  19. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรครวมไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9