Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

เกรียง กัลป์ตินันท์

เกรียง กัลป์ตินันท์
เกรียง ใน พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567[a]
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีว่าการอนุทิน ชาญวีรกูล
ก่อนหน้านริศ ขำนุรักษ์
ถัดไปธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549[b]
ก่อนหน้าไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์
ถัดไปวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 (72 ปี)
อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2555–2561, 2561–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ประชาธิปัตย์ (2538–2539)
ความหวังใหม่ (2539–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
ไทยรักษาชาติ (2561)
คู่สมรสรจนา กัลป์ตินันท์
บุตร3 คน
ทรัพย์สินสุทธิ103 ล้านบาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ชื่อเล่นเบี้ยว

เกรียง กัลป์ตินันท์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495) ชื่อเล่น เบี้ยว เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 111 อดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ

ประวัติ

เกรียง เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านศิลปศาสตร์ และปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีน้องชายชื่อ กานต์ กัลป์ตินันท์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี 2 สมัย[2]

เกรียง สมรสกับรจนา กัลป์ตินันท์ อดีตนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี มีบุตรสาวด้วยกัน 1 คน (เสียชีวิต) และมีบุตรชาย 2 คน คือ วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี และอภิสิทธ์ กัลป์ตินันท์

ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567 เกรียง ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก[3]

การทำงาน

เข้าสู่การเมือง

เกรียง กัลป์ตินันท์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยสามารถเอาชนะ นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เจ้าพ่ออีสานใต้ในยุคนั้น นับเป็นการโชว์ฝีไม้ลายมือในสนามการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรสมัยแรก[4]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 แต่ได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ในปี พ.ศ. 2550 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในนั้น

หวนคืนสู่สนาม

จากนั้นในปี พ.ศ. 2555 เกรียง กลับหวนสู่ถนนสายการเมืองอีกครั้ง โดยการนั่งตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 42

ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้เรียก นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รักษาการรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย รวมทั้งนายวรสิทธิ์ และนางพิทยา กัลป์ตินันท์ (ภรรยานายวรสิทธิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครอุบลราชธานี) เข้าพบเพื่อพูดคุยถึงนโยบายเรื่องผู้มีอิทธิพล เขาลาออกจากพรรคไทยรักษาชาติในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และเข้าสมัครเป็นสมัครพรรคเพื่อไทยในวันถัดมา[5]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 10 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 6 และได้รับการเลือกตั้ง[6] และวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[7] โดยได้รับมอบหมายจากอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นผู้สั่งการและปฏิบัติราชการในกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและกรุงเทพมหานคร รวมถึงกำกับดูแลองค์การตลาดและองค์การจัดการน้ำเสีย[8]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เกรียง กัลป์ตินันท์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันอีก 4 ครั้ง และครั้งล่าสุด ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2566 ดังนี้

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคไทยรักไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคไทยรักไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

หมายเหตุ

  1. ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีรวม 1 ปี 2 วัน
  2. ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวม 10 ปี 237 วัน

อ้างอิง

  1. สำนักข่าวอิศรา, เปิดทรัพย์สิน 14 รัฐมนตรี-อดีตรมต. 'เศรษฐา' รวยสุด 985 ล.-พล.ต.อ.พัชรวาท รวย 292 ล., สืบค้นเมื่องันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2568
  2. ผลเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลราชธานี กานต์ กัลป์ตินันท์ ยังนำ คะแนนทะลุ 1 แสนแล้ว
  3. โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็นกรณีพิเศษแก่ “อนุทิน-เกรียง-ชาดา”
  4. 'เกรียง กัลป์ตินันท์' แลนด์สไลด์ 'อุบลฯ' คน 'ชินวัตร' หลอมรวม 'เพื่อไทย', สืบค้นเมื่อ 2023-08-26
  5. ""เกรียง" คือใคร ทำไมใกล้ชิด "ทักษิณ"". bangkokbiznews. 2022-03-11.
  6. "เกรียง กัลป์ตินันท์ เบอร์พรรค 29". candidate.ptp.or.th (ภาษาอังกฤษ).
  7. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  8. "อนุทิน แบ่งงาน มหาดไทย ยก กทม.ให้ เกรียง-เพื่อไทย คุม กทม". ประชาชาติธุรกิจ. 13 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
ก่อนหน้า เกรียง กัลป์ตินันท์ ถัดไป
ทรงศักดิ์ ทองศรี
นริศ ขำนุรักษ์

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9