นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [ 1] ประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา [ 2] ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค[ 3] ประธานคณะกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ[ 4] ประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา [ 5] ประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ [ 6] กรรมการในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ[ 7] ประธานกรรมการมูลนิธิเด็กดี
[ 8] ประธานคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ
กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กประถมวัย[ 9] กรรมการสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ [ 10] กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นคนไทยที่เป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร และอดีตเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ) และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย )
ประวัติ
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดสุทธิวราราม สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญจิตเวชศาสตร์ ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร (Royal College of Psychiatrists ) [ 11] อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญ จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น แพทยสภาไทย
อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญ จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น แพทยสภาแห่งสหราชอาณาจักร (General Medical Council: GMC-UK )[ 12] วุฒิบัติผู้เชี่ยวชาญด้าน Cognitive Behavioural Therapy, Institute of Cognitive Therapy and Research[ 13] , PA, USA
การทำงาน
งานการศึกษา
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เคยเป็นรองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นอาจารย์กิตติมศักดิ์อาวุโส มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเป็นคนไทยที่เป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร[ 14]
ต่อมาได้ร่วมกับ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา จัดตั้งโรงเรียนสัตยาไส เป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการพัฒนาจริยธรรมในวัยเรียน และ น.พ.ธีระเกียรติ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการศูนย์จิตวิทยาการศึกษา ซึ่งจัดตั้งโดยมูลนิธิยุวสถิรคุณ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[ 15]
ตั้งแต่มิถุนายน 2564 เป็นครูใหญ่ (HeadMaster) ของโรงเรียนในเครือนิวตัน ได้แก่ ศูนย์การเรียนนิวตัน (The Newton Sixth Form), ศูนย์การเรียนดิเอสเซนส์ (The Essence Studies Centre)[ 16] , ศูนย์การเรียนโอเพ้นสคูล (Openschool Studies Centre)[ 17] , The Apprentice Business School และ NewEd School
งานการเมือง
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ) เมื่อปี พ.ศ. 2535 ต่อมาหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย )[ 18] และต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่ง[ 19] หลังจากนั้นได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[ 20] และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[ 21] เขาได้แต่งตั้งหม่อมหลวงปริยดา ดิศกุล เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยหม่อมหลวงปริยดา ดิศกุล เป็นพี่สาว ของ พันเอก หม่อมหลวงกุลชาต ดิศกุล [ 22] ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
ตำแหน่งในปัจจุบัน
HEAD MASTER, THE NEWTON GROUP, ประเทศไทย
ประธานคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ
ประธานมูลนิธิเด็กดี
ประธานมูลนิธิสัตยาไส
กรรมการมูลนิธิองคก์รต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย)
ที่ปรึกษาคณะกรรมการไทย–โคเซ็น แห่งชาติ
นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
เกียรติประวัติ
ผู้ได้รับรางวัลสันติภาพ GUSI 2019 ([Peace Prize ] เทียบเท่ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพแห่งเอเชีย) จากมูลนิธิ GUSI ประเทศฟิลิปปินส์จากผลงานที่โดดเด่นด้านการศึกษาและการบริการสาธารณะ[ 23]
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง[ 24]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
↑ ราชกิจจานุเบกษา, รัฐมนตรีลาออก , เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
↑ ประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
↑ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
↑ ประธานคณะกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ
↑ ประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
↑ ประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
↑ กรรมการในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
↑ ประธานกรรมการมูลนิธิเด็กดี
↑ ประธานคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กประถมวัย
↑ กรรมการ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
↑ Congress chats with Dr Teerakiat Jareonsettasin and Dr Mark Berelowitz (Thai Cave Rescue) , สืบค้นเมื่อ 2021-06-12
↑ อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญ จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
↑ "Cognitive Behavioural Therapy, Institute of Cognitive Therapy and Research" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-06-12. สืบค้นเมื่อ 2021-06-12 .
↑ อาจารย์กิตติมศักดิ์อาวุโส มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
↑ “นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์” ผอ.ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา
↑ "TIME MATTERS - The Essence Studies Centre" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-12-01.
↑ "openschool" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง
↑ พระบรมราชโองการ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
↑ พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี , ราชกิจจานุเบกษา , เล่ม 133 ตอนพิเศษ 296 ง, 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559 .
↑ "เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2022-12-03. สืบค้นเมื่อ 2018-08-16 .
↑ "Our Lady of Fatima University | Dr. Enriquez to be recognized as 2019 Gusi Peace Prize Laureate" . 15 November 2019. สืบค้นเมื่อ 27 February 2021 .
↑ "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง" . www.kmitl.ac.th .
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ , เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐ , เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๓๘, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดี ชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๙ , เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๑๒, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (พ.ศ. 2435–2475)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ (พ.ศ. 2475–2484)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2485 – ปัจจุบัน)