Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล

ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล
ภาพถ่ายของซานเตียโก รามอน อี กาฆัล
เกิด1 พฤษภาคม ค.ศ. 1852
เปติยาเดอารากอน แคว้นนาวาร์ ประเทศสเปน
เสียชีวิต17 ตุลาคม ค.ศ. 1934 (76 ปี)
มาดริด ประเทศสเปน
สัญชาติสเปน
การศึกษามหาวิทยาลัยซาราโกซา มหาวิทยาลัยกอมปลูเตนเซแห่งมาดริด
อาชีพแพทย์

ซานเตียโก เฟลิเป รามอน อี กาฆัล (สเปน: Santiago Felipe Ramón y Cajal) ForMemRS[1][2] (ออกเสียง: [sanˈtjaɣo raˈmon i kaˈxal]; 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1852 – 18 ตุลาคม ค.ศ. 1934)[3] เป็นแพทย์ อาจารย์ พยาธิแพทย์ นักมิญชวิทยา และนักประสาทวิทยาศาสตร์ชาวสเปน ได้รับรางวัลรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ. 1906[4] จากการศึกษาระบบประสาทด้วยการย้อมสี เป็นบุตรของฆุสโต รามอน กาซาซุส กับอันโตเนีย กาฆัล

การสำรวจรุ่นบุกเบิกของเขาเกี่ยวกับโครงสร้างจุลทรรศน์ของสมอง เป็นงานต้นฉบับในประสาทวิทยาศาสตร์ จึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นบิดาของประสาทวิทยาศาสตร์ เขามีความชำนาญในการวาดรูปและภาพวาดเซลล์สมองเป็นร้อย ๆ ของเขาก็ยังถูกใช้ในการศึกษาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้[5]

ประวัติ

ซานเตียโกมีชีวิตวัยเด็กที่ต้องย้ายที่อยู่บ่อยเนื่องจากต้องติดตามบิดาที่เป็นศัลยแพทย์ เริ่มเข้าเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนของคณะเยซูอิตที่ฆากา และเรียนมัธยมศึกษาที่อูเอสกา เขาจบมัธยมศึกษาในปีเดียวกับที่ประเทศสเปนประกาศเป็นสาธารณรัฐครั้งที่หนึ่ง เข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยซาราโกซา ในเมืองหลักของแคว้นอารากอน ซึ่งครอบครัวทั้งหมดของเขาก็ย้ายไปอยู่ที่นั่นด้วยในปี ค.ศ. 1870 จบการศึกษาอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1873 ปี ค.ศ. 1874 สมัครไปเป็นแพทย์ทหารที่คิวบา และเขาติดโรคมาลาเรียและโรคบิดที่นั่น เขาถูกส่งตัวถึงสเปนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1875

ก่อนจะถึง ค.ศ. 1876 เขาซื้อกล้องจุลทรรศน์ตัวแรก ค.ศ. 1876 ได้เป็นแพทย์ฝึกหัดที่โรงพยาบาลแม่พระแห่งพระหรรษทานที่เมืองซาราโกซา ค.ศ. 1878 เขาป่วยเป็นวัณโรค ค.ศ. 1879 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์แห่งซาราโกซา 19 กรกฎาคม ปีเดียวกัน เขาแต่งงานกับซิลเบเรีย ฟัญญานัส การ์ซิอา มีบุตรธิดา 7 คน ค.ศ. 1883 เป็นอาจารย์สาขาการอธิบายกายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบาเลนเซีย ซึ่งเขามีโอกาสศึกษาอหิวาตกโรคที่นี่ ค.ศ. 1887 ย้ายไปสอนสาขามิญชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบาร์เซโลนา

ค.ศ. 1892 ย้ายไปทำงานในสาขาวิชามิชญวิทยา มิชญวิทยาเคมีพื้นฐานและพยาธิกายวิภาคศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยกอมปลูเตนเซแห่งมาดริด ค.ศ. 1902 สามารถทำให้รัฐบาลสร้างห้องปฏิบัติการทางชีววิทยาใหม่ ซึ่งเขาทำงานที่นั่นถึง ค.ศ. 1922 หลังจากนั้นเขาย้ายไปทำวิจัยที่สถาบันรามอน อี กาฆัล[6] จนเสียชีวิต

ในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1934 เขาเสียชีวิตในบ้านที่มาดริด ประเทศสเปน

ผลงานทางวิทยาศาสตร์

รามอน อี กาฆัล ในห้องทดลองของเขา

ค.ศ. 1888 ตอนที่เขาอยู่ที่บาร์เซโลนา ได้ใช้เทคนิกการย้อมสีตามแบบของกามิลโล กอลจี นักวิทยาศาสตร์อิตาลี และค้นพบการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทในสารสีเทา ระบบประสาทของสมองและกระดูกสันหลัง ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกนำเสนอที่ สถาบันกายวิภาคศาสตร์เยอรมันใน ค.ศ. 1889 ซึ่งให้คำอธิบายเกี่ยวกับกระแสประสาท ในปี ค.ศ. 1906 เขาและกอลจีด้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือแพทยศาสตร์ จากการศึกษาระบบประสาท

สิ่งตีพิมพ์

รามอน อี กาฆัลพิมพ์เผยแพร่งานและบทความทางวิทยาศาสตร์ มากกว่า 100 ผลงานในภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน และภาษาเยอรมัน ที่โด่งดังมากที่สุดก็คือ "กฎเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับการสืบสวนทางวิทยาศาสตร์", "มิญชวิทยา (วิทยาเนื้อเยื่อ)", "ความเสื่อมและการเจริญทดแทนของระบบประสาท", "คู่มือเทคนิคมาตรฐานในวิทยาเนื้อเยื่อและไมโครกราฟ", "องค์ประกอบต่าง ๆ ของวิทยาเนื้อเยื่อ", "คู่มือพยาธิวิทยาทั่วไป", "ข้อคิดใหม่ ๆ ในกายวิภาคแบบละเอียดของศูนย์ประสาท", "ตำราระบบประสาทของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง", "เรตินาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง"[3]

ในปี ค.ศ. 1905 เขาตีพิมพ์หนังสือนวนิยายวิทยาศาสตร์ "เรื่องต่าง ๆ ในเวลาหยุดงาน" ภายใต้นามปากกา "ดร. แบคทีเรีย"

งานตีพิมพ์ของเขารวมทั้ง

ภาพวาดโดย รามอน อี กาฆัล

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. ForMemRS เป็นชื่อเรียกที่อนุญาตให้ใช้ ตามหลังชื่อของผู้ที่เป็นสมาชิกต่างชาติของราชสมาคมแห่งลอนดอน
  2. doi:10.1098/rsbm.1935.0007
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  3. 3.0 3.1 Nobel lectures, Physiology or Medicine 1901-1921. Amsterdam: Elsevier Publishing Company. 1967. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2013-01-29.
  4. The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1906|"http://nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/laureates/1906/index.html"
  5. "History of Neuroscience". Society for Neuroscience. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-15. สืบค้นเมื่อ 2008-10-09.
  6. http://www.cajal.csic.es/ingles/historia.html เก็บถาวร 2017-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Institue of Cajal's history

ดูเพิ่ม

หนังสืออ้างอิงอื่น

แหล่งอ้างอิงอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9