Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ราชวงศ์มหิธรปุระ

ราชวงศ์มหิธรปุระ
เขมร: រាជត្រកូលមហិធរៈបុរៈ
พระราชอิสริยยศพระเจ้ากรุงกัมพูชา
ปกครอง อาณาจักรพระนคร
บรรพบุรุษพระเจ้าหิรัณยวรมัน
พระนางหิรัณยลักษมี
จำนวนพระมหากษัตริย์12 พระองค์
เชื้อพระวงศ์ที่สำคัญพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ประมุขพระองค์แรกพระเจ้าชัยวรรมันที่ 6
ประมุขพระองค์สุดท้ายพระเจ้าชัยวรมันที่ 9
ช่วงระยะเวลาค.ศ. 1080–1336
สถาปนาค.ศ. 1080
ล่มสลายค.ศ. 1336
ราชวงศ์ก่อนหน้าราชวงศ์ไศเลนทร์
ราชวงศ์ถัดไปราชวงศ์ตระซ็อกประแอม
เชื้อชาติขอม

ราชวงศ์มหิธรปุระ (ขอม: រាជត្រកូលមហិធរៈបុរៈ ; เรียจฺตระกูลมอหิดเทียปูเรี๊ยะ อักษรโรมัน: "Mahidharapura Daynasty", House of Mahidharapura, Mahidra pura) นักวิชาการบางส่วนเรียกว่า "ราชสกุลมหิธรปุระ" เพราะเชื่อว่ากษัตริย์ที่ลงท้ายพระนาม "วรมัน" อาจมีต้นวงศ์มาจากที่เดียวกัน ราชวงศ์มหิธรปุระสถาปนาโดย พระเจ้าชัยวรรมันที่ 6[1] เมื่อปี ค.ศ.1080 และเชื่อว่ามีปฐมราชตระกูลคือ พระเจ้าภววรมันที่ 1 แห่งอาณาจักรเจนละ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เป็นขุนนางปกครองเมืองพิมาย (ปัจจุบันคืออำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา) เชื้อสายราชวงศ์เมืองมหิธรปุระ[2] เป็นต้นวงศ์ของกษัตริย์อีกหลายพระองค์มีถิ่นฐานอยู่แถบลุ่มแม่น้ำมูล บริเวณปราสาทพนมวัน, ปราสาทพิมาย, ปราสาทพนมรุ้ง และบริเวณเมืองละโว้ โดยส่วนใหญ่แล้วราชวงศ์มหิธรปุระมีฐานอำนาจตั้งแต่เทือกเขาพนมดงรักขึ้นไปทางเหนือ

ราชวงศ์มหิธรปุระมีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรพระนคร จำนวน 11 พระองค์ กษัตริย์พระองค์แรกคือพระเจ้าชัยวรรมันที่ 6 กษัตริย์องค์สุดท้ายคือพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 นักวิชาการหลายฝ่ายมีข้อสันนิฐานว่า องค์ต้นราชวงศ์จริง ๆ อาจเป็นชาวอินเดียมากกว่าคนท้องถิ่น เนื่องจากกษัตริย์มีพระนามลงท้าย "วรมัน" ซึ่งตรงกับรายพระนามกษัตริย์ในอินเดียหลายพระองค์ และเคยมีชื่อราชวงศ์วรมัน (Varman dynasty) ปกครองในอินเดียช่วงเวลาเดียวกับ สมัยคุปตะและหลังคุปตะ ทั้งในอินเดียเหนือและอินเดียใต้

เชื้อสายราชวงศ์มหิธรปุระที่ปกครองดินแดนที่ราบสูงอีสานนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งศาสนาได้มีระบบชนชั้นวรรณะค่อนข้างชัดเจน คนธรรมดาไม่น่าจะสถาปณาตนเองขึ้นมามีชนชั้นสูงได้ รวมถึงข้อความในจารึกเมืองพระนครมีคำภาษาสันสกฤตผสมอยู่เป็นจำนวนมาก บางจารึกเป็นภาษาสันสกฤตทั้งหน้า ส่วนในจารึกปราสาทสด๊กก๊อกธมได้บันทึกไว้ว่า ดินแดนในแถบที่ราบสูงล้วนเป็นที่อยู่ของบรรดาพราหมณ์และนักบวช และตรงกับค่านิยมการสร้างปราสาทในอีสานใต้ที่ล้วนสร้างถวายองค์เทพฮินดู ชนชั้นปกครองอาจเป็นชาวอินเดียโบราณมากกว่าชาวพื้นเมือง

จารึกพนมรุ้ง 7

บทความบางส่วนในในศิลาจารึกหลักที่ 7 ของปราสาทพนมรุ้ง ได้กล่าวถึงต้นกำเนิดของราชวงศ์มหิธรปุระไว้ว่า

(บทเริ่มต้นสรรเสริญพระอิศวร) มีพระราชานามว่า "หิรัณยวรมัน" พระองค์มีอำนาจในดินแดนแถบนี้ (อีสานใต้) จนทำให้ดินแดนเจริญรุ่งเรือง พระองค์ตั้งถิ่นฐานอย่างมั่นคงที่เมืองกษิตีนทราคราม (สันนิฐานว่าอยู่ด้านล่างบริเวณเชิงเขาพนมรุ้ง) บรรพบุรุษของพระองค์สืบลงมาจากพระอาทิตย์และพระลักษมี บัวของสกุลวงศ์ของพระองค์สถิติอยู่ที่นั่น จากพระนางหิรัณยลักษมี พระราชา (หิรัณยวรมัน) ได้ให้กำเนิดพระเจาศรีชัยวรมเทพ ดังดวงจันทร์อันกระจางอยู่ในท้องฟ้า จากท่านผู้นี้ (พระนางหิรัณยลักษมี) และพระราชา (หิรัณยวรมัน) ผู้ชํานะโลก ได้ก่อกำเนิดพระราชาอันประเสรฐในบรรดาพระราชาทั้งหลาย คือ ศรีธรณินทรวรมัน และศรียุพราช (ชัยวรมันที่ 6) โอรสองค์พี่และองค์น้องของพระเจ้าศรีชัยวรมัน (ตามลำดับ)

