พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (เขมร: ព្រះបាទស៊ីសុវតិ្ថ; พระบาทสีสุวัตถิ์, ในเอกสารไทยเรียกว่า "สมเด็จพระศรีสวัสดิ์") ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 110 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา พระองค์ปกครองพระราชอาณาจักรกัมพูชาระหว่างปี พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2470 ในช่วงการปกครองอาณานิคมของฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 3 ในประวัติศาสตร์กัมพูชายุคอาณานิคม พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี (นักองค์ด้วง) และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาของพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร (นักองค์ราชาวดี) พระราชประวัติเสด็จพระราชสมภพเมี่อวันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2383 ที่กรุงอุดงมีชัย นครหลวงเก่าของกัมพูชา [1] ทรงเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 3 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ทรงขึ้นครองราชย์เมี่อ พ.ศ. 2447 สืบต่อจากพระเชษฐา พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร ด้วยการสนับสนุนจากฝรั่งเศส ช่วงที่พระองค์ครองราชย์ ฝรั่งเศสได้เรียกร้องเอาเมืองพระตะบอง เสียมราฐ สตึงแตรง และเกาะกง คืนจากสยามไปรวมกับกัมพูชาเหมือนเดิม
พระราชกรณียกิจการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับฝรั่งเศสเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้อุบัติในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสซึ่งในขณะนั้นปกครองกัมพูชาในฐานะเจ้าอาณานิคม ได้เริ่มมีนโยบายเกณฑ์ผู้คนไปเป็นทหารในแนวหน้า เพื่อทดแทนทหารฝรั่งเศสซึ่งเสียชีวิตในแนวรบด้านตะวันตก ในดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสได้เริ่มมีการเกณฑ์ผู้คนไปเป็นทหารจากทั้งในตังเกี๋ย โคชินจีน อันนัม และกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) มีโปสเตอร์ขนาดใหญ่ปรากฏในเมืองและหมู่บ้านต่างๆใสพระราชอาณาจักรกัมพูชาชี้แจงให้ประชาชนเข้าร่วมสงครามโลก จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) พระองค์ทรงออกพระราชกฤษฎีกาเรียกร้องให้อาสาสมัครมีส่วนร่วมในสงครามโลกกับฝรั่งเศส[2] ข้าหลวงใหญ่แห่งอินโดจีนในเดือนมกราคม พ.ศ. 2459 เรียกเกณฑ์ผู้ชาย 7,000 คน (เท่ากับทหารจำนวนเจ็ดกองพัน) เพื่อจัดตั้งทหารกองหนุนและทหารประจำการจากอินโดจีนเพื่อที่จะส่งไปยังฝรั่งเศสและขออาสาสมัครเพิ่มเติมอีก 12,000 คน, แรงงานที่มีทักษะ 10,000 คน (พยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรม, ล่าม ฯลฯ ) และแรงงานไร้ฝีมือ 20,000 คน กัมพูชาถูกเรียกตัวให้จัดพลทหารอาสา 1,000 คนและคนงาน 2,500 คนไปช่วยฝรั่งเศสทำสงคราม ชาวเขมรหลายกองกำลังในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งถูกนำไปใช้หลังแนวหน้าเช่นอินโดจีนหรือไม่ก็ไปทำงานเป็นแรงงานในโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ฝรั่งเศส สวรรคตเสด็จสวรรคตที่ กรงุพนมเปญ เมี่อเวลา 16.00 น. วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2470 รวมพระชนมายุ 88 พรรษา ทรงครองราชย์ 24 ปี กำหนดการพระราชพิธีพระบรมศพพิธีกรรมวันแรก สรงน้ำพระบรมศพ แผ่นทองที่ครอบพระพักตร์นั้น เป็นแผ่นทองที่จารึกอายตนะ 6 (พระปรมาภิไธยและวันเวลาพระราชสมภพและวันเสด็จสวรรคต) มีซับพระพักตร์ตาดเงินขาวคลุมบนแผ่นทอง และมีทรงสะพักตาดเงินขาวคลุมบนพระองค์ ตอนสรงน้ำพระศพนั้น สรงบนพระแท่นสานด้วยหวาย มีถาดหรือรางสังกะสีรองอยู่ใต้พระแท่น เมื่อสรงเสร็จแล้วก็เชิญพระศพไปประดิษฐานบนพระแท่นที่สวรรคต วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2470 (หลังสวรรคต 1 เดือน) พระสีสุวัตถิ มุนีวงศ์ (ไทยเรียกพระศรีสวัสดิ์ มณีวงศ์)กษัตริย์พระองค์ใหม่ ถวายพระนามให้กษัตริย์ที่สวรรคตว่า "พระกรุณาในพระบรมราชานุโกศ" พิธีในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2471 (หลังสวรรคต 7 เดือน) อัญเชิญพระศพในพระบรมโกศทอง(สูง 2 เมตร 80 ซม.) เพื่อจะขึ้นรถแห่ไปยังพระเมรุ งานพระราชพิธีพระบรมศพ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เกร็ดความรู้
"มีนางร้องไห้ประจำยาม ๒๐ คน ล้วนแต่โกนผมนุ่งขาวไว้ทุกข์ ร้องยำยามตามบทที่กรมพระราชนิพนธ์ (คงจะพระนามทรงกรมของเจ้านายองค์ใดองค์หนึ่ง-จุลลดาฯ) ได้แต่งถวายสำหรับพระบรมศพ ในเวลาที่ร้องยำยามถวายนั้น มีกลองชนะ ๑๐ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ฯลฯ"[3] อ้างอิง
38
|