คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุด[1] และเป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดมาจากโรงเรียนยันตรศึกษาแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นคณะที่มีจำนวนรุ่นมากที่สุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในปีการศึกษา 2567 เป็นรุ่นที่ 108 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา ศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และเผยแพร่องค์ความรู้สู่ประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นที่พึ่งพิงทางวิชาการให้กับประเทศ มีงานวิจัยและความร่วมมือทางวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ ปัจจุบันมีภาควิชาทั้งหมด 12 ภาควิชา[2]และหน่วยงานเทียบเท่าภาควิชาอีก 2 หน่วยงาน นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มักเรียกแทนตัวเองว่า "อินทาเนีย" คณะวิศวกรรมศาสตร์ตั้งอยู่ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งถนนอังรีดูนังต์ ด้านข้างหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการจัดอันดับในกลุ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี จาก QS world university ranking by subject จาก Quacquarelli Symonds (QS) ประจำปี ค.ศ. 2024 พบว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย อันดับที่ 222 ของโลก[3] และเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีสาขาวิชาติดอันดับโลกมากที่สุดในประเทศไทย ประวัติคณะในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์มีพระประสงค์ให้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานไชยศรีตรงข้ามกับศาลาสหทัยสมาคมในปี พ.ศ. 2442 [ประเทศไทยเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินสากลในปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ดังนั้น พ.ศ. กับ ค.ศ. ก่อนหน้านี้จึงเหลื่อมกันอยู่ 1 ปี] และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2445 ทั้งนี้เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลจากพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเมื่อ พ.ศ. 2425 ต่อมาเมื่อถึงต้นรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียน "มหาดเล็ก" โดยเติมคำว่า "หลวง" ต่อท้ายอีกคำหนึ่ง ณ ตำบลดุสิต (คือโรงเรียนวชิราวุธในปัจจุบัน) แทนการสร้างวัดตามขัตติยราชประเพณี ส่วนโรงเรียนมหาดเล็กเดิมนั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" และเพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระชนกนาถเพื่อเป็นกตัญญูกตเวทีธรรมสืบไป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วางแผนการจัดสร้างโรงเรียนข้าราชการพลเรือนโดยไม่ขึ้นแก่กระทรวงใด ๆ อันนับว่าเป็นรากเหง้าของมหาวิทยาลัยตั้งแต่นั้น โดยมีพระราชประสงค์จะให้มีการเรียนทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ แพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ กฎหมาย ครุศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ แต่ในสมัยนั้นกระทรวงธรรมการเป็นผู้จัดการราชแพทยาลัยและโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์อยู่ ส่วนโรงเรียนกฎหมายนั้นก็อยู่ในการดูแลของกระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2454 กระทรวงเกษตราธิการได้โอนโรงเรียนเกษตรแผนกวิศวกรรมการคลอง 1 มาให้กับโรงเรียนข้าราชการพลเรือน 1 (ซึ่งตั้งอยู่ที่วังใหม่ ปทุมวัน เป็นตึกแบบปราสาทวินเซอร์ ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า "หอวัง" ก่อนที่จะถูกรื้อถอนสร้างเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ) ซึ่งในสมัยนั้นกระทรวงเกษตรยังไม่มีความประสงค์ที่จะรับผู้ที่สำเร็จในวิชาแผนกเกษตรศาสตร์มารับราชการ จึงมอบให้พระอนุยุตยันตรกรรมซึ่งย้ายจากกรมแผนที่มายังโรงเรียนข้าราชการพลเรือนมาดูแลแทน เมื่อ พ.ศ. 2455 ทหารบก ทหารเรือ กรมรถไฟ กรมชลประทาน ฯลฯ เป็นต้น ต่างก็ต้องการนักเรียนที่สำเร็จวิชานี้มาก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้มาเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน จึงได้ให้จัดการตั้งโรงเรียนช่างกลขึ้น วางหลักสูตรหาอาจารย์มาเพิ่มเติมให้ได้มากที่สุด และได้นักเรียนช่างกลชุดแรกจากโรงเรียนเกษตรวิศวกรรมการคลองที่เลิกไปมาประมาณ 30-40 คน โดยสถานที่ของโรงเรียนเกษตรนั้นได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนช่างกลขึ้นและได้เปิดสอน รับสมัครนักเรียนภายนอกเรียกว่า "โรงเรียนยันตรศึกษาแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2456 เป็นต้นมา ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่านี่คือจุดกำเนิดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พอได้รับโอนโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ของกระทรวงธรรมการ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จ มาเป็นแผนกคุรุศึกษาของโรงเรียนราชการพลเรือนแล้ว (โรงเรียนรัฐประศาสนศาสตร์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนราชแพทยาลัยตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช โรงเรียนเนติศึกษาตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา) จึงได้ย้ายโรงเรียนต่าง ๆ มารวมกันกับโรงเรียนยันตรศึกษาที่วังใหม่ ตำบลสระปทุม และได้วางระเบียบเครื่องแต่งกายและสีแถบคอเสื้อของแต่ละแผนก แผนกยันตรศึกษาได้รับสีเลือดหมู ครุศาสตร์ได้รับสีเหลือง แพทยศาสตร์ได้รับสีเขียว และรัฐประศาสนศาสตร์ได้รับสีดำ และมอบให้พระยาวิทยาปรีชามาตย์ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคุรุศึกษามาทำหน้าที่ผู้อำนวยโรงเรียนยันตรศึกษาอีกตำแหน่งหนึ่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2458 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานเงินทุนที่เหลือจากการที่ราษฎรได้เรี่ยไรเพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าจำนวนเก้าแสนกว่าบาทให้ใช้เพื่อสร้างอาคารเรียนและเป็นตึกบัญชาการบนที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน 1,309 ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน และเงินที่เหลือจากการสร้างก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เพื่อกิจการของโรงเรียนต่อไป