Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

สมัยจตุมุข

อาณาจักรเขมร (จตุมุข)

พ.ศ. 1974–พ.ศ. 2069
สถานะอาณาจักร
เมืองหลวงจตุรมุข
(ปัจจุบันคือ พนมเปญ)
ภาษาทั่วไปเขมรเก่า และสันสกฤต
ศาสนา
พราหมณ์-ฮินดู และพุทธ
การปกครองไม่ทราบ
ประวัติศาสตร์ 
พ.ศ. 1974
• เริ่มสมัยละแวก
พ.ศ. 2069
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิเขมร
อาณาจักรเขมรละแวก

สมัยจตุมุข เป็นประเทศกัมพูชาหลังสมัยอาณาจักรพระนคร มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองจตุมุข ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกรุงพนมเปญ ตั้งแต่ พ.ศ. 1974 – พ.ศ. 2069 ซึ่งตรงกับช่วงประมาณสมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นช่วงเวลาที่เขมรฟื้นฟูจากความเสื่อมโทรมในปลายยุคสมัยพระนครและพร้อมที่จะก้าวไปสู่ความรุ่งเรืองชั่วครู่ในสมัยอาณาจักรเขมรละแวก

สาเหตุการย้ายราชธานีขอม

อาณาจักรพระนครหลังรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เสื่อมถอยลงตามลำดับ ประเทศราชต่างที่เคยตีได้พากันแยกตัวเป็นอิสระ เช่น อาณาจักรจามปา อาณาจักรละโว้ ฯลฯ จนนำไปสู่การตั้งตนเป็นอิสระของชาวไท คือ อาณาจักรสุโขทัยบนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน อีกทั้งยังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม คือ ประชาชนรวมทั้งรัถฐาธิปัตย์เปลี่ยนไปนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท จากเดิมที่เป็นศาสนาฮินดู ทำให้การสร้างศาสนาสถานอันอลังการสิ้นสุดลง เปลี่ยนมาเป็นการหล่อพระพุทธรูปและสร้างวัดวาอารามแทน ถึงกระนั้นพระนครก็ยังทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ ด้วยอำนาจเทวราชาของกษัตริย์ลดน้อยถอยลงและปัญหาทางเศรษฐกิจ

แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้อาณาจักรขอมพระนครถึงจุดจบนั้นคือ การรุกรานของอาณาจักรอยุธยา (ซึ่งเป็นการสืบต่อจากอาณาจักรละโว้) ถึงสามครั้ง ทำให้เมืองพระนครซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรขอมมาหลายร้อยปีต้องพังพินาศประชาชนถูกกวาดต้อน ไม่อยู่ในสภาพที่จะสามารถเป็นศูนย์กลางการปกครองได้อีกต่อไป ในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ได้ส่งทัพบุกมาตีเมืองพระนครอีกครั้งในพ.ศ. 1974 ทำให้พระบรมราชาที่ 2 (เจ้าพระยาญาติ - Chao Ponhea Yat) กษัตริย์เขมรทรงเลือกที่จะหลบหนีย้ายราชธานีไปที่ใหม่ ปล่อยให้ทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าย่ำยีเมืองเก่าเมืองแก่ ราชธานีใหม่นั้นมีชื่อว่า พนมเพ็ญจัตุรมุขจะรามเชียม หรือมีชื่อเต็มว่า จตุรมุข มงคลสกลกัมพูชาธิบดี ศรีโสธรบวรอินทปัตถ์ บุรีรัฏฐราชสีมามหานคร

