Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

อำเภอท่าอุเทน

อำเภอท่าอุเทน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Tha Uthen
พระธาตุท่าอุเทน
คำขวัญ: 
ท่าอุเทนเมืองธรรมมะ พระธาตุสูงงาม
แม่น้ำสองสี ไดโนเสาร์ล้านปี ประเพณีไทญ้อ
แผนที่จังหวัดนครพนม เน้นอำเภอท่าอุเทน
แผนที่จังหวัดนครพนม เน้นอำเภอท่าอุเทน
พิกัด: 17°33′25″N 104°36′45″E / 17.55694°N 104.61250°E / 17.55694; 104.61250
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครพนม
พื้นที่
 • ทั้งหมด468.795 ตร.กม. (181.003 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด59,586 คน
 • ความหนาแน่น127.11 คน/ตร.กม. (329.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 48120
รหัสภูมิศาสตร์4803
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอท่าอุเทน หมู่ที่ 6 ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม 48120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ท่าอุเทน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม มีแนวชายแดนติดกับประเทศลาว เป็นอำเภอที่มีความสงบร่มเย็น มีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวลุ่มแม่น้ำโขงที่โดดเด่น ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของชาวไทญ้อของประเทศไทย

ประวัติ

ชาวเมืองท่าอุเทน เดิมมีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองหงสาวดี แขวงไชยบุรี ประเทศลาว ในปัจจุบัน พ.ศ. 2351  หัวหน้าชาวไทญ้อ ชื่อ ท้าวหม้อและภรรยาชื่อ  นางสุนันทา ได้รวบรวมผู้คนมาสร้างเมืองใหม่บริเวณปากแม่น้ำสงคราม ชื่อเมือง "ไชยสุทธิ์อุตมบุรี" (ปัจจุบันคือตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน) เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทร์ได้ตั้งให้ท้าวหม้อเป็นพระยาหงษาสาวดี  และท้าวเล็กน้องชายท้าวหม้อเป็นอุปฮาดวังหน้า ท้าวหม้อมีบุตรชายคนโตชื่อท้าวโสม

พ.ศ. 2357 ได้สร้างวัดศรีสุนันทามหาอาราม ต่อมาเรียกว่า วัดไตรภูมิ ชึ่งได้พบแผ่นศิลาจารึกในวัดนี้ แปลออกมาได้ความว่า "พระศาสนาพุทธเจ้าล่วงลับไปแล้ว 2357 พรรษา  พระเจ้าหงสาวดี ทั้งสองพี่น้องได้มาตั้งเมืองใหม่ที่นี่ให้ชื่อว่า ไชยสุทธิ์ อุตมบุรี ในปีจอ ฉศก ตรงกับ ปีกาบเล็ด ในเดือน 4 แรม 1 ค่ำ วันอังคาร ภายนอกมีอาญาเจ้าวังหน้าเสนาอำมาตย์สิบร้อยน้อยใหญ่ ภายในมีเจ้าครูพุทธา  และเจ้าชาดาวแก้ว เจ้าซาบา  เจ้าซาสา เจ้าสีธัมมา เจ้าสมเด็จพพุทธา  และพระสงฆ์สามเณรทุกพระองค์พร้อมกันมักใคร่ ตั้งใจไว้ยังพุทธศาสนา  จึงให้นามวัดนี้ว่า " วัดศรีสุนันทามหาอาราม" ตามพุทธบัญญัติสมเด็จพระพุทธองค์เจ้า ซึ่งมีติคตั้งไว้ในพระพุทธศาสนา สำเร็จในปีกดสี  เดือน 5 เพ็ญวันจันทร์  มื้อฮวงมด ขอให้ตามคำมักคำปรารถนาแห่งฝูงเข้าทั้งหลายเทอญ"

พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์เป็นขบถต่อกรุงเทพฯ ได้กวาดต้อนผู้คนไปอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ตั้งเมืองขึ้นใหม่ชื่อ เมืองหลวงปุงลิง ทิ้งเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี เป็นเมืองร้าง ต่อมาได้สวามิภักดิ์ต่อเจ้าแผ่นดินญวนคือ เจ้าฟ้าสามกวนหลวง จึงแต่งตั้งให้ท้าวพระปทุมเป็นเจ้าเมืองปุงลิงแทน และให้ท้าวจารย์ญาเป็นอุปฮาด ท้าวจันทร์ศรีสุราช (โสม) เป็นราชวงค์ และท้าวปุเป็นราชบุตร