ทั้งนี้ได้พระราชพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนิน และทรงวางศิลาฤกษ์ในการสร้างอาคารดังกล่าวเมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 ในสมัยนั้นโรงเรียนยันตรศึกษาได้รับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ของกระทรวงธรรมการ การเรียนในขั้นแรกนี้กำหนดหลักสูตรให้เรียนในโรงเรียนเพียง 3 ปีสำเร็จแล้ว ต้องออกฝึกหัดการงานในสถานที่ ซึ่งโรงเรียนเห็นชอบด้วยอีก 3 ปี และเมื่อโรงเรียนได้รับรายงานเป็นที่พอใจแล้ว จึงจะยอมรับว่าการเรียนนั้นจบบริบูรณ์ตามหลักสูตร และยอมออกประกาศนียบัตรให้ได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูง ให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงได้ทรงพระกรุณาฯ โปรดเกล้าให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 โรงเรียนยันตรศึกษาก็ได้เปลี่ยนเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ และได้รับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ของกระทรวงธรรมการ และขยายเวลาเรียนไปเป็น 4 ปี และย้ายสถานที่เรียนจากหอวัง ไปเรียนที่ตึกใหญ่ริมสนามม้าซึ่งเริ่มสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2461 เป็นตึกใหญ่มีบันไดเป็นตัวนาคมีหัวแผ่ 7 หัว แต่หลังคามุงไว้ด้วยใบจากเป็นการชั่วคราว เพราะกระเบื้องเคลือบยังทำไม่เสร็จ แผนกรัฐประศาสนศึกษาก็เปลี่ยนชื่อเป็นคณะรัฐประศาสนศาสตร์ แล้วก็ย้ายมาอยู่ตึกใหม่นี้ด้วยกัน แต่ห้องเรียนของคณะรัฐประศาสนศาสตร์นั้นอยู่ชั้นบน คณะวิศวกรรมศาสตร์อยู่ชั้นล่าง (ตึกใหม่นี้เองกลายเป็นตึกเรียนของคณะอักษรศาสตร์ต่อมา ส่วนคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นย้ายไปเรียนที่ตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ 1 ในอีกเกือบ 20 ปีถัดมาในปีพ.ศ. 2478) ส่วนโรงเรียนข้าราชการพลเรือนก็เปลี่ยนสภาพเป็น "คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์" ไป และตัววังใหม่เองก็กลายเป็น "โรงเรียนมัธยมหอวัง" ใช้เป็นที่ฝึกสอนของนิสิตในแผนกคุรุศึกษาไปด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงแรกจึงมีการจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ ครั้นถึงปี พ.ศ. 2476 ทางราชการเห็นสมควรให้มีการจัดการเรียนการสอนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ถึงขั้นปริญญา จนในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตครั้งแรกที่ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 1 ห้อง 1112 (แต่ขณะนั้นตัวตึกทั้งสองนี้เป็นตึก 2 ชั้นเท่านั้น มาต่อเสริมเพิ่มเป็น 3 ชั้นเมื่อ พ.ศ. 2495) ในปีเดียวกันนั้นเองได้มีการเปิดแผนกวิศวกรรมช่างอากาศขึ้น ด้วยความร่วมมือช่วยเหลือจากกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหมจัดส่งนายทหารฝ่ายเทคนิคช่างอากาศมาช่วยสอนและใช้โรงงานทหารอากาศ ณ บางซื่อ และดอนเมือง เป็นที่ฝึกงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นแยกออกได้เป็น 3 ยุค คือ ยุคต้น มีอายุ 5 ปี ตอนเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ยุคกลาง มีอายุ 17 ปี ตอนเริ่มเป็นมหาวิทยาลัย และยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา ในยุคแรกและยุคกลางคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ทำการสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาภาษาอังกฤษเอง แต่พอ "คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์" ได้ย้ายมาอยู่ที่ตึกอักษรศาสตร์ปัจจุบัน นักเรียนวิศวกรรมศาสตร์จึงได้ไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาภาษาอังกฤษรวมกับนิสิตวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพราะอาจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์มีเพียง 5–6 คน ไม่พอที่จะทำการสอนได้หมดทุกวิชาที่มีอยู่ในหลักสูตร อีกทั้งเครื่องมือเครื่องทดลองทางวิทยาศาสตร์ของคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ก็มีพร้อมมูลกว่า จึงเป็นโอกาสดีที่คณะวิศวกรรมศาสตร์จะได้ขยับขยายผ่อนให้นิสิตของตนได้ไปรับการฝึกสอนจากคณะอื่นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2481 คณะวิศวกรรมศาสตร์รับสมัครแต่ผู้ที่สำเร็จชั้นประโยคมัธยมบริบูรณ์ของกระทรวงธรรมการหรือเทียบเท่า โดยผู้ที่จะเข้าเรียนจะต้องผ่านการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยเสียก่อน และมีใช้เวลาในการเรียนเป็นเวลา 4 ปี ในปีเดียวกันนั้นเอง ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนนี้มีนักเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์เป็นรุ่นแรกอยู่ด้วย มีจำนวน 99 คน ต่อไปผู้ที่จะเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อสำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 ของกระทรวงธรรมการแล้ว จะต้องเข้าเรียนวิชาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์เสียก่อนสองปี เมื่อสอบได้แล้วจึงจะผ่านโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มาเป็นนิสิตในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ จนในปี พ.ศ. 2489 กระทรวงศึกษาธิการได้เปิดให้จัดการศึกษาชั้นเตรียมอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นตามโรงเรียนของกระทรวงอีกหลายแห่ง ทั้งยังอนุญาตให้โรงเรียนราษฎร์ที่ได้รับการเทียบเท่าวิทยฐานะเท่าโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการอยู่แล้ว เปิดการสอนถึงขั้นเตรียมอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นจากมัธยมศึกษาปีที่ 6 ถึง 2 ปีด้วย ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 เป็นต้นไป คณะวิศวกรรมศาสตร์จึงรับสมัครผู้ที่สำเร็จจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่าทุกแห่งโดยผู้ที่จะเข้าเรียน แต่จะต้องผ่านการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยเสียก่อน[4] เหตุการณ์สำคัญพ.ศ. 2453[5]
พ.ศ. 2454
พ.ศ. 2456
พ.ศ. 2458
พ.ศ. 2459
พ.ศ. 2464
พ.ศ. 2472
พ.ศ. 2474
พ.ศ. 2476
พ.ศ. 2478
พ.ศ. 2482
พ.ศ. 2484
พ.ศ. 2485
พ.ศ. 2486
พ.ศ. 2496
พ.ศ. 2497
พ.ศ. 2498
พ.ศ. 2504
พ.ศ. 2506
พ.ศ. 2509
พ.ศ. 2510
พ.ศ. 2512
พ.ศ. 2513
พ.ศ. 2514
พ.ศ. 2515
พ.ศ. 2517
พ.ศ. 2518
พ.ศ. 2519
พ.ศ. 2521
พ.ศ. 2522
พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2527
พ.ศ. 2528
พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2532
