Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

อริยสัจ 4

อริยสัจ หรือ จตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ และ เพื่อนิพพาน เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ

  1. ทุกข์ (Dukkha) คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5 ⠀ ⠀⠀ ⠀ ⠀
  2. สมุทัย (Samudaya) คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์อย่างแท้จริง คือ ความทะยานอยาก ทำให้มีภพอีก เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ ⠀ ⠀⠀ ⠀ ⠀
  3. นิโรธ (Nirodha) คือ ความดับทุกข์ (ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์) (ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด) จาโค ความสละตัณหานั้น, ปะฏินิสสัคโค ความวางตัณหานั้น, มุตติ การปล่อยตัณหานั้น, อะนาละโย ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น [1]⠀ ⠀
  4. มรรค (Magga) คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่นิโรธหรือนำไปถึงความดับทุกข์ ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหา มีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ
    1. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
    2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
    3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
    4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ
    5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
    6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ
    7. สัมมาสติ ระลึกชอบ
    8. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
    ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง ⠀

กิจในอริยสัจ 4

กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่

  1. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  4. ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมาย

กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ

กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้

  1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    1. ทุกข์ นี่คือทุกข์
    2. สมุทัย นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    3. นิโรธ นี่คือความดับทุกข์
    4. มรรค นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    1. ทุกข์ ทุกข์ควรรู้
    2. สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    3. นิโรธ ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    4. มรรค ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    1. ทุกข์ ได้กำหนดรู้แล้ว
    2. สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    3. นิโรธ ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    4. มรรค ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว ⠀⠀ ⠀

อาการ 12 อย่าง

  • สัจญาณ ทุกข์ นี่คือทุกข์
  • กิจญาณ ทุกข์ ควรกำหนดรู้
  • กตญาณ ทุกข์ ได้กำหนดรู้แล้ว ⠀
  • สัจญาณ สมุทัย นี่คือเหตุแห่งทุกข์
  • กิจญาณ สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ควรละเสีย
  • กตญาณ สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
  • สัจญาณ นิโรธ นี่คือความดับทุกข์
  • กิจญาณ นิโรธ ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
  • กตญาณ นิโรธ ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
  • สัจญาณ มรรค นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  • กิจญาณ มรรค ทางแห่งความดับทุกข์ต้องเจริญให้มาก
  • กตญาณ มรรค ทางแห่งความดับทุกข์ได้บริบูรณ์เต็มรอบแล้ว (กิจอื่นที่ต้องทำมิได้มีอีก)

อ้างอิง

  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. หน้า 65-66.
  • พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พุทธธรรม" มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546
  1. "บทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร พร้อมคำแปล". www.vstarproject.com (ภาษาอังกฤษ).
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9