Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ชาลส์ สก็อต เชอร์ริงตัน

ชาลส์ สก็อต เชอร์ริงตัน

เกิด27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1857(1857-11-27)
อิสลิงตัน มิดเดิลเซ็กส์ อังกฤษ สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต4 มีนาคม ค.ศ. 1952(1952-03-04) (94 ปี)
อีสต์บอร์น ซัสเซกซ์ อังกฤษ สหราชอาณาจักร
พลเมืองบริติช
ศิษย์เก่า
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงาน
อาจารย์ที่ปรึกษา
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก

เซอร์ ชาลส์ สก็อต เชอร์ริงตัน (อังกฤษ: Charles Scott Sherrington, 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1857 – 4 มีนาคม ค.ศ. 1952) เป็นนักสรีรวิทยา นักประสาทวิทยา และพยาธิแพทย์ชาวอังกฤษ เป็นผู้พิสูจน์ว่ารีเฟล็กซ์เป็นกระบวนการที่เกิดร่วมกันของเซลล์ประสาทหลายเซลล์ และอธิบายการจัดระเบียบการส่งกระแสประสาท เพื่อให้เกิดการหดเกร็ง-คลายกล้ามเนื้อที่เป็นคู่ปฏิปักษ์ (Reciprocal innervation) จากผลงานนี้ ทำให้เชอร์ริงตันได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ร่วมกับเอดการ์ แอเดรียนในปี ค.ศ. 1932

ชีวประวัติอย่างเป็นทางการระบุว่าชาลส์ สก็อต เชอร์ริงตันเกิดที่เมืองอิสลิงตันในปี ค.ศ. 1857 เป็นบุตรของเจมส์ นอร์ตัน เชอร์ริงตันกับแอนน์ เธอร์เทล[3] บิดาของเขาเสียชีวิตก่อนเขาจะเกิด ทำให้เชอร์ริงตันเติบโตมากับเคเล็บ โรส ผู้ผลักดันให้เขาเรียนด้านการแพทย์ เชอร์ริงตันเรียนที่โรงเรียนอิปสวิชและราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งอังกฤษ ก่อนจะเรียนต่อที่วิทยาลัยฟิตซ์วิลเลียมของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จากนั้นเขามีโอกาสทำงานในหลายเมืองของยุโรป เช่น สทราซบูร์ โตเลโด และเบอร์ลิน ระหว่างค.ศ. 1891–1895 เชอร์ริงตันทำงานที่สถาบันบราวน์เพื่อการวิจัยสรีรวิทยาและพยาธิวิทยาขั้นสูงของมหาวิทยาลัยลอนดอน[4] และมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล[5] ก่อนจะดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เวย์นฟลีตด้านสรีรวิทยาของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เขาดำรงตำแหน่งนี้จนเกษียณในปี ค.ศ. 1936[1] ด้านชีวิตส่วนตัว เชอร์ริงตันแต่งงานกับเอเทล แมรี ไรต์ในปี ค.ศ. 1891 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 1 คน เชอร์ริงตันเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลันที่เมืองอีสต์บอร์นในปี ค.ศ. 1952[6]

เชอร์ริงตันมีผลงานที่สำคัญคือการค้นพบว่ารีเฟล็กซ์เกิดจากการทำงานแบบเชื่อมโยงกันของหลายเซลล์ประสาท โดยอิงจากหลัก reciprocal innervation หรือการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหนึ่ง จะส่งผลให้กล้ามเนื้อที่เป็นคู่ตรงข้ามคลายตัวเพื่อให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลบล้างความเชื่อเดิมที่ว่ารีเฟล็กซ์เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเดี่ยว ๆ ในวงรีเฟล็กซ์[7][8] นอกจากนี้เชอร์ริงตันยังเป็นผู้ริเริ่มใช้ศัพท์จุดประสานประสาท (synapse) เพื่ออธิบายโครงสร้างที่ใช้ส่งผ่านสารสื่อประสาทและกระแสไฟฟ้าระหว่างเซลล์ประสาท[9][10]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Liddell, E. G. T. (1952). "Charles Scott Sherrington. 1857-1952". Obituary Notices of Fellows of the Royal Society. 8 (21): 241–270. doi:10.1098/rsbm.1952.0016. JSTOR 768811.
  2. Neurotree profile: Charles Scott Sherrington
  3. "Sir Charles Sherrington - Biographical". Nobel Prize official Website. 1932. สืบค้นเมื่อ Nov 26, 2016.
  4. Karl Grandin, ed. (1932). "Sir Charles Sherrington Biography". Les Prix Nobel. The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-07-23. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. Eccles, J.; Gibson, W. (1979). Sherrington: His Life and Thought. Berlin; New York: Springer International. pp. 1–6, 15, 24–25. ISBN 978-0-387-09063-4.
  6. "Sir Charles Sherrington - Biographical". NobelPrize.org. สืบค้นเมื่อ March 26, 2020.
  7. Sherrington, Charles Scott (July 8, 1909). "Reciprocal innervation of antagonistic muscles. Fourteenth note. - On double reciprocal innervation". The Royal Society. สืบค้นเมื่อ March 26, 2020.
  8. "Sir Charles Scott Sherrington - British physiologist". Britannica. สืบค้นเมื่อ March 26, 2020.
  9. Foster, M.; Sherrington, C.S. (1897). Textbook of Physiology, volume 3 (7th ed.). London: Macmillan. p. 929.
  10. "Sir Charles Scott Sherrington (1857–1952)". American Journal of Physiology. สืบค้นเมื่อ March 26, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9