Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์

สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(4 ปี 251 วัน)
นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มิถุนายน พ.ศ. 2498 (69 ปี)
จังหวัดลำปาง ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสพุตตาน ชัยวงศ์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลเอก

พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์[1] (23 มิถุนายน พ.ศ. 2498 - ) สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[2] อดีตราชองครักษ์พิเศษ [3][4] หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้จัดการทีมชาติไทย อดีตหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา อดีตรองเสนาธิการทหารบก อดีตแม่ทัพน้อยที่ 3 และอดีตผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4

ประวัติ

พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2498[5] เป็นบุตรของนายกำจร กับนางปราณี ชัยวงศ์ สมรสกับนางพุตตาน ชัยวงศ์ มีบุตร 3 คน

เข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษาขั้นต้น(มศ.3)ที่โรงเรียนวัดสุทธิวรารามและได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14 ต่อมาได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 25 (วิทยาศาสตร์บัณฑิต) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 66 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 51 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จบการศึกษาระดับปริญญาโทจาก คณะรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ภาคพิเศษ รุ่นที่ 7) และจบหลักสูตร Australian and Military Familiarization Course และหลักสูตร Emergency Management Seminar จากประเทศออสเตรเลีย พ.ศ. 2547[6]

การทำงาน

พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้เริ่มรับราชการเป็นทหาร จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 17 เมื่อพ.ศ. 2536 ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2539 ก็ได้เลื่อนขึ้นเป็นเสนาธิการกรมทหารราบที่ 7 และเป็นรองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 7 เมื่อพ.ศ. 2541 ในพ.ศ. 2545 เป็นผู้อำนวยการกองยุทธการ กองทัพภาคที่ 3 พ.ศ. 2547 เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 7 พ.ศ. 2549 เป็นรองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4 พ.ศ. 2550 เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4 /ผู้บัญชาการกองกำลังนเรศวร พ.ศ. 2551 เป็นรองแม่ทัพภาคที่ 3 พ.ศ. 2555 เป็นแม่ทัพน้อยที่ 3 พ.ศ. 2555 เป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายกิจการพลเรือน พ.ศ. 2556 เป็นรองเสนาธิการทหารบก และพ.ศ. 2557 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 พลเอก สุรเชษฐ์ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[7] ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 เขาแต่งตั้ง ดร.รัตนา ศรีเหรัญ[8]ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ

รางวัลที่เคยได้รับ

  • รางวัลกำลังพลดีเด่นของกองทัพภาคที่ 3 พ.ศ. 2545
  • รางวัลองค์กรดีเด่นด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ขณะดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 7 /ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 พ.ศ. 2548
  • เกียรติบัตรชมเชยการปฏิบัติหน้าที่ราชการสนามในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในตำแหน่งผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลา พ.ศ. 2553
  • ประกาศเกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ประจำปี พ.ศ. 2555
  • โล่และเข็มเชิดชูเกียรติ "สิงห์ขาวดีเด่น" ประจำปี พ.ศ. 2555
  • รางวัลธรรมาภิบาลสิงห์ทอง รางวัลนักบริหารและนักพัฒนาองค์กรดีเด่นแห่งปี ประจำปี พ.ศ. 2556

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จาก www.moe.go.th
  2. ประวัติ พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  3. ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
  4. ราชกิจจานุเบกษา, รัฐมนตรีลาออก, เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
  5. พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลประวัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  6. พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ เก็บถาวร 2015-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
  8. ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๓, ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ถัดไป
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 61)
(30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9