พระเจ้ากษิตีนทราทิตย์ นัดดาผู้มหัศจรรย์และน่าเคารพแห่งพระเจาหิรัณยวรมัน ได้ก่อกำเนิดพระราชาผู้ประเสรฐคือ ศรีสูรยวรมัน (สุริยวรมันที่ 2) จากธิดาของธิดาแห่งหิรัณยลักษมี

(ต่อ) ภูปตินทรลักษมี ถือกำเนิดมาในราชสกุลวงศ์ นางได้รับความนับถือจากบุคคลทั้งหลายว่าเป็นอวตาร (ภวานี) เป็นผู้ที่ประกอบด้วยคุณลักษณะแห่งพระบิดา คือ พระเจ้าศรีสูรยวรมัน (สุริยวรมันที่ 2) นางได้ให้กําเนิดแก่ นเรนทราทิตย์ ผู้คลองแคล่วและเปรียบเสมือนดวงจันทร์สําหรับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่... (เล่าประวัติการสู้รบยาวหลายบท) และจบด้วยนามผู้จารึกพนมรุ้ง 7 คือ หิรัณยะ ผู้เป็นบุตรของนเรททราทิตย์แห่งพนมรุ้ง

แผนผังราชวงศ์มหิธรปุระ จากจารึกพนมรุ้ง 7

  • กษัตริย์ปกครองเมืองพระนครกัมพูชา
  • รัชทายาท
  • เจ้าชาย


พระอาทิตย์
(ศรีสุริยะวงศ์)
 
พระนางลักษมี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระเจ้าหิรัณยวรมัน
แห่งกษิตีนทราคราม
 
พระนางหิรัณยลักษมี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(2)
พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1
(1)
พระเจ้าชัยวรมันที่ 6
(สิ้นพระชนม์)
ศรียุวราช (ยุพราช)
เจ้าหญิงขอม (1)
 

เจ้าชายขอม (1)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระเจ้ากษิเตนทราทิตย์
หลานของหิรัณยวรมัน
 
เจ้าหญิงขอม (2)
(นเรนทรลักษมี)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ราชินีขอม
 
(3)
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

เจ้าชายขอม (2)
 
เจ้าหญิงภูปตีนทรลักษมี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นเรนทราทิตย์
ผู้สร้างปราสาทพนมรุ้ง
 
เจ้าหญิงขอม (3)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หิรัณยะ
ผู้สร้างศิลาจารึกพนมรุ้ง 7

รายพระนามกษัตริย์แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ ที่ปกครองอาณาจักรพระนคร

ลำดับ รายพระนามกษัตริย์ ปี หมายเหตุ
B1
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1
พ.ศ. 1549 - 1593
ราชวงศ์ไศเลนทร์ จากนครศรีธรรมราช
เป็นราชวงศ์สั้น ๆ เพียง 3 รัชกาล พ่อ-ลูก
สร้างศิลปะบาปวนและพิมาย (ยุคบาปวนและพิมาย)
B2
พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2
พ.ศ. 1593 - 1609
B3
พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3
พ.ศ. 1609 - 1623
1
พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พ.ศ. 1623 – 1650
ราชวงศ์มหิธรปุระ
พัฒนาศิลปะบาปวน-พิมาย สู่นครวัด
(ยุคนครวัด)
2
พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 พ.ศ. 1650 – 1656
3
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พ.ศ. 1656 – 1688
4
พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 พ.ศ. 1693 – 1703
5
พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 พ.ศ. 1703 – 1710
CH
พระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน พ.ศ. 1710 – 1720
ชาวจีน
CP
พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 4 พ.ศ. 1720 - 1724
กษัตริย์จากอาณาจักรจามปา
6
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พ.ศ. 1724 – 1761
ราชวงศ์มหิธรปุระ
(ยุคบายน)
7
พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พ.ศ. 1762 – 1786
8
พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พ.ศ. 1786 – 1838
9
พระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 พ.ศ. 1838 – 1851
10
พระเจ้าอินทรวรมันที่ 4 พ.ศ. 1851 – 1870
11
พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 พ.ศ. 1870 – 1879
T
พระบาทตระซ็อกประแอม (พระเจ้าแตงหวาน)
หลังปี พ.ศ.1879
ราชวงศ์แตงหวาน (องค์ต้นราชสกุลนโรดมและราชสกุลสีสุวัตถิ์)

นอกจากนี้ยังมีเชื้อพระวงศ์อื่น ๆ ที่ถูกอ้างสิทธิ์ เช่น

  • กษิเตนทราทิตย์ พระราชบิดาของพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2
  • นเรนทราทิตย์ ผู้มีอำนาจอยู่ในเมืองพนมรุ้ง และผู้สร้างปราสาทพนมรุ้ง

อ้างอิง

  1. Coedès, George (1986). Walter F. Vella (ed.). The Indianized states of Southeast Asia. trans. Susan Brown Cowing. University of Hawai`i Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  2. Louis-Frédéric (1977) Encyclopaedia of Asian Civilizations, Louis Publisher: Original from the University of Michigan Volume 3 of Encyclopaedia of Asian Louis-Frédéric
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9