พ.ศ. 2533
พ.ศ. 2534
พ.ศ. 2535
พ.ศ. 2536
พ.ศ. 2537
พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2540
พ.ศ. 2541
พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2543
พ.ศ. 2544
พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2553
และเพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างยิ่งขึ้น ทางคณะฯ จึงได้ออกวารสารภาษาอังกฤษในชื่อ "Engineering Journal" ซึ่งเป็นวารสารระดับนานาชาติอีกด้วย พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2561
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2568
อาคารสถานที่อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาคารหลังแรกที่ก่อสร้างขึ้น ผู้ออกแบบคือ พระเจริญวิศวกรรม ซึ่งเป็นทั้งอาจารยและคณบดีของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คาดว่าเริ่มก่อสร้างอาคารเมื่อประมาณ พ.ศ. 2473 แล้วเสร็จและเปิดใช้งานใน พ.ศ. 2477 ในตอนเริ่มแรกนั้นได้มีการออกแบบและดําเนินการก่อสร้างให้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้นมีดาดฟ้า จากข้อมูลที่รวบรวมได้น้ันไม่มีการระบุว่าใครเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง แต่คาดว่าท่านคุณพระเจริญวิศวกรรมเป็นผู้ควบคุมงาน อาคารดังกล่าวสร้างบนพื้นที่ว่างด้านตะวันตกของตึกอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านหลังอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 ออกไปเป็นพื้นที่โล่ง เขตมหาวิทยาลัยทั้งหมดตั้งอยู่ในทุ่งพญาไท อาคารดังกล่าวมีลักษณะทั่วไป คือ เป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กแบบมาตรฐาน มีบันไดทางขึ้นจากช้ัน 1 ไปชั้น 2 อยู่ 2 แห่ง โดยมี บันไดหลักอยู่บริเวณกลางอาคาร มีคานคอดินหนาลึกรองรับกําแพงอิฐ ซึ่งผนังอิฐที่ใช้เป็นอิฐรับแรง 2 ชั้น โดยที่ ผนังด้านนอกของตัวอาคารไม่ฉาบปูน เพราะต้องการโชว์ความงามทางด้านสถาปัตยกรรมให้เป็นปราสาทสีแดง และต้องการความสวยงามเป็นสีเลือดหมู การออกแบบได้อิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก มีความขลังของความเป็นสำนักสำหรับผลิตวิศวกรสมัยใหม่ ซึ่งไม่ขัดแย้งกับตึกอักษรศาสตร์ซึ่งเป็นแบบไทย เนื่องจากเว้นระยะห่างกันพอสมควร โดยอิฐที่ใช้นี้นําเข้ามาจากประเทศอังกฤษ มีขนาด 24 x 13 x 8 เซนติเมตร การเรียงอิฐเป็นการเรียงแบบสลับกัน และได้มีการยาแนวระหว่างอิฐ ซึ่งรอยยาแนวดังกล่าวมีลักษณะเป็นแนวนูนออกมา ปูนที่ใช้ในการก่อสร้างคาดว่าใช้ปูนที่ผลิตใน ประเทศไทย เนื่องจากมีข้อมูลว่าประเทศไทยเริ่มมีการผลิตปูนซีเมนต์ได้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2456 ส่วนเหล็กเสริมที่ใช้กันในสมัยนั้นมีเพียงการใช้เหล็กเส้นกลมตันธรรมดา เนื่องจากยังไม่มีการผลิตหรือนำเข้ามาใช้ในประเทศ ในการก่อสร้างฐานรากนั้นใช้เป็นฐานรากแบบแผ่ เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีการใช้เสาเข็ม และอาคารขนาด 2 ชั้น การใช้ฐานรากแผ่ก็เพียงพอแล้วโดยใช้ไม้สัก ซึ่งไม้ที่ใช้ก็เป็นท่อนซุงไม่ทราบขนาด จํานวนไม่น้อยกว่า 150 ตัน มาประกอบกันเป็นฐานราก การที่ฐานรากเป็นแบบแผ่นั้น ทําให้อาคารทรุดตัวได้มากกว่าฐานรากเสาเข็ม แต่อาคารดังกล่าวมีการทรุดตัวที่เท่ากัน จึงไม่ทำใหเกิดปัญหาต่อตัวโครงสร้าง การทรุดตัวจะสังเกตได้จากระยะห่างของพื้นอาคารและทางเท้าด้านข้าง จากการสํารวจเมื่อ พ.ศ. 2546 พบว่าระดับพื้นชั้นหนึ่งสูงจากพื้นถนนที่วัดได้โดยประมาณคือ 110 เซนติเมตร ต่อมาใน พ.ศ. 2497 ได้ต่อเติมอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 เพิ่มอีก 1 ชั้น เป็น 3 ชั้น และเปลี่ยนดาดฟ้าเป็นหลังคา โดยในสมัยนั้นท่าน ศ.อรุณ สรเทศน์ เป็นคณบดี มีงบประมาณในการต่อเติมอาคารประมาณ 1 ล้านบาท ส่วนของโครงหลังคาน้ันมีการออกแบบเป็นโครงถัก โดยวัสดุที่ใช้ทําเป็นไม้เต็ง การเลือกใช้โครงหลังคาเป็นไม้นั้นเนื่องจาก ในสมัยนั้นไม้หาได้ง่ายและมีราคาถูก ส่วนหลังคาอาคารใช้กระเบื้องที่ทำมาจากปูนซีเมนต์ที่เรียกว่า กระเบื้องวิบูลย์ศรี ซึ่งกระเบื้องดังกล่าวเป็นกระเบื้องคอนกรีตที่มีความสามารถในการรับแรงได้ประมาณ 100 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ต่อมาใน พ.ศ. 2528 ได้ซ่อมบำรุงหลังคา โดยเปลี่ยนจากกระเบื้องวิบูลย์ศรีมาใช้เป็นกระเบื้องซีแพคโมเนีย ซึ่งสามารถรับแรงได้ดีกว่า นอกจากนี้ได้เปลี่ยนไม้ระแนงโครงหลังคาทั้งหมดและเสริมจันทันอีกประมาณ 20% เนื่องจาก โครงหลังคาดังกล่าวชํารุดและรั่วซึม วัสดุที่ใช้เป็นไม้เต็งอาบนํ้ายาจากประเทศมาเลเซีย ลักษณะพื้นของอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 ชั้น 1 และ 2 ในส่วนของห้องจะเป็นพื้นไม้ แต่ส่วนระเบียงทางเดินจะเป็นหินขัดแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 30 x 30 เซนติเมตร มาต่อกัน ส่วนพื้นของชั้น 3 จะใช้เป็นแผ่นคอนกรีตธรรมดาขนาด 30 x 30 เซนติเมตร สาเหตุที่พื้นชั้น 3 แตกต่างกับชั้น 1 และชั้น 2 เนื่องมาจากเคยเป็นดาดฟ้าของอาคารมาก่อน ข้อดีของการเลือกใช้กระเบื้องจัตุรัสมาต่อกันคือ จะไม่เกิดความเสียหายเนื่องมาจากการยืดหดตัวของพื้นอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 2เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2481 แล้วเสร็จเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2482 อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 2 น้ันก่อสร้างภายหลังจากที่ก่อสร้างอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 เป็นเวลา 4 ปี โดยมีบันทึกว่าเป็นตึกสําหรับทําการสอบวิชาวิศวกรรมศาสตร์สร้างเป็นตึก 2 ชั้น แบบโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐด้านนอกตึกไม่ถือปูน ขนาดของตึก ยาว 64.00 เมตร กว้าง 12.50 เมตร ด้านหน้าตึกมีมุขยื่นออกตรงกลาง ซึ่งเป็นบันได 25 เซนติเมตร กว้าง 5.65 เมตร ส่วนปลายทั้งสองข้างยื่นออกมาด้านหน้า 2.5 เมตร กว้าง 10.00 เมตร ด้านหลังอาคารบริเวณกลางอาคารยื่นออกไปข้างหลัง 5.60 เมตร กว้าง 16.00 เมตร หัวท้ายยื่นออก 2.50 เมตร กว้าง 10.00 เมตร มีบันไดขึ้น 2 บันได มีทางเดินรอบตึก ภายในตึกได้จัดเป็นห้องต่าง ๆ คือ เป็นห้องปาฐกถา 4 ห้อง จุนิสิตห้องละ 15 คน 1 ห้อง ห้องละ 30 คน 1 ห้อง และห้องละ 48 คน 2 ห้อง เป็นห้องอัฒจันทร์สําหรับฉายภาพ 1 ห้องจุนิสิตได้ 118 คนเป็นห้องปฏิบัติการธรณีวิทยา 1 ห้องจุนิสิตได้ 30 