ช่วงเวลาแห่งการแก่งแย่งราชสมบัติ

ในพ.ศ. 2006 พระบรมราชา (เจ้าพระยาญาติ) ได้ทรงเวนคืนราชสมบัติแก่พระโอรสเจ้าพระยากามะโคตร ขึ้นครองราชย์เป็นพระนารายณ์ราชา ส่วนองค์พระบรมราชาเองทรงดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปยุวราชและสวรรคตในปีเดียวกัน รัชสมัยของพระนารายณ์ราชาพระพุทธศาสนาเถรวาทรุ่งเรื่อง เพราะเป็นพระศาสนูปถัมภก ทรงสร้างวัดต่าง ๆ มากมายในเขมร แต่พระนารายณ์ราชาทรงแต่งตั้งพระอนุชาพระศรีราชาขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ทำให้พระโอรสของพระนารายณ์ราชา คือ พระนารายณ์ราม ไม่พอใจและก่อการกบฏต่อพระราชบิดา[1] ยึดได้หัวเมืองต่าง ๆ ทางใต้ของอาณาจักร พระราชบิดาพระนารายณ์ราชาได้ทรงนำทัพเข้าปราบ พระนารายณ์รามจึงสงบไปช่วงหนึ่ง เมื่อพระนารายณ์ราชาสวรรคต พระศรีราชาก็เถลิงราชสมบัติเป็นกษัตริย์เขมร และตั้งพระอนุชาเจ้าพระยาธรรมราชาเป็นพระมหาอุปราช พระนารายณ์รามเห็นดังนั้นจึงประกอบพีธีราชาภิเษกขึ้นบ้างที่เมืองศรีสุนทร เป็นพระศรีสุริโยไทยราชา พระศรีราชาจึงนำทัพเข้าห้ำหั่นกับพระนัดดา พระยาธรรมราชามหาอุปราช ก็ฉวยโอกาสตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์เช่นกัน พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระธรรมราชาธิราชรามาธิบดี จึงเกิดเป็นสงครามกลางเมืองสามฝ่าย

สมเด็จพระธรรมราชาธิราชฯ มีพระราชมารดาเป็นชาวอยุธยา และรู้จักกับพระยาเดโช ข้าราชการทางฝ่ายกรุงศรีฯ พระยาเดโชได้กราบทูลขอสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้ส่งทัพมาช่วยปราบขบถในอาณาจักรเขมร ทัพกรุงศรีฯ จึงบุกเข้ามาในเขมรในพ.ศ. 2011 ตีทัพของทั้งพระศรีราชาและพระศรีสุริโยไทยแตกพ่าย จับองค์กษัตริย์เขมรทั้งสองกลับไปกรุงศรีอยุธยา เหลือเพียงพระธรรมราชาธิราชฯ เป็นเอกกษัตริย์แห่งกัมพูชาต่อไป

พระธรรมราชาธิราชฯ มีพระโอรสกับพระอัคมเหสี คือ สมเด็จเจ้าพระยางามขัตติยราช และมีพระโอรสกับพระสนมคือ เจ้าพระยาจันทราชา เมื่อพระธรรมราชาธิราชฯ สวรรคตแล้ว สมเด็จเจ้าพระยางามขัตติยราชก็ขึ้นครองราชสมบัติต่อเป็น สมเด็จพระศรีสุคนธบทฯ ทรงย้ายราชธานีไปที่เมืองปาสาณ ครองราชย์ได้ 9 พรรษาก็ทรงถูกพระเจ้าบุตรเขย ขุนหลวงสมุหเสนาบดีชื่อว่า เสด็จกัน (Sdech Kan) จับไปสำเร็จโทษที่แม่น้ำสะตึงแสนในพ.ศ. 2059 พร้อมกับตั้งตนเป็นเจ้า พระนามว่า พระศรีไชยเชษฐาธิราช พระยาจันทราชาเสด็จหนีไปยังกรุงศรีอยุธยา แล้วกราบทูลขอทัพจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เพื่อกลับมาชิงราชบัลลังก์คืนจากเสด็จกันในพ.ศ. 2063 ทรงตั้งค่ายอยู่ที่เมืองอมราวดีจันทบูร (น่าจะเป็นป้อมฝรั่งป้อมหนึ่ง) บรรดามุขมนตรีเชื้อพระวงศ์ต่าง ๆ พากันเรียกร้องให้พระจันทราชาทรงประกอบพิธีราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 จนในพ.ศ. 2069 ได้ยกทัพกรุงศรีฯ ไปรบกับเสด็จกัน เสด็จกันสิ้นพระชนม์ในที่รบ

