Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

โรนัลด์ รอสส์

เซอร์โรนัลด์ รอสส์
เกิด13 พฤษภาคม ค.ศ. 1857(1857-05-13)
อัลมอรา, อินเดีย
เสียชีวิต16 กันยายน ค.ศ. 1932(1932-09-16) (75 ปี)
ลอนดอน, อังกฤษ
สัญชาติสหราชอาณาจักร
ศิษย์เก่าSt. Fratbore Hospital
มีชื่อเสียงจากการค้นพบปรสิตโรคมาลาเรีย
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (ค.ศ. 1902)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาแพทยศาสตร์

เซอร์โรนัลด์ รอสส์ KCB (Sir Ronald Ross; 13 พฤษภาคม ค.ศ. 185716 กันยายน ค.ศ. 1932) เป็นแพทย์ชาวอังกฤษ-อินเดีย ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์เมื่อปี ค.ศ. 1902 เนื่องจากการค้นพบวงจรชีวิตของปรสิตโรคมาลาเรีย พลาสโมเดียม (Plasmodium)

ประวัติ

วัยเด็ก

โรนัลด์ รอสส์ เกิดที่อัลมอรา อินเดีย เขาเป็นบุตรชายคนโตของพลเอก เซอร์แคมป์เบลล์ เคลย์ แกรนท์ รอสส์ (General Sir Campbell Claye Grant Ross) แห่งกองทัพบริติชอินเดีย และมาธิลดา ชาร์ล็อตต์ เอลเดอร์ตัน (Matilda Charlotte Elderton) ปู่ของรอสส์คือพันโทฮิวจ์ รอสส์ (Lieutenant Colonel Hugh Ross)

เมื่อรอสส์อายุได้ 8 ปี เขาถูกส่งไปศึกษาที่อังกฤษ หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นต้นจากโรงเรียนเล็กๆ 2 แห่งในเมืองไรด์ เขาถูกส่งไปยังโรงเรียนประจำที่สปริงฮิลล์ ใกล้กับเมืองเซาท์แธมป์ตันในปี ค.ศ. 1869

รอสส์สำเร็จการศึกษาด้านแพทยศาสตร์จากโรงพยาบาลเซนต์บาร์โธโลมิวในลอนดอนเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1875 เขาผ่านการสอบไล่ใน ค.ศ. 1880 และได้เป็นสมาชิกราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ (MRCS) และ Worshipful Society of Apothecaries (LSA) เขาได้เข้าร่วมหน่วย Indian Medical Service ซึ่งเป็นหน่วยในหน่วยแพทย์ทหารของบริติชอินเดียใน ค.ศ. 1881 โดยรับตำแหน่งแรกที่มัทราส

การค้นพบ

รอสส์ศึกษาเกี่ยวกับมาลาเรียระหว่าง ค.ศ. 1881 และ 1899 เขาทำงานด้านมาลาเรียในกัลกัตตาที่โรงพยาบาล Presidency General Hospital ที่ซึ่งเขามีผู้ช่วยเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอินเดียชื่อ Kishori Mohan Bandyopadhyay ในปี ค.ศ. 1883 รอสส์รับตำแหน่งเป็นศัลยแพทย์กองทหารรักษาการณ์ (Acting Garrison Surgeon) ที่เบงคลูรูที่ซึ่งเขาค้นพบการควบคุมยุงโดยการป้องกันไม่ให้ยุงเข้าถึงแหล่งน้ำ

ใน ค.ศ. 1897 รอสส์ได้รับตำแหน่งที่ Ootacamund และป่วยด้วยโรคมาลาเรีย หลังจากนั้นเขาถูกย้ายไปโรงพยาบาลทหารที่ Secunderabad เขาได้ค้นพบเชื้อมาลาเรียภายในยุงก้นปล่อง เขาเรียกชื่อเชื้อในตอนแรกว่า ปีกเป็นจุดด่าง (dapple-wings) และจากสมมติฐานของเซอร์แพทริก แมนสัน (Sir Patrick Manson) ที่ว่าสารก่อโรคมาลาเรียนั่นมีในยุงซึ่งเป็นพาหะ เขาจึงสามารถพบเชื้อมาลาเรียได้จากยุงที่กัดผู้ป่วยมาลาเรียชื่อว่า ฮุสเซน ข่าน (Hussain Khan) หลังจากนั้นเขาได้ศึกษานกที่ป่วยด้วยมาลาเรีย และสามารถสรุปวงชีวิตของเชื้อพลาสโมเดียม ปรสิตโรคมาลาเรียได้อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งค้นพบเชื้อในต่อมน้ำลายยุง เขาได้แสดงให้เห็นว่าโรคมาลาเรียสามารถติดต่อจากนกที่ป่วยไปยังนกปกติอีกตัวโดยยุงเป็นพาหะ การค้นพบนี้ทำให้สามารถสรุปกลไกการเกิดโรคในมนุษย์ได้

ในปี ค.ศ. 1902 รอสส์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์สำหรับการศึกษาด้านมาลาเรีย ส่วนผู้ช่วยชาวอินเดียของเขา Kishori Mohan Bandyopadhyay ได้รับเหรียญทองจากกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร

ในปี ค.ศ. 1899 รอสส์ได้กลับไปยังอังกฤษและทำงานที่โรงเรียนเวชศาสตร์เขตร้อนแห่งลิเวอร์พูล (Liverpool School of Tropical Medicine) ในตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเวชศาสตร์เขตร้อน ค.ศ. 1901 รอสส์ได้รับเลือกเป็นสมาชิกราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งอังกฤษ และยังเป็นสมาชิกราชสมาคมซึ่งเขาดำรงตำแหน่งรองประธานตั้งแต่ ค.ศ. 1911 ถึง 1913 รอสส์ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Most Honourable Order of Bath จากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ในปี ค.ศ. 1902 และได้รับบรรดาศักดิ์เป็น Knight Commander of Order of Bath ในปี ค.ศ. 1911

รอสส์ได้อุทิศตนทำงานเพื่อป้องกันโรคมาลาเรียในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแอฟริกาตะวันตก, บริเวณคลองสุเอซ, กรีซ, มอริเชียส, ไซปรัส และบริเวณรับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาได้ตั้งองค์กรเพื่อป้องกันโรคมาลาเรียภายในโรงงานอุตสาหกรรมในอินเดียและศรีลังกา เขาได้อุทิศตนเพื่อศึกษาระบาดวิทยาของมาลาเรียและวิธีการสำรวจและประเมิน แต่ผลงานสำคัญของเขาคือการพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ศึกษาระบาดวิทยา โดยรายงานครั้งแรกที่มอริเชียสในปี ค.ศ. 1908 ซึ่งตัวแบบนี้ช่วยป้องกันโรคมาลาเรียที่มอริเชียสในปี ค.ศ. 1911 และต่อมาได้นำไปใช้ทั่วไปในรายงานซึ่งตีพิมพ์โดยราชสมาคมในปี ค.ศ. 1915 และ 1916

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9