คน เป็นห้องทําการสํารวจจากภาพถ่าย 1 ห้อง ห้องประชุมอาจารย์ 1 ห้อง ห้องพักนิสิต 1 ห้อง ห้องอาจารย์ 2 ห้อง ห้องอาจารย์ผู้ช่วย 3 ห้อง ลักษณะ โครงสร้างโดยทั่วไปคล้ายกับอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 มาก โดยแบบที่ใช้เป็นแบบเดียวกัน ซึ่งผู้ออกแบบคือ พระเจริญวิศวกรรม อาคารหลังนี้ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2481 แล้วเสร็จเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2482 งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้าง 97,000 บาท มี นายสหัท มหาคุณ เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 2 มีส่วนที่แตกต่างจากอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 ที่เห็นได้ชัด 3 ส่วนหลักคือ มีห้องใต้ดิน ซึ่งทางเข้าอยู่ที่ห้องใต้บันไดทางด้านซ้ายเมื่อมองจากด้านหน้าตึก ซึ่งปัจจุบันได้มีการนําเอาไม้ไผ่วางกั้นก่อน แล้วนําเอาแผ่นไม้มาวางทับเพื่อปิดทางลง เนื่องมาจากว่าทางลงไปช้ันใต้ดินนี้เป็นเพียงทางลงธรรมดา ไม่มีประตู สําหรับปิดทางลง ดังนั้น จึงต้องทําการปิดเอาไว้เพื่อป้องกันอันตราย สําหรับตัวห้องใต้ดินนี้ ปัจจุบันได้มีน้ำขังลึก ประมาณ 2.80 เมตร เมื่อวัดจากพื้นจนถึงคานชั้นที่ 1 นํ้าที่อยู่ที่ห้องใต้ดินนี้เป็นนํ้าที่ค่อนข้างใส เนื่องมาจากการ ตกตะกอนเป็นเวลานานจึงเห็นถึงพื้น จากการสํารวจได้พบว่า ห้องใต้ดินนั้นมีบริเวณอยู่ตรงส่วนกลางของตัวอาคารเท่านั้น การที่จะสูบน้ำออกจากชั้นใต้ดินเพื่อที่จะได้สำรวจได้อย่างเต็มที่ อาจกระทบต่อตัวโครงสร้างคือ อาจทำให้ตัวอาคารลอยตัวขึ้นเนื่องจากไม่มีนํ้าหนักของนํ้ากดทับ การลอยตัวของอาคารจะเกิดในส่วนของบริเวณที่ทําการสูบน้ำออกเท่านั้นทำให้เกิดการของอาคารได้ ส่วนพื้นของอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 2 นี้ ต่างจากพื้นของอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 ตรงที่ก่อสร้างเป็นพื้นเนื้อเดียวโดยที่มีเส้นทองเหลืองเป็นระยะ ๆ เพื่อลดการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวหรือขยายตัว เนื่อจากอุณหภูมิส่วนที่แตกต่างกันในส่วนสุดท้ายคือ ผนังภายนอกของอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 2 ที่เป็นอิฐมีรอยยาแนวที่ไม่มีลักษณะนูนเหมือนกับอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 ต่อมาใน พ.ศ. 2498 ได้ทําการต่ออาคารวิศวกรรมศาสตร์ 2 เพิ่มอีก 1 ชั้น เป็น 3 ชั้น ในส่วนของดาดฟ้าได้เปลี่ยนเป็นหลังคา สมัยนั้นท่าน ศ.อรุณ สรเทศน์ เป็นคณบดี งบประมาณที่ใช้ในการต่อเติมอาคารประมาณ 1 ล้าน บาท การต่อเติมดังกล่าวกระทําหลังจากที่ทําการต่อเติมอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 เป็นเวลา 1 ปี ในระหว่าง พ.ศ. 2514 ได้ทําการสร้างทางเชื่อมระหว่างอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 กับ 2 บริเวณด้านหลังของ อาคารทั้งสอง เพื่อความสะดวกของนิสิตในการเปลี่ยนอาคารเรียน โดยใช้โครงสร้างของเหล็กกับคานคอนกรีต รูป I beam ซึ่งมีการใช้ Bracing เพื่อกันการสั่นของทางเชื่อมอีกด้วย อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 3เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2506 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2508 อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 3 อยู่ระหว่างตึก คณะอักษรศาสตร์กับอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 1 และ 2 ซึ่งที่ดินในช่วงก่อนหน้านั้นเป็นสนามหญ้า ได้ออกแบบให้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ประกอบไปด้วย ห้องประชุมขนาด 500 คน และห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่เหลือเป็นห้องเรียน ได้มีการวางผังและเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2506 และสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2508 โดย ศาสตราจารย์อรุณ ชัยเสรี เป็นผู้คํานวณโครงสร้าง และ อาจารย์รําไพ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นผู้ออกแบบ และผู้รับเหมาคือ บริษัท สีลมก่อสร้าง ซึ่งในสมัยนั้นผู้จัดการบริษัทคือ คุณเผอิญ ศรีภูธร สำหรับการวางผัง อาจารย์เสถียร ชลาชีวะ และอาจารย์อรุณ สรเทศน์ ได้ทําการวางผังด้วยกล้อง โดยใช้เวลาในการ วางผัง 2 วัน ฐานรากที่ใช้เป็นเสาเข็มไม้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 นิ้ว ยาว 16 เมตร จํานวนท้ังสิ้น 1,200 ต้น ใช้ไม้มะค่าและทําการตอกเสาเข็มดังกล่าวด้วยปั้นจั่นโครงถักที่ทำด้วยไม้ ในสมัยนั้นไม่มีการทดสอบดินหรือระดับน้ําใต้ดินเลย แต่มีการใช้พระราชบัญญัติควบคมุ อาคาร พ.ศ. 2479 เป็นข้อกำหนดในการก่อสร้าง ซึ่งภายในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2479 ระบุไว้ว่า ระดับนํ้าอยู่ที่ตํ่ากว่าผิว 1.5 เมตร ดังน้ันจึงทําการตอกเสาเข็มลงไปเป็นระยะ 2 เมตร เพื่อกันไม้ผุเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความชื้นในเนื้อไม้ ใช้เวลาในการตอกเข็มทั้ง 1,200 ต้น ประมาณ 2 ปี การเทฐานรากนั้น ฐานรากจะกว้าง 2 1⁄2 เมตร หนา ประมาณ 60 เซนติเมตร ใช้โม่ผสมปูนจำนวน 4–5 โม่ แล้วเทฐานรากครั้งหนึ่งจึงจะเต็มแบบฐานราก หนึ่งหลุมใช้เวลาในการเทครึ่งวัน โดยปูนที่ใช้เป็นปูนตราช้าง และต้องวัดน้ำตลอดเวลา เพราะว่าอยู่ใต้ระดับ Water Table เสาเข็มที่ใช้นั้นได้มีการทดสอบ การรับกําลังโดยมิสเตอร์หลิว ซึ่งเป็นช่างมาจากฮ่องกง ที่ศาสตราจารย์อรุณ ชัยเสรี ไปเชิญมาทดสอบปรากฏว่ารับเซฟโหลดได้ที่ประมาณ 5,000 กิโลกรัมต่อต้น สําหรับห้องประชุม ช้ัน 3 ด้านบนออกแบบ ให้เป็นห้องสมุด ซึ่งมี Span ค่อนข้างกว้าง จึงมีการ ใช้คาน Pre–Stress จํานวน 8 ตัว ซึ่งผู้ออกแบบคาน ดังกล่าวนี้คือ คุณธรรมนูญ นับว่าเป็นอาคารของประเทศไทยอันดับแรก ๆ ที่ใช้คาน Pre–Stress ในการก่อสร้าง สําหรับตัวคาน Pre–Stress ใช้วิธีการหล่อที่โรงงานผลิต แล้วลำเลียงมาด้วยรถบรรทกุ มาไว้ที่บริเวณข้างหอประชุม จากนั้นทําการยกติดตั้ง ในสมัยนั้นยังไม่มีการใช้เครนในการยก ดังนั้น การติดตั้งคานดังกล่าวจึงใช้รอกยกหัวและท้าย โดย ใช้รอก 4 ตัว ข้างละ 2 ตัว รอกสามารถรับน้ําหนักได้ ข้างละ 10 ตัน ดังนั้นรับได้ทั้งหมดประมาณ 20 ตัน คานดังกล่าวหนักไม่ถึง 20 ตัน แต่เหตุที่ใช้รอก ข้างละ 2 ตัว เนื่องมาจากต้องการผ่อนแรงของคน ติดตั้งเวลาสาวรอกขึ้นในการยกติดตั้งสามารถยกคานหนึ่งตัวขึ้นไปบนยอดได้โดยใช้เวลา 1 วัน คือ สาวเชือก ตั้งแต่เวลา 8.00 น. จนถึงเวลาประมาณ 15.00 น. การสาวรอกใช้คนครั้งละ 2–3 คน โดยจะมีผลัดเปลี่ยนกันเป็นทีม ๆ ในส่วนของคานคอนกรีตเสริมเหล็กธรรมดานั้น กระบวนการในการทํางานนั้นจะทําโดยให้คนงานลําเลียงปูนแล้วทําการเทปูนตั้งแต่เวลาเช้า จนถึง 3 ทุ่ม ทํางานอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าการเทปูน จําเป็นจะต้องเป็นเนื้อเดียวกัน ในการออกแบบอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 3 นี้ ท่าน ศ.