เมื่อปราบเสด็จกันได้แล้ว สมเด็จพระบรมราชาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้หล่อพระพุทธรูปอัฐรัศประดิษฐานไว้ที่เมืองอมราวดีจันทบูร โดยทรงตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองบันทายมีชัย แล้วก็ทรงสร้างราชธานีใหม่ คือ เมืองละแวก

รายพระนามกษัตริย์เขมรจตุมุข


รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา
พระมหากษัตริย์ ครองราชย์
รัชกาล พระรูป พระนาม ระหว่าง หมายเหตุ
สมัยจตุมุข
(พ.ศ. 1974 – 2083)
พ.ศ. 1974 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 กรุงศรีอยุธยา เสด็จยกทัพมาตีนครธม ได้สำเร็จ และทรงแต่งตั้งพระอินทราชา พระราชโอรสครองเมืองนครธมต่อไป ในฐานะประเทศราช ต่อมาอาณาจักรอยุธยาได้แต่งตั้งให้เจ้าพระยาแพรก พระราชโอรสอีกพระองค์ในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 มาครองนครธม จนกระทั่งถูกเจ้าพระยาญาติ เชื้อพระราชวงศ์วรมันกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ พระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบรมราชารามาธิบดีที่ 1 ส่วนเจ้าพระยาแพรกถูกปลงพระชนม์
สถาปนา จตุมุข เป็นเมืองหลวง
69 พระบรมราชารามาธิบดีที่ 1
(พระบรมราชาเจ้าพญาญาติ)
พ.ศ. 1916 – 1976
(60 ปี)
ย้ายราชธานีมายังกรุงจตุมุข เข้าสู่ยุคอาณาจักรเขมรจตุมุข
ย้ายเมืองหลวงกลับมาที่ พระนคร
70 พระนารายณ์รามาธิบดี
(พระนารายณ์ราชาที่ 1 , พญาคำขัด)
พ.ศ. 1976 – 1980
(4 ปี)
ย้ายราชธานีกลับมาเมืองพระนคร
71 พระศรีราชา พ.ศ. 1980 - 1981
(1 ปี)
ถูกพระศรีสุริโยไทยราชา พระอนุชาชิงราชสมบัติ
72 พระศรีสุริโยไทยราชา
(เจ้าพญาเดียรราชา)
พ.ศ. 1981 – 2019
(38 ปี)
เป็นพระราชโอรสเจ้าพญาญาติ กับพระอิทรมิตรา (พระราชธิดาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 แห่งอาณาจักรอยุธยา) ถูกพระพระธรรมราชาชิงราชสมบัติ
ย้ายเมืองหลวงกลับมาที่ จตุมุข
73 พระธรรมราชาธิราชรามาธิบดี
(พระศรีธรรมราชาที่ 1)
พ.ศ. 2011 – 2047
(36 ปี)
เป็นพระราชโอรสพระศรีสุริโยไทยราชา กับธิดาขุนทรงพระอินทร์ (ขุนนางอยุธยาที่ถูกส่งมาเป็นเจ้าเมืองโพธิสัตว์) ถูกพระอนุชาก่อกบฏ แต่สามารถขอกำลังอยุธยาปราบกบฏได้ทัน และย้ายราชธานีกลับมาเมืองจตุรมุขอีกครั้ง
สถาปนา บาสาณ เป็นเมืองหลวง
74 พระศรีสุคนธบท
(พญางามขัต , เจ้าพระยาฎำขัตราชา)
พ.ศ. 2047 – 2055
(8 ปี)
สถาปนาบาสาณเป็นราชธานี
75 พระเจ้าไชยเชษฐาฐิราช
(เจ้ากน, ขุนหลวงพระเสด็จ)
พ.ศ. 2055 – 2068
(13 ปี)
ชิงราชสมบัติพระศรีสุคนธบท
อาณาจักรเขมรจตุมุข เปลี่ยนมาเป็นอาณาจักรเขมรละแวก และได้ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา

อ้างอิง

ก่อนหน้า สมัยจตุมุข ถัดไป
พระนครหลวง ราชธานีกัมพูชา
(พ.ศ. 1927 - พ.ศ. 2069)
ละแวก
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9