พ.ศ. 2373 พระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพไทยยกทัพมาปราบขบถเจ้าอนุวงศ์ ให้พระยาวิชิตสงครามตั้งทัพอยู่ที่เมืองนครพนม ให้ราชวงศ์ (เสน) จากเมืองเขมราช ท้าวขัตติยะ กรมการเมืองอุบลราชธานี และท้าวสีลา คุมไพร่พลไปตั้งอยู่ที่เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี  ซึ่งเป็นเมืองร้าง เมื่อปราบขบถจนราบคาบแล้ว เจ้าพระยาบดินทร์เดชา จึงได้ขอปูนบำเหน็จให้ราชวงศ์ (เสน) เป็นพระไชยราชวงษา ครองเมือง ไชยบุรี ซึ่งเป็นเมืองของชาวไทญ้อเดิม ต่อมาเป็นต้นตระกูลเสนจันทร์ฒิชัย

พ.ศ. 2376 พระยามหาอำมาตย์ (ป้อม อมาตยกุล) เป็นแม่ทัพอยู่ ณ เมืองนครพนม ได้กวาดต้อนผู้คนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อันมีกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ เช่น ผู้ไท,ข่า,โซ่ ,กะเลิง,แสก,ญ้อ,และโย้ย ให้มาตั้งถิ่นฐานทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง  เพื่อมิให้เป็นกำลังแก่เจ้าอนุวงศ์และญวน และได้เกลี้ยกล่อมชาวเมืองหลวงปุงลิง ซึ่งเป็นไทญ้อให้กลับมาด้วย โดยมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองร้างริมฝั่งขวาแม่น้ำโขงเป็นที่ตั้งเมืองใหม่ ในตอนที่ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงมาเมื่อขึ้นเหยียบแผ่นดินใหม่เป็นเวลาย่ำรุ่งพอดี จึงได้ตั้งชื่อเมืองให้คล้องกับนิมิตรหมายที่ดีนี้ว่า เมืองท่าอุเทน แปลว่า เมืองท่าแห่งดวงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวพระปทุม เจ้าเมืองหลวงปุงลิงเป็นพระศรีวรราช เจ้าเมืองท่าอุเทนคนแรก ต้นตระกูลวดีศิริศักดิ์[1]

พ.ศ. 2409 พระศรีวรราช (ท้าวพระปทุม) ได้ถึงถึงแก่กรรมลง เมืองท่าอุเทนขาดเจ้าเมืองอยู่ 2 ปี จนเมื่อ พ.ศ. 2411  จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระจำเริญพลรบ (เจ้าดวงจันทร์) เป็นพระศรีวรราชคนต่อมา แต่อยู่ได้เพียง 1 ปี จึงกราบถวายบังคับทูลลาออกจากราชการ เนื่องจากมีความผิดหลายเรื่อง

พ.ศ. 2413 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ราชบุตร (พรหมมา) ต้นตระกูลบุพศิริ เป็นพระศรีวรราช เจ้าเมืองท่าอุเทนคนที่ 3 อยู่ได้ 4 ปีก็ถึงแก่กรรม จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งท้าวบุญมาก (บุตรชายท้าวประทุม) เป็นพระศรีวรราช เจ้าเมืองท่าอุเทนและเป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย ต้นตระกูลกิติศรีวรพันธุ์

พ.ศ. 2442 กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้ข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ให้ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร และกรมการเมืองแบบเก่า ให้เป็นผู้ว่าราชการเมือง ปลัดเมืองแทน ต่อมา พ.ศ. 2450 ได้ยุบเมืองท่าอุเทน เป็นอำเภอท่าอุเทน ขึ้นกับเมืองนครพนมและแต่งตั้งให้ขุนศุภกิจจำนงค์ (จันทิมา พลเตชา) ข้าหลวงประจำเมืองนครพนม เป็นนายอำเภอคนแรก 

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอท่าอุเทนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอท่าอุเทนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 111 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[2]
1. ท่าอุเทน Tha Uthen
7
4,769
2. โนนตาล Non Tan
15
7,376
3. ท่าจำปา Tha Champa
16
8,880
4. ไชยบุรี Chai Buri
17
8,422
5. พนอม Phanom
11
5,231
6. พะทาย Phathai
10
5,157
7. เวินพระบาท Woen Phra Bat
10
6,377
8. รามราช Ram Rat
17
8,907
9. หนองเทา Nong Thao
8
4,440

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอท่าอุเทนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลท่าอุเทน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าอุเทนทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเวินพระบาท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวินพระบาททั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนตาลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจำปา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าจำปาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไชยบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไชยบุรีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพนอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพนอมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพะทาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพะทายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลรามราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรามราชทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเทา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเทาทั้งตำบล
  1. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2558. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการนำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า ไปสู่การปฏิบัติ: แผนจัดการอนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อมย่านชุมชนเก่าท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. บริษัท พรอพเพอร์ตี้พริ้น จำกัด. กรุงเทพฯ
  2. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9