อรุณ ชัยเสรี ได้ออกแบบตัวอาคารในแนวคิดที่ว่าเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ดังนั้นความสูงระหว่างชั้นของอาคารจะสูงเป็นพิเศษ ผนังของตัวอาคารเป็นผนัง 2 ชั้น ช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาในตัวอาคาร ในส่วนของวงกบเป็นวงกบขนาดใหญ่ หนาประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งในปัจจุบัน ไม่สามารถหาวงกบแบบนี้ได้อีกแล้ว เนื่องจากอาคารวิศวกรรมศาสตร์ 3 เป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่มาก จึงมีการแบ่งตัวอาคารออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน มีลักษณะเป็น 3 อาคารติดกัน การทําเช่นนี้เพื่อปเองกันอาคาร แตกร้าว เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทําให้อาคารยืดหดตัวไม่เท่ากัน ในการออกแบบในตอนแรกออกแบบเป็นอาคาร 3 ชั้น โดยออกแบบให้ส่วนของ เพดานชั้นที่ 3 รับน้ําหนักจรได้ 400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ออกแบบไว้เพื่อใช้เป็นที่เก็บหนังสือของ ห้องสมุด ต่อมาได้มีการต่อเติมเป็น 4 ชั้น โดยใช้ดาดฟ้าเป็นพื้นของชั้น 4 และมีหลังคาคลุม ซึ่งแต่เดิมก็มีหลังคาคลุมอยู่แล้ว ในการต่ออาคารวิศวกรรมศาสตร์ 3 เป็น 4 ชั้น ไม่ต้องกังวลเรื่องการรับน้ำหนักโครงสร้าง เพราะได้มีการคํานวณนํ้าหนักจรของชั้น 4 ให้รับน้ำหนักได้มากอยู่แล้ว ความสูงของชั้น 4 มีข้อจำกัดจะออกแบบให้สูงมากไม่ได้ เพราะจะทําให้ไม่เข้ากับตึกอักษรศาสตร์ข้างเคียง ในการต่อเติมนี้ได้มีการประมูล เมื่อ พ.ศ. 2531 ในราคา 18.5 ล้าน สัญญาที่ใช้คือสัญญาแบบ Lumsum ซึ่งพื้นมีอยู่แล้ว เป็นการยกหลังคาขึ้นไปโดยที่ใช้โครงหลังคาเดิมแต่เปลี่ยนกระเบื้องใหม่ ในการทํางานนั้นใช้แรงงานคนประมาณ 50–60 คน ทํางานประมาณ 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น ในช่วงต่อเติมนี้ ข้างล่างช้ัน 1 ถึง 3 ก็ยังใช้งานได้ตามปกติ โดยมีวิศวกรคุมงานก่อสร้างท้ังจากจุฬาฯ และผู้รับเหมา ส่วนลิฟต์ทั้ง 2 ตัวของอาคารวิศวฯ 3 นั้น ติดตั้งขึ้นภายหลังเพื่ออํานวยความสะดวกแก่คณาจารย์และนิสิต ลิฟต์ตัวแรกติดตั้งบริเวณปีกซ้ายของอาคารเมื่อ พ.ศ. 2538 ในสมัย รศ.ดร.ณรงค์ อยู่ถนอม เป็นคณบดี ส่วนตัวที่ 2 ติดตั้งบริเวณปีกขวาของอาคาร (บริเวณ ทางออกสู่สวนรวมใจ) ติดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2548 ในสมัย ศ.ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ เป็นคณบดี
ต้นไม้ในคณะวิศวฯ นั้นมีอยู่มากมาย หลายต้นมีประวัติที่น่าสนใจและมีคุณค่า เป็นอย่างมาก ต้นไม้ที่ต้องพูดถึงคือ ต้นสัก ขนาดใหญ่ 3 ต้น บริเวณหน้าตึกวิศวกรรม 3 จากการสืบค้นพบว่า ต้นสัก 3 ต้นนี้ปลูกขึ้น เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2518 ซึ่งในเวลานั้น ศ.ดร.สุรินทร์ เศรษฐมานิต ดํารงตําแหน่งคณบดี ต้นไม้ทั้ง 3ต้นนี้ ปลูกโดย ศ.ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ นายกสภามหาวิทยาลัย ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล อธิการบดี และ ศ.ดร.ชัย มุกตพันธุ์ อดีตคณบดี
ก่อนผมเข้าเรียนน้ัน ตึกวิศวฯ 1 และ 2 ที่เรียกว่า "ปราสาทแดง" นั้น มีเพียง 2 ชั้น แล้วจึงมีการต่อเติมเป็น 3 ชั้นในเวลาต่อมา ประมาณ พ.ศ. 2506 ได้มีการเริ่มออกแบบ ตึกวิศวฯ 3 ขึ้น โดยมีศาสตราจารย์อรุณ สรเทศน์ เป็นวิศวกร มีศาสตราจารย์รําไพ เป็นสถาปนิก ผมโชคดีที่ได้เป็นผู้ช่วยท่านอาจารย์อรุณ สรเทศน์ ประสานงานวิศวกร และสถาปนิก และได้มีโอกาสคํานวณโครงสร้างของห้องประชุม และมีศาสตราจารย์สมหวัง ตัณฑลักษณ์ และอาจารย์เสถียร ชลาชีวะ (สมัยนั้น) เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง อาคารเรียนวิศวฯ หลังที่ 3 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ตึก 3 นี้ รูปร่างดู "ตึ้กตั้ก" ขัดกับความรู้สึกขณะน้ันมาก เพราะเราเพิ่งเรียนเทคโนโลยีใหม่ ๆ มา ได้เห็นก็อยากจะลองวิชา อยากจะ Design อะไรให้หวือหวาที่สุด แต่สถาปนิกคือ ท่านอาจารย์รำไพ ซึ่งขณะนั้นเป็นมือหนึ่งทางสถาปัตยกรรมไทยของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ท่านมีเหตุผลของท่าน คือตึก 3 นี้จะโดดเด่นบังตึก 1 ตึก 2 มิด ที่จะมองเห็นโดยรอบก็คือ หอประชุมจุฬาฯ ตึกอักษรฯ หอสมุดกลาง (ตึกอักษรศาสตร์ 2 ในปัจจุบัน) และตึกจักรพงษ์ ซึ่งเป็นตึกทรงไทยทั้งสิ้น ฉะนั้นตึก 3 จึงไม่มีทางเลือก ต้องออกแบบให้กลมกลืนกับอาคารโดยรอบ คือเป็นหลังคาปั้นหยาสีแดงทรงสูง จากการที่ออกแบบทางสถาปัตยกรรมให้กลมกลืนกับอาคารข้างเคียงนั้น ทำให้แต่ละชั้น ระยะพื้นถึงพื้น สูงถึงประมาณ 4.50 เมตร และมีเสาค่อนข้างใหญ่ วงกบประตูหน้าต่างมีขนาดใหญ่พอ ๆ กับเสาบ้านเลยทีเดียว สําหรับผนังส่วนใหญ่จะเป็นก่ออิฐ 2 ชั้น ฉาบปูนทาสี ทำให้ตึก 3 เย็นสบายโดยไมต้องใช้เครื่องปรับอากาศ
ตัวอาคารมีลักษณะเป็นรูปตัว E แบ่งเป็น 3 ตึกต่อกัน มี Expansion Joint ตัดส่วนที่เป็นหอประชุม แยกขาดจากห้องเรียนทั้ง 2 ข้าง Joint นี้สร้างโดยใช้ไม้อัดหนา 10 มิลลิเมตร คั่น หลายปีต่อมาการเปลี่ยนแปลงทางปริมาตร ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิและความชื้น ทำให้อาคารส่วนบนหดตัว จนรอยต่อที่เดิมห่างกัน 10 มิลลิเมตร กลายเป็น 50 มิลลิเมตร โดยประมาณ ฐานรากของตึก 3 ใช้เสาเข็มไม้ขนาด Ø 0.30 x 16 เมตร ตอกจนหัวเสาเข็มจมดินประมาณ 2.00 เมตร เพื่อให้เสาเข็มอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดินตลอดเวลา การที่ใช้เสาเข็ม เนื่องจากในสมัยน้ันเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงหายากและราคาแพง สําหรับเสาเข็มที่ใช้รับแรงดึง (Tension Pile) ใช้เหล็กรูปตัว U ยึดด้วยสลักเกลียวที่เจาะฝังในหัวเสาเข็ม และเทคอนกรีตฐานรากหุ้ม ในสมัยนั้น เหล็กเสริมคอนกรีตมีแต่ชนิดกลมผิวเรียบที่มี Yield Point = 2,400 กก./ซม.2 เหล็กข้ออ้อยก็หายากเช่นกัน มักมีปัญหาเหล็กข้ออ้อยขาดตลาดอยู่เสมอ เนื่องจากตามแบบสถาปัตยกรรมกําหนดให้องค์อาคาร เช่น เสาและคาน มีขนาดใหญ่ ปริมาณเหล็กเสริมจึงค่อนข้างน้อย คอนกรีตส่วนใหญ่ยังคงเป็นชนิดผสมเอง ฉะนั้นการควบคุมคุณภาพค่อนข้างยาก จึงไม่สามารถใช้คอนกรีตที่มีกําลังสูงมาก ๆ ได้ นํ้าหนักบรรทุกจรโดยทั่วไปใช้ 400 กก./ม.2 ยกเว้น ในห้องประชุม ซึ่งได้เผื่อ Impact ไว้ด้วย พื้นห้องสมุด ซึ่งอยู่เหนือห้องประชุมทําเป็น ค.