Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

พระบรมราชาที่ 2 (พญาจันทน์)

สมเด็จพระบรมราชาที่ 2
พระมหากษัตริย์กัมพูชา
ครองราชย์พ.ศ. 2059-2109
รัชกาลก่อนหน้าเจ้ากอง
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก)
สวรรคตพ.ศ. 2109
พระมเหสีสมเด็จพระภัควดีศรีปทุมบุปผา
พระราชบุตรสมเด็จพระรามาธิบดี
สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก)
สมเด็จพระมหาเทวีกษัตริย์
พระนามเต็ม
พระบาทสมเด็จพระราชโองการ พระบรมรามามหาจันทราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสันธรบรมวงศากัมพูชา มหาอินทปัตถ์บุรีรมย์ อุดมกุรุรัฐราชธานี
พระนามเดิม
เจ้าพระยาจันทราชา
ราชวงศ์ราชวงศ์วรมัน
พระราชบิดาพระธรรมราชาธิราชรามาธิบดี
พระมารดาพระแม่นางเทพบุบผา

พระบรมราชาที่ 2 (พญาจันทน์) หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราช หรือพระยาจันทราชา ทรงเป็นพระราชโอรสของพระธรรมราชาธิราชรามาธิบดี หลังจากที่เจ้ากองก่อกบฏในรัชกาลพระศรีสุคนธบท พระเชษฐาของพระองค์ พระองค์ได้เสด็จหนีไปกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้ออกมาครองราชสมบัติที่เมืองโพธิสัตว์ภายใต้การสนับสนุนของกรุงศรีอยุธยา (สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่​ 2) และได้รวบรวมกำลังทหารมาปราบเจ้ากองได้สำเร็จและได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามพระบรมราชาที่ 2 ต่อมาพระองค์ได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่กรุงละแวกเมื่อ พ.ศ. 2083

เหตุการสำคัญในรัชสมัย

พ.ศ. 2083 พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจึงให้ยกทัพมาตีกัมพูชา ดังความในพงศาวดารเขมร ฉบับแปล จ.ศ. 1217 ที่แปลจากพระราชพงศาวดารกัมพูชา ฉบับออกญาวงศาสรรเพชญ (นง) กล่าวว่า

“…พระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช 1462 (จ.ศ. 902) ศกชวดนักษัตรได้ 25 ปี พระชันษาได้ 55 ปี พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา จึ่งยกทัพมาถึงพระนครหลวง ในปีชวดนั้น พระองค์ยกทัพไปถึงพระนครหลวงรบชนะ พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาหนีไป พระเจ้าจันทร์ราชาจับได้เชลยไทยเป็นอันมากแล้วเสด็จกลับเข้ามาครองราชสมบัติ…”

พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2109 พระโอรสของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาคือสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก) ส่วนพระราชธิดาของพระองค์คือสมเด็จพระเทวีศรีกษัตริย์ได้ดำรงพระชนม์จนถึงเหตุจลาจลหลังเสียกรุงละแวกในช่วงพ.ศ. 2137 - 2143 และมีบทบาทในการขอตัวสมเด็จพระศรีสุพรรณมาธิราชกลับไประงับเหตุจลาจลใน พ.ศ. 2145

อ้างอิง

  • Chroniques Royales du Cambodge de 1417 à 1595. École française d'Extrême Orient Paris 1988 ISBN 2-85539-537-2.
  • Achille Dauphin-Meunier, Histoire du Cambodge, Que sais-je ? N° 916, P.U.F 1968.
  • Anthony Stokvis, Manuel d'histoire, de généalogie et de chronologie de tous les États du globe, depuis les temps les plus reculés jusqu'à nos jours, préf. H. F. Wijnman, Israël, 1966, Chapitre XIV §.9 « Kambodge » Listes et tableau généalogique n°34 p.337-338.
  • Peter Truhart, Regents of Nations, K.G Saur Münich, 1984-1988, ISBN 3-598-10491-X, Art. « Kampuchea », p. 1731. (ในภาษาอังกฤษและเยอรมัน).
  • Bernard Philippe Groslier avec la collaboration de C.R. Boxer Angkor et le Cambodge au XVI siècle d'après les sources portugaises et espagnoles, Presses universitaires de France, Paris 1958, « Succession d'Ang Chan selon les Chronique traduites par Moura & Garnier » Tableau III p. 26.


Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9