พระบรมรามา
พระบรมรามา (เขมร: បរមរាមា; อักษรโรมัน: Barom Reamea) หรือ [1]พระบรมรามาธิบดี (เขมร: បរមរាមាធិបតី; อักษรโรมัน: Barom Reameathibtei) พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมรพระองค์ที่ 36 มีพระนามเดิมว่า เจ้าพญาคำขัด พระบรมรามา เป็นพระราชโอรสองค์แรกของพระบรมลำพงษ์ราชาและพระขนิษฐาของพระศรีสุริโยวงษ์ ตามที่พงศาวดารเมืองละแวก จ.ศ. 1158 ได้กล่าวว่า พระศรีสุริโยวงษ์ มีพี่นางและน้องสัตรี พี่นางมีราชบุตร 1 พระองค์คือ เจ้าพญาอินทราชา น้องสัตรีนั้นมีพระราชบุตร 2 พระองค์ คือ เจ้าพญาคำขัด และเจ้าพญาแก้วฟ้า พระศรีสุริโยวงษ์ ยกนางสันทนิตราให้ครองรักกันกับอินทราชา แล้วจะให้เจ้าพญาอินทราชาเสวยราชย์แทนพระองค์ เจ้าพญาคำขัดลอบฆ่าเจ้าพญาอินทราชาเสีย และเอานางสันทนิตรามาเป็นภรรยา พระศรีสุริโยวงษ์ทรงพระโกรธ มิให้เจ้าพญาคำขัดเสวยราชย์ จะให้ขุนเทพมนตรี เสวยราชย์แทนพระองค์ ครั้นขุนเทพมลตรีมาถึงกลางทาง เจ้าพญาคำขัดกับพรรคพวกฆ่าขุนเทพมนตรีเสีย แลเสนาบดีทั้งปวงกราบทูลอ้อนวอนพระศรีสุริโยวงษ์จะขอให้พญาคำขัดเสวยราชย์ พระศรีสุริโยวงษ์ก็หายโกรธ เสวยราชย์มากำหนดได้ 3 ปี จะยกราชสมบัติให้พญาคำขัด ทรงพระนาม รามาธิบดี แลนางสันทนิตรานั้นเป็นพระมเหสี ทรงพระนาม สมเด็จพระภัควะดีศรีสันทนิตรา แล้วมีพระมเหสีองค์หนึ่งเป็นบุตรเจ้าเมืองบางคาง (ปราจีนบุรี) มีพระราชบุตร 2 พระองค์คือ เจ้าพญาคามยาต และนางสันทนิตรา [2]พระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา ฉบับออกญาวังวรเวียงชัย (ชวน) ระบุปีขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1906 พระราชพงศาวดารพระมหากษัตริย์เสวยราชสมบัติในกรุงกัมพูชาธิบดีเป็นลำดับเรียงมา ระบุปี พ.ศ. 1909 และเอกสารมหาบุรุษเขมร ระบุปี พ.ศ. 1913 อ้างอิง
|