ส.ล. วางบนคาน คอนกรีตอัดแรงยาว 18.00 เมตร ส่วนเพดานห้องสมุด ทําเป็นแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่เนื่องจากเห็นว่าหลังคามุงกระเบื้องอยู่สูงจากเพดานห้องสมุดมาก เพดานสูงมากน่าจะใช้งานได้ จึงเผื่อนํ้าหนักบรรทุกจรไว้ 400 กก./ม.2 เท่าห้องเรียน ซึ่งก็เป็นประโยชน์ในเวลาต่อมา เพราะได้มีการนําฝ้าเพดานคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นมาใช้งานตามที่คาดการณ์เอาไว้ และได้ยกหลังคาให้สูงขึ้นโดยไม่ต้องเสริมความแข็งแรงเพิ่มเติมแต่อย่างใด รวมทั้งฐานรากด้วย เพราะคิดเผื่อไว้หมดแล้ว ปัจจุบันวัสดุต่าง ๆ มีคุณภาพสูงขึ้น วิศวกรสามารถเลือกใช้คอนกรีตและเหล็กกําลังสูงมาก ๆ ได้ อุปกรณ์การก่อสร้างก็มีครบครัน ฉะนั้นอาคารต่อ ๆ ไป ในคณะวิศวฯ อาจสูงขึ้น ๆ ช่วงกว้างมากขึ้น ๆ แต่ปราสาทแดงก็ยังคงผงาดอยู่คู่คณะวิศวฯ ตลอดไป
ห้อง True Lab @ Chula Engineering: 5G & Innovative Solution Center เปิดให้บริการแล้วสำหรับคณาจารย์และนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ พื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมที่เพียบพร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ทั้ง 5G, 4G, บรอดแบนด์ และ WiFi รวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการทดลอง ทดสอบ ทุนวิจัย/พัฒนา และกิจกรรมเสริมสร้างองค์ความรู้ เสริมศักยภาพให้คณาจารย์และนิสิตในการค้นคว้า สร้างนวัตกรรมและผลงานวิจัย ตลอดจนพัฒนาและสร้างสรรค์รูปแบบการใช้งานต่าง ๆ พื้นที่ให้บริการ 5 ส่วนได้แก่ ออดิทอเรียม (Auditorium), พื้นที่จัดกิจกรรมประชุม สัมมนา ในรูปแบบ Townhall, Working space พื้นที่สำหรับการทำงาน, ห้องประชุม พร้อมฟังก์ชั่นแบ่งเป็นห้องย่อยได้ 2 ห้อง และห้องสำนักงาน และพื้นที่ส่วนกลาง (Lounge) ปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นใช้งานได้หลายรูปแบบ ให้บริการวันจันทร์–ศุกร์ เวลา 8.00–21.00 น. ชั้น 1 อาคาร 3 (ฝั่งสวนรวมใจ) คณะวิศวฯ จุฬาฯ
ห้องลีฟแอนด์เลิร์น (Live & Learn) เป็นห้องปรับอากาศพื้นที่ประมาณ 120 ตารางเมตร ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตเลาจน์ ที่ให้บริการนิสิตและบุคคลากรของคณะฯ เพื่อใช้สำหรับนั่งทำงาน ศึกษาค้นคว้าอิสระ ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น พื้นที่ประชุมพร้อมอุปกรณ์โสตทัศนะสำหรับนำเสนองาน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย ChulaWiFi ปลั๊กไฟสำหรับโน้ตบุ้ค ฯลฯ ห้องลีฟแอนด์เลิร์นนี้มีการนำเทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงานมาใช้เพื่อเป็นตัวอย่างอาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปลูกฝังค่านิยมในการประหยัดพลังงานให้แก่ผู้ใช้งาน ห้องลีฟแอนด์เลิร์นนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทโตชิบา ประเทศไทย เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่ ดร.กร สุริยสัตย์ บัณฑิตวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากคณะฯ
ศูนย์คอมพิวเตอร์ (หรือ ในชื่ออย่างเป็นทางการว่า ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2527 โดยเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาการศึกษา การวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางศูนย์เริ่มต้นขึ้นมาจากการมุ่งเน้นที่การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในด้านงานออกแบบทางวิศวกรรม (CAD) เป็นหลัก ในปัจจุบัน ศูนย์คอมพิวเตอร์ นอกจากจะให้บริการด้านคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนด้านการเรียนการสอน และ การวิจัยต่างๆ ภายในคณะแล้ว ยังเป็นผู้ให้บริการระบบเครือข่าย และข้อมูล online แก่นิสิตและบุคลากรภายในคณะ
ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 3 ให้การบริการทางด้านวิชาการ สนับสนุนการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับพื้นฐาน จนถึงงานวิจัยขั้นสูงของนิสิตปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก อาจารย์ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ ศิษย์เก่าคณะฯ และผู้สนใจทั้งภายใน และภายนอกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ห้องสมุดฯ มีบริการให้ยืมหนังสือเรียน หนังสืออ่านประกอบการเรียน วารสาร (Journal) วิทยานิพนธ์ (Thesis) สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สื่อวีดีทัศน์ ไมโครฟิช และเทปบันทึกเสียง นิสิตสามารถค้นคว้าหาข้อมูลผ่านฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงห้องสมุดต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน ในปัจจุบันเฉพาะห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นก็มีจำนวนหนังสือ ตำรา กว่า 60,000 เล่ม รวมถึงวารสารวิชาการมากกว่า 100 หัวเรื่อง นอกจากนั้นภาควิชาต่าง ๆ หลายภาควิชายังมีห้องสมุดเฉพาะทางของตนเองอีกด้วย ห้องสัมมนากลุ่มย่อยมีจำนวน 10 ห้อง แบ่งเป็น ห้องประชุมกลุ่มย่อย (Seminar Room) ชั้น 3 จำนวน 3 ห้อง และ ห้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Study Room) ชั้น 4 จำนวน 7 ห้อง สำหรับการใช้ ผู้ใช้จะต้องจองห้องผ่านระบบจองห้องออนไลน์ ที่หน้าเว็บไซต์ของห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์: www.library.eng.chula.ac.th เลือก Reserve Study Room โดยผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้ครั้ง 2 ชั่วโมง อาคารเจริญวิศวกรรม (วิศวกรรมศาสตร์ 4)เริ่มก่อสร้าง 18 กันยายน พ.ศ. 2535 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2539 จากการที่มีนิสิตเพิ่มขึ้นในแต่ละปีการศึกษา และจุฬาฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการวางแผนการพัฒนาการศึกษา จากการถ่ายทอดความรู้ทางด้านการเรียนการสอนเพียงอย่างเดียว มาเป็นการถ่ายทอดความรู้ทางการเรียน การสอนและวิจัยในองค์ความรู้ใหม่ ทําให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ต้องมีการปรับปรุงและเพิ่มสถานที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงมีดำริก่อสร้างอาคารเรียนรวมและวิจัยหลังที่ 4 (อาคารเจริญวิศวกรรม) เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ศาสตราจารย์ พระเจริญวิศวกรรม อดีตคณบดี ผู้ที่ได้ร่วมก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และดํารงตําแหน่งคณบดียาวนานถึง 32 ปี อาคารเรียนและวิจัย หลังที่ 4 ก่อสร้างด้วยงบประมาณ 357 ล้านบาท เป็นลักษณะอาคาร 20 ช้ัน มีพื้นที่ รวมท้ังสิ้น 24,500 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยชั้นละ 1,225 ตารางเมตร ซึ่งประกอบด้วย
