Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

สมัยละแวก

แผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณปี พ.ศ. 2083: สีเขียวอ่อน: ละแวก สีม่วงน้ำเงิน: อยุธยา สีชมพู: ล้านช้าง สีน้ำเงิน: ล้านนา สีม่วง:ไดเวียต สีชมพู:จามปา
แผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณปี พ.ศ. 2083:
สีเขียวอ่อน: ละแวก
สีม่วงน้ำเงิน: อยุธยา
สีชมพู: ล้านช้าง
สีน้ำเงิน: ล้านนา
สีม่วง:ไดเวียต
สีชมพู:จามปา

สมัยละแวก มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ เมืองละแวก (เขมร: លង្វែក,อังกฤษ: Lovek) ปัจจุบัน คือ อำเภอกำปงตระลาจ จังหวัดกำปงชนัง โดยตั้งแต่ พ.ศ. 2096 ถึง พ.ศ. 2136 ตรงกับช่วงประมาณสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง เป็นยุคสมัยที่อาณาจักรเขมรรุ่งเรืองขึ้นเป็นครั้งแรกหลักจากประสบกับความเสื่อมโทรมมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสองร้อยกว่าปี โดยเขมรในสมัยนี้มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะกับสเปน (ผิดกับชาติเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่นพม่า ไทย เวียดนาม มลายู ซึ่งติดต่อกับโปรตุเกสเป็นส่วนใหญ่) ประกอบกับการที่อาณาจักรอยุธยากำลังอ่อนแอด้วยการรุกรานของพม่า ทำให้เขมรยกทัพเข้ากวาดต้อนชาวบ้านตามหัวเมืองต่าง ๆ ทางภาคตะวันออกของอาณาจักรอยุธยา จึงทำให้สามารถขึ้นมาเป็นฝ่ายรุกได้ แต่ก็เป็นช่วงเวลาอันสั้นเท่านั้น เพราะกรุงละแวกได้ถูกเผาทำลายลงด้วยกองทัพของทัพสยามในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำให้พระยาละแวกต้องหลบหนีออกจากเมืองไปหลบซ่อนอยู่ที่เมืองสตรึงแตรง ทำให้เขมรเข้าสู่กลียุคอีกครั้งและตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอยุธยายาวนานสี่ร้อยกว่าปี

พระศรีสุคนธบท กษัตริย์เขมรเมืองปาสาณได้ถูกเสนาบดีชื่อว่า เจ้ากอง ทำการปฏิวัติล้มราชบัลลังก์และทรงถูกสำเร็จโทษ พระยาจันทราชาพระอนุชาต่างพระราชมารดาเสด็จลี้ภัยไปยังกรุงศรีอยุธยา ต่อมาถึงกลับเข้ามาเขมรอีกครั้งพร้อมกับกองทัพอยุธยาเพื่อทำสงครามทวงราชบัลลังก์คืนจากเจ้ากอง โดยเจ้ากองสิ้นพระชนม์ในการรบกับพระยาจันทราชาใน พ.ศ. 2069 โดยเมื่อหมดเสี้ยนหนามแล้ว พระยาจันทราชาได้ประกอบพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็น พระบรมราชาที่ 2 (พญาจันทน์) สมเด็จพระบรมราชาฯ ก็โปรดฯ ให้สร้างราชธานีแห่งใหม่ ชื่อว่า เมืองละแวก หรือ ลงแวก

เมืองละแวกเมื่อแรกสร้างนั้นเป็นค่าย สมเด็จพระบรมราชาฯ โปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปอัฐรัศขึ้นสี่องค์ แต่ละองค์หันหน้าสี่ทิศประดิษฐานอยู่ในพระวิหารจตุรมุขมหาปราสาท หรือวัดตรอแลงแกงอันเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองละแวก

ความรุ่งเรืองของกัมพูชาในยุคกรุงละแวก

แผนที่กรุงละแวกโดยชาวดัตช์

ใน พ.ศ. 2083 พงศาวดารเขมรกล่าวว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงนำทัพเข้ามารุกรานเมืองกัมพูชาด้วยพระองค์เอง แต่สมเด็จพระบรมราชาฯ ก็สามารถต้านทานและเอาชนะกองทัพอยุธยาได้และจับได้เชลยเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระไชยราชาฯทรงต้องเสด็จหนีกลับไป ใน พ.ศ. 2096 สมเด็จพระบรมราชาฯ ได้ทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษกใหม่ที่กรุงละแวก เป็น พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีฯ ใน พ.ศ. 2098 เจ้าพระยาโอง หรือ พระสิทธนราช พระโอรสในพระศรีราชาที่ถูกทัพอยุธยาจับกลับไปนั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงชุบเลี้ยงไว้และให้เป็นเจ้าเมืองสวรรคโลก[1] และทรงส่งเจ้าพระยาโองมาตีนครกัมพูชาเพื่อทวงสิทธิ์ในราชบัลลังก์ สมเด็จพระบรมราชาฯ ทรงนำทัพออกไปพร้อมกับพระรามาธิบดีมหาอุปราชพระราชโอรสออกไปรบกับเจ้าพระยาโอง เจ้าพระยาโองสิ้นพระชนม์ในที่รบ สมเด็จพระบรมราชาฯ โปรดฯ ให้นำพระศพเจ้าพระยาโองมาจัดพิธีอย่างสมพระเกียรติ และออกนามเจ้าพระยาโองว่า สมเด็จพระเรียม

สมเด็จพระบรมราชาฯ สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2109 พระมหาอุปราชรามาธิบดีก็สิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้า พระโอรสองค์เล็กคือพระปรมินทร์ราชาจึงขึ้นครองราชสมบัติต่อเป็น สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 มีพระโอรสกับพระมเหสีคือ นักพระสัตถา และมีพระโอรสกับพระสนมคือ พระศรีสุพรรณมาธิราช และกับพระสนมอีกนางหนึ่ง คือ เจ้าพญาอน ปีเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2112 สมเด็จพระบรมราชาฯ อาศัยจังหวะที่อยุธยาอ่อนแอยกทัพบุกมาล้อมกรุงศรีฯ ไว้แต่ถูกสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชขับกลับมา เมื่อ พ.ศ. 2119 สมเด็จพระบรมราชาฯ ก็ทรงย้ายไปประทับที่เมืองกัมปงกระสัง เพื่อทรงบัญชาการการเข้าตีเมืองนครราชสีมาของอยุธยาโดยสำเร็จ จับเชลยกลับมาได้เป็นจำนวนมาก ในปีเดียวกันนั้นเองตามพงศาวดารเขมร เจ้ามหาอุปราชแห่งล้านช้าง (ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า) ได้ส่งช้างมาท้าดวลกับช้างทรงของสมเด็จพระบรมราชาฯ หากเมืองไหนแพ้ต้องเป็นเมืองขึ้นของอีกฝ่าย ปรากฏว่าช้างของฝ่ายกัมพูชาชนะ สมเด็จพระบรมราชาฯ จึงทรงกันไพร่พลลาวที่ติดตามมากับช้างไว้ ปล่อยแต่ช้างกลับไป พระมหาอุปราชพิโรธเป็นอย่างมากที่ทรงเสียทีแก่สมเด็จพระบรมราชาฯ จึงทรงนำทัพเรือลาวมาด้วยพระองค์เองลงมาเพื่อบุกเมืองกัมพูชา กษัตริย์สองประเทศกระทำยุทธการกันที่เกาะเจ้าราม สมเด็จพระบรมราชาฯ ทรงชนะ ทัพทางบกเขมรก็เอาชนะลาวได้ และจับเชลยได้เป็นจำนวนมาก ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ได้มีชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อเป็นครั้งแรก เป็นชาวสเปนชื่อ กาสปาร์ด เดอ ครุซ (Gaspard de Cruz) [2] นับแต่นั้นมาอาณาจักรละแวกก็มีความสัมพันธ์อีกดีต่อสเปน

สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2119 นักพระสัตถาขึ้นครองราชสมบัติต่อ เป็น สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (นักพระสัตถา) มีพระโอรสกับพระมเหสีคือ สมเด็จพระไชยเชษฐา มหาอุปราช และพญาตน ใน พ.ศ. 2127 สมเด็จพระบรมราชาฯ โปรดให้ประกอบพิธีบรมราชาภิเษกให้แก่พระราชบุตรทั้งสอง คือ สมเด็จพระไชยเชษฐา เป็น สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช และพญาตน เป็น พระบรมราชาที่ 5 เท่ากับในขณะนั้นเมืองกัมพูชามีกษัตริย์สามองค์ในเวลาเดียวกัน ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 นี่เอง ที่นักผจญภัยชาวสเปนชื่อ บลาสรุยซ์ (Blas Ruiz de Hernán Gonzáles) และเบลูซู (Diego Veloso) ชาวโปรตุเกส ได้เข้ามารับใช้สนองพระบาท สมเด็จพระบรมราชาฯ ทรงรับเป็นพระโอรสบุญธรรม และทรงจ้างทหารองค์รักษ์เป็นชาวสเปนและโปรตุเกสเสียสิ้น

เหตุการณ์เสียกรุงละแวก

อาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 2148 ภายหลังการทัพของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ใน พ.ศ. 2136 สมเด็จพระนเรศวร ทรงกรีฑาทัพสยามเข้ามาบุกเมืองกัมพูชา ทรงเข้ายึดเมืองต่าง ๆ ได้ สมเด็จพระบรมราชาฯ พระสัตถามีพระราชโองการให้อย่านำทัพเข้าขัดขวางทัพสยาม แต่ให้อพยพคนหลีบหนีออกจากเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวร และมีพระราชสาสน์ถึงวิศรอยสเปนประจำเมืองมะนิลาเพื่อขอทัพฝรั่งมาช่วยต้านทัพสยาม ฝ่ายเมืองมะนิลาเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่อาจจะได้กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นจึงส่งทัพ 120 นายมาป้องกันกรุงละแวก แต่ไม่ทันสมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพมาถึงเมืองละแวกก่อน สมเด็จพระสัตถาประทับช้างทรงออกมานอกเมืองพบกับพระนเรศวรหมายจะกระทำยุทธหัตถี แต่ช้างทรงของสมเด็จพระสัตถากลับคร้ามกลัวช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรและวิ่งเตลิดหนีไป[3] สมเด็จพระสัตถาทรงเสียท่าดังนั้นแล้วจึงพาพระโอรสกษัตริย์ทั้งสองและพระมเหสีหนีไปเมืองศรีสุนทร สมเด็จพระนเรศวรทรงเข้าบุกเผาทำลายเมืองละแวกจนย่อยยับ แล้วใน พ.ศ. 2137 กษัตริย์ทั้งสามและพระมเหสีทรงพากันเสด็จหนีไปเมืองสตึงแตรงของล้านช้าง สมเด็จพระสัตถาและสมเด็จพระไชยเชษฐาฯ พระราชบุตรประชวรสิ้นพระชนม์ที่เมืองสตึงแตรง ฝ่ายทางเมืองกัมพูชาเมื่อไม่มีกษัตริย์คอยดูแล อำนาจจึงตกแก่เชื้อพระวงศ์ชั้นผู้น้อยแต่เป็นขุนนางตำแหน่งสูงชื่อ พระบาทรามเชิงไพร เป็นผู้นำฝ่ายเขมรที่ต่อต้านการยึดครองของสยาม มีฐานที่มั่นที่เมืองศรีสุนทร ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรโปรดให้เลิกทัพกลับไป พร้อมกับกวาดต้อนชาวเขมรกลับไปเป็นจำนวนมาก โดยนำพระศรีสุริโยพรรณพระอนุชาของสมเด็จพระบรมราชาฯ พระสัตถากลับไปด้วย และยังทรงแต่งตั้งพระเอกกษัตรี พระธิดาของพระศรีสุริโยพรรณเป็นพระมเหสี

สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้พระมหามนตรีคุมสถานการณ์ในเขมรไว้ที่เมืองอุดงมีชัย พระบาทรามเชิงไพรจึงกรีฑาทัพมาขับไล่พระมหามนตรีที่เมืองอุดงมีชัยใน พ.ศ. 2138 พระมหามนตรีถอยทัพกลับสยาม พระบาทรามเชิงไพรจึงเป็นเอกกษัตริย์แห่งกัมพูชา ฝ่ายนายบลาสรุยซ์ ซึ่งได้หนีไปเมืองมะนิลา และนายเบลูซูหนีไปมะละกา ได้กลับมายังเมืองกัมพูชาอีกครั้งและได้ทราบข่าวว่าพระราชวงศ์เดิมเสด็จลี้ภัยไปยังสตึงแตรงแล้ว จึงตามเสด็จไปเมืองสตึงแตรงปรากฏว่าพระบรมราชาฯ พระสัตถาได้ประชวรสวรรคตไปเสียแล้ว ฝรั่งสองคนจึงพากันคับแค้นใจมากและวางแผนจะกอบกู้บัลลังก์คืนให้แด่พระบรมราชาที่ 5 พระโอรส ใน พ.ศ. 2139 ฝรั่งทั้งสองได้เดินทางลงมาเฝ้าพระบาทรามเชิงไพร ฝ่ายพระรามเชิงไพรไม่ไว้วางใจฝรั่งทั้งสองจึงวางแผนสังหาร แต่ฝรั่งรู้ตัวก่อนจึงชิงปลงพระชนม์พระรามเชิงไพรเสีย แล้วเชิญพระบรมราชาที่ 5 นิวัติกรุงกัมพูชาอีกครั้ง ขึ้นครองราชสมบัติที่กรุงศรีสุนทร

รายพระนามกษัตริย์เขมรละแวก


รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา
พระมหากษัตริย์ ครองราชย์
รัชกาล พระรูป พระนาม ระหว่าง หมายเหตุ
อาณาจักรเขมรละแวก
(พ.ศ. 2083 – 2140)
สถาปนา ละแวก เป็นเมืองหลวง
76 พระบรมราชาที่ 2
(พญาจันทร์)
พ.ศ. 2059 – 2109
(50 ปี)
ย้ายราชธานีมายังกรุงละแวก เข้าสู่ยุคอาณาจักรเขมรละแวก
77 สมเด็จพระบรมราชาที่ 3
(พระยาละแวก, ปรมินทราชา)
พ.ศ. 2109 – 2119
(10 ปี)
ประกาศอิสรภาพจากกรุงศรีอยุธยา, ทำสงครามและเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระบรมราชาที่ 3ทรงประกาศอิสรภาพจากกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรเขมรละแวกได้เอกราชจากกรุงศรีอยุธยา
78 สมเด็จพระบรมราชาที่ 4
(นักพระสัตถา)
พ.ศ. 2119 – 2137
(18 ปี)
ครองราชย์ร่วมกับพระราชโอรส
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพมาตีกรุงละแวกได้สำเร็จ อาณาจักรเขมรละแวกได้ตกเป็นประเทศราชกรุงศรีอยุธยา) เป็นครั้งที่สอง
79 พระไชยเชษฐาที่ 1 พ.ศ. 2127 – 2137
(10 ปี)
ครองราชย์ร่วมกับพระราชบิดา และพระบรมราชาที่ 5
80
(1)
พระบรมราชาที่ 5
(พญาตน)
พ.ศ. 2127 – 2137
(10 ปี)
ครองราชย์ร่วมกับพระราชบิดา และพระไชยเชษฐาที่ 1

อ้างอิง

ก่อนหน้า สมัยละแวก ถัดไป
จตุรมุข ราชธานีกัมพูชา
(พ.ศ. 2069 - พ.ศ. 2136)
ศรีสุนทร

11°51′53″N 104°45′14″E / 11.86472°N 104.75389°E / 11.86472; 104.75389

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9