สถานที่ก่อสร้างบริเวณตึกภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและตึกอนุสาสน์ยันตรกรรมเดิม โดยเริ่มก่อสร้าง 18 กันยายน 2535 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2539
เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มายังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนและวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลังที่ 4 โดยมี ศ.ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ นายกสภามหาวิทยาลัย รศ.น.สพ.ระบิล รัตนพานี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และ รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร คณบดีและนายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฝ้ารับเสด็จฯ อาคารอนุสาสน์ยันตรกรรม (วิศวกรรมศาสตร์ 5)เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2537 สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เวลา 16.09 น.
อาคารฮันส์ บันตลิ[12] ปี พ.ศ. 2509 ได้มีการสร้างตึก 4 ชั้น ขึ้นแทนโรงประลองวิศวกรรมเครื่องกล โดยใช้เงินทุนช่วยเหลือของแผนโคลัมโบจากสหราชอาณาจักร ตึกใหม่นี้ใช้เป็นที่ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล และแผนกวิศวกรรมเครื่องกลก็ได้มาย้ายมาทำการเรียนการสอนอยู่ในตึกดังกล่าว ในบรรดาอาจารย์อาวุโสที่ถือเป็นตำนานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และของ 3 ภาควิชาหลัก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คือ ศาสตราจารย์ พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล) ศาสตราจารย์ ดร.เอม.สัน.เกเวอรต และศาสตราจารย์ ฮันส์ บันตลิ ศาสตราจารย์ ฮันส์ บันตลิ เป็นชาวสวิส เป็นบุคคลสำคัญที่บุกเบิกและวางรากฐานของการเรียนการสอนของแผนกวิศวกรรมเครื่องกล และ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกคนแรกในปี พ.ศ. 2476 และยาวนานจนถึงปี พ.ศ. 2502 เพื่อเป็นการแสดงกตเวทิตาจิตต่อศาสตราจารย์ ฮันส์ บันตลิ หัวหน้าแผนกวิศวกรรมเครื่องกลคนแรก ในวาระวันคล้ายวันเกิดครบ 88 ปีของท่าน ตึก 4 ชั้นที่เป็นที่ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นตึกฮันส์ บันตลิ ในปัจจุบัน ตึกฮันส์ บันตลิเป็นที่ตั้งของห้องธุรการ ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ รวมถึงห้องทดลองและวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อาคารสลับ ลดาวัลย์[13] อาคารสลับ ลดาวัลย์ เป็นอาคาร 3 ชั้น ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2514 ชื่อของตึกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สลับ ลดาวัลย์ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเหมืองแร่ระหว่างปี พ.ศ. 2487–2510 ในอดีตเป็นห้องปฏิบัติการสำหรับนิสิตวิศวกรรมปิโตรเลียม ก่อนที่บริษัท Chevron ได้มอบทุนสร้างห้องปฏิบัติการปิโตรเลียมในภายหลัง ปัจจุบันเป็นตึกสำหรับภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล อาคารอรุณ สรเทศน์อาคารอรุณ สรเทศน์ หรืออาคารภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาลเดิม สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2498 เพื่อเป็นที่ทําการของภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล เคยใช้เป็นสถานที่เรียนและห้องพักอาจารย์ รวมท้ังฝ่ายกิจการนิสิตหญิง ปัจจุบันเป็นที่ทําการสมาคม นิสิตเก่าวิศวฯ จุฬาฯ โดยได้ทําการปรับปรุงใหม่หมด และทําพิธีเปิดอาคารเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 โรงอาหาร iCanteeniCanteen เป็นโรงอาหารที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2555 มีบริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จํากัด เป็นผู้สนับสนุนหลัก โดยความเป็นมาของโครงการนี้คือ โรงอาหารหลังเก่าของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มมีสภาพทรุดโทรม ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ด้วยการออกแบบอาคารแบบเก่า ที่มีความทึบตัน แสงสว่างเข้าถึงภายในอาคารได้น้อย คณะวศิวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีความคิดที่จะปรับปรุงโรงอาหารครั้งใหญ่ โดยร่วมกับ บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด (SYS) จึงจัดการประกวดออกแบบโรงอาหารโครงสร้างเหล็กหลังใหม่ ซึ่งจะถูกสร้างในสถานที่แห่งเดิมนี้ขึ้น ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้สถาปนิกที่มีความสนใจทุกคนได้ร่วมส่งผลงาน และมีคณะกรรมการคัดเลือกในขั้นต้น หลักจากนั้นจะมีการส่งแบบอีกครั้งเพื่อตัดสินผู้ชนะ และนำแบบนั้นมาพัฒนาเพื่อก่อสร้างจริงต่อไป ต่างจากการก่อสร้างอาคารของรัฐแบบเดิมๆ ที่จะใช้ลักษณะของการ Turn Key (ออกแบบพร้อมก่อสร้าง) ไม่ได้มีการคัดเลือกแบบหรือสถาปนิกอย่างจริงจัง ฉะนั้นโครงการนี้จึงได้แบบอาคารที่หลากหลาย น่าสนใจ ก่อนพิจารณาเลือกแบบที่ดีที่สุดเป็นผู้ชนะเลิศ ซึ่งเป็นผลงานของคุณวีระนิตย์ อมรประเสริฐศรี อาคารวิศวฯ 100 ปีเริ่มสร้าง 26 มีนาคม พ.ศ. 2554 แล้วเสร็จ 26 มีนาคม 2556 ใน พ.ศ. 2556 เป็นปีที่คณะวิศวฯ จุฬาฯ ก่อตั้ง ครบ 100 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะได้พัฒนาขึ้นมาตามลำดังกอปรกับมีนิสิตเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอแก่ความต้องการ ดังนั้น ทางคณะวิศวฯ เห็นสมควรว่าควรขยาย พื้นที่ให้เพียงพอและเหมาะสมแก่ความจำเป็นดังกล่าว จึงเสนอให้มีการก่อสร้างอาคารเรียนรวมและวิจัย 100 ปี คณะวิศวฯ จุฬาฯ แต่ด้วยข้อจํากัดด้านพื้นที่จึงต้องรื้อถอนอาคารเดิม 3 หลัง ประกอบด้วย ตึก Work Shop หรือตึกกิจการนิสิต ห้องนํ้าสามแสน และตึกโคลัมโบ
อาคารวิศวฯ 100 ปี เป็นอาคารเรียนรวมและวิจัยสูง 12 ชั้น พื้นที่ใช้งานประมาณ 20,000 ตารางเมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นห้องเรียนรวมขนาดใหญ่ และพื้นที่วิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อผลิตองค์ความรู้ และนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมที่อุตสาหกรรมของประเทศสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้จริง อันจะเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศชาติ นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งของพื้นที่อาคารได้กำหนดไว้สำหรับกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนิสิต และเป็นที่พบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน อาคารวิศวฯ 100 ปี จะเป็นอนุสรณ์สําหรับการ ที่จะก้าวเข้าสู่ศตวรรษใหม่ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2556 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนาครบ 100 ปี ของคณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาคารวิศวฯ 100 ปี เป็นอาคารตามแผนแม่บทการใช้พื้นที่การเรียนการสอนและการวิจัยของจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มพื้นที่การเรียน การสอนและการวิจัยให้แก่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ตามสัดส่วนของจํานวนคณาจารย์ บุคลากร นิสิต และภารกิจของคณะวศิ วกรรมศาสตร์โดยมีหลักการในการใช้พื้นที่ 3 ส่วนหลัก คือ 1. ส่วนขยายงานวิจัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ พื้นที่ประมาณ 8,000 ตารางเมตร (จํานวน 5 ชั้น ได้แก่ชั้น 6–10) จะถูกกําหนดให้เป็นพื้นที่สําหรับการวิจัย ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมโดยอาศัยบุคลากรจากภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในบริบทที่แตกต่างเข้ามา ทํางานร่วมกับบุคลากรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาให้แก่ภาคอุตสาหกรรม พร้อมกับ การสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ อันจะเป็นส่วนสําคัญยิ่งที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป 2. ส่วนขยายการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเรียนการสอนระดับปริญญาบัณฑิต 18 หลักสูตร ปริญญามหาบัณฑิต 19 หลักสูตร และปริญญาดุษฎีบัณฑิต 11 หลักสูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรพื้นฐานและประยุกต์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ การเพิ่มพื้นที่ในส่วนของการศึกษาทําให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความพร้อมที่จะเริ่มหลักสูตรใหม่ที่สอดคล้องกับความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศและพื้นที่สำหรับห้องเรียนสมัยใหม่ (WorkPlace) 3. ส่วนเชื่อมต่อระหว่างนิสิตเก่ากับนิสิตปัจจุบัน พื้นที่ชั้น 3 ประมาณ 1,500 ตารางเมตร ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนิสิต สถานที่ทํางานของกรรมการนิสิตในขณะที่พื้นที่ชั้น 12 ถูกจัดให้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับบุคลากร และสถานที่นัดพบของนิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์รุ่นต่าง ๆ โดยสามารถประสานงานหรือขอรับการสนับสนุนจากนิสิตปัจจุบัน ผ่านทางกรรมการนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ทำงานอยู่ที่ชั้น 3 ในการร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรม นอกจากนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ยังมีลานกีฬา วิศวฯ จุฬาฯ 100 ปี และ ศูนย์ฟิตเนส วิศวฯ จุฬาฯ 100 ปี อยู่ที่อาคารวิศวฯ 100 ปี ชั้นที่ 12 สำหรับให้บริการนิสิต และบุคลากรภายในคณะ
อาคารเรียนรวมและวิจัย (อาคารวิศวฯ 100 ปี) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะสถาปนาครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2556 ทางคณะวิศวฯ ได้ก่อสร้างอาคารเรียนรวมและวิจัย (อาคารวิศวฯ 100 ปี) ขึ้น และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนรวมและวิจัย (อาคารวิศวฯ 100 ปี) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยากาศในวันนี้เต็มไปด้วยความปลาบปลื้มปิติของทุกคน ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารคณะวิศวฯ คณาจารย์ บุคลากร นิสิตปัจจุบันและนิสิตเก่า ต่างมารอรับเสด็จอย่างพร้อมเพรียง
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556 สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงเป็น ประธานในพิธีเปิดแพรคลมุ ป้ายชื่อ "อาคารวิศวฯ 100 ปี" ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้มีอุปการคุณแก่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นพระราชทานใบประกาศเกียรติคุณทองคํา แก่นายพิสุทธิ์ พันธ์เทียน ศิลปินผูเชนะการประกวด ออกแบบลายเส้นเรื่องราวความเป็น "วิศวฯ จุฬาฯ ทศวรรษที่ 1 ถึงทศวรรษที่ 10" ก่อนจะทอดพระเนตร ปูนปั้นประติมากรรมเรื่องราวความเป็นวิศวฯ จุฬาฯ ซึ่งเป็นศิลปะปูนปั้นนูนต่ำที่ปั้นด้วยมือขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดยาว 24 เมตร สูง 3 เมตร บอกเล่าประวัติ ความเป็นมาตลอด 100 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิศวฯ จุฬาฯ ในการนี้คณาจารย์เจ้าหน้าที่ นิสิตปัจจุบัน และนิสิตเก่า ร่วมเข้าเฝ้าด้วยความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ หน่วยงานและหลักสูตรภาควิชาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยภาควิชาและหน่วยงานที่เทียบเท่าทั้งสิ้น 13 หน่วยงาน หลักสูตรคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการเปิดสอนในหลากหลายสาขาวิชาทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
อันดับและมาตรฐานของคณะผลการจัดอันดับในกลุ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี จาก QS world university ranking by subject จาก Quacquarelli Symonds (QS) ประจำปี ค.ศ. 2024 พบว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย อันดับที่ 222 ของโลก[28] นอกจากนั้นยังมีผลการจัดอันดับแยกตามรายวิชาซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
หมายเหตุ *เป็นแห่งเดียวในประเทศที่ติดอันดับ บุคคลคณบดีรายนามคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีดังนี้
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น13°44′13″N 100°31′59″E / 13.73694°N 100.53306°E
|