ศาสนาพุทธในประเทศมาเลเซีย
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับสองในประเทศมาเลเซีย เป็นรองเพียงอิสลาม โดยมีประชากรที่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 19.8[1][2] ถึงแม้ว่าบางข้อมูลระบุจำนวนที่ร้อยละ 21.6 ซึ่งรวมจำนวนชาวพุทธที่นับถือศาสนาชาวบ้านจีนด้วย[3]
ประวัติศาสนาพุทธเริ่มแผ่ไปยังชาวมลายูและประชากรในคาบสมุทรมลายูเร็วสุดที่ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ข้อมูลภาษาจีนระบุว่ามีรัฐที่แผลงเป็นอินเดีย 30 แห่งที่เจริญรุ่งเรืองและล่มสลายในคาบสมุทรนี้ ศาสนาพุทธเริ่มปรากฏขึ้นเมื่อพ่อค้าและนักบวชจากอินเดียเดินทางมาทางทะเลและนำแนวคิดศาสนา รัฐบาล และศิลปะอินเดียมาด้วย จากนั้นเป็นเวลาหลายศตวรรษที่ประชากรในภูมิภาคนี้ (โดยเฉพาะราชสำนัก) ผสมแนวคิดพื้นเมืองและอินเดียอย่างศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธนิกายมหายานเข้าด้วยกัน ซึ่งกำหนดรูปแบบทางการเมืองและวัฒนธรรมของภูมิภาคนี้[4] อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรเกอดะฮ์ประณามศาสนาอินเดียหลังกษัตริย์แห่งโจฬะจากทมิฬนาฑูโจมตีพื้นที่นี้ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 พระองค์มหาวงศ์ กษัตริย์แห่งเกอดะฮ์ เป็นผู้นำมลายูองค์แรกที่ประณามศาสนาอินเดีย พระองค์หันไปนับถือศาสนาอิสลาม และในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในช่วงยุคทองของรัฐสุลต่านมะละกา ชาวมลายูส่วนใหญ่หันไปนับถือศาสนาอิสลาม พ.ศ. 1837 ภายใต้การปกครองของอาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งแผ่อำนาจลงทางคาบสมุทรมลายู และได้นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางอำนาจหัวเมืองมลายูทั้งหลาย แต่เนื่องจากประชาชนในแถบนี้ นับถือพุทธศาสนาแบบมหายานมาหลายร้อยปีแล้ว พุทธศาสนาแบบเถรวาทจึงไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตความเชื่อของคนบริเวณนี้มากนัก ซึ่งจะปรากฏแต่รูปพระโพธิสัตว์ หรือรูปเคารพตามแบบมหายานโดยมาก ชาวจีน และชาวไทยพุทธแต่เนื่องจากมีชาวไทยที่อาศัยอยู่ในสามรัฐทางภาคเหนือของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเกอดะฮ์ รัฐกลันตัน และรัฐปะลิส เป็นเวลายาวนาน จนได้รับรองสถานะเทียบเท่าชาวมลายู แต่ชนชาวไทย จะแสดงถึงความเป็นไทย คือ ความเป็นพุทธเถรวาท ซึ่งมีพิธีกรรม และสถาปัตยกรรมทางศาสนาเหมือนกันกับชาวพุทธในประเทศไทย โดยมีชาวจีนให้ความอุปถัมภ์วัดทางการเงิน และช่วยเหลืองานต่าง ๆ ช่วงเทศกาลงานบุญ แต่ชาวไทยพุทธมีบทบาทในการดูแลศาสนามากกว่า เช่น การบวชของชาวไทยจะยาวนานกว่าชาวจีน จนสามารถแยกได้ว่า กลุ่มใดเป็นกลุ่มชาวไทย และชาวจีนในมาเลเซีย ส่วนวัดวาอารามของชาวสยามจะอยู่แถบชนบท มีสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทย พิธีกรรมเป็นแบบชาวไทย คือเน้นการทำบุญเป็นหลัก ซึ่งผู้ที่จะบริจาคให้วัดจะเป็นชาวจีนโดยมาก ดังนั้นวัดไทยหลาย ๆ วัดที่มีชาวจีนอุปถัมภ์จะมีรูปเคารพเจ้าแม่กวนอิม หรือเทพเจ้าจีน ไว้เพื่อยึดเหนี่ยวศรัทธาของชาวจีน ในแต่ละชุมชน จะมีสำนักสงฆ์ไว้ เพื่อให้เป็นที่พำนักของพระสงฆ์ ที่หมุนเวียนกันมาจำพรรษาโปรดญาติโยม แต่ที่วัดใหญ่จะมีพระสงฆ์ไม่ต่ำกว่า 5 รูป โดยพระสงฆ์ที่บวชนาน ๆ และพระสงฆ์ที่บวชระยะสั้น ๆ อยู่จำพรรษาในวัดนั้น ๆ ชาวจีนส่วนมาก จะให้ความนับถือพระที่เก่งทางไสยศาสตร์ และสมุนไพร บางครั้งก็นิมนต์ไปประกอบพิธีทางศาสนาที่บ้านของตนที่จำเป็นต้องใช้งาย สถานะรายงานจากรัฐธรรมนูญมาเลเซีย มีกำหนดไว้ตามกฎหมายว่าชาวมลายู ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นมุสลิม โดยมีจำนวนร้อยละ 60 ของประเทศ นอกนั้นส่วนใหญ่เป็นชาวจีนที่ทั่วไปนับถือศาสนาพุทธหรือคริสต์ และชาวอินเดียที่ทั่วไปนับถือศาสนาฮินดู นอกจากนี้ยังมีชนกลุ่มน้อยและผู้อพยพ ได้แก่ชาวมาเลเซียเชื้อสายสิงหล, ไทย และยูเรเชีย ชาวพุทธเกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง ใน ค.ศ. 2013 มีวิดีโอกลุ่มผู้นับถือศานาพุทธนิกายวัชรยานจากสิงคโปร์ทำพิธีทางศาสนาในสุเหร่ากลายเป็นไวรัลในเฟซบุ๊ก ตำรวจมาเลเซียได้จับกุมเจ้าของรีสอร์ทหลังจากอนุญาตให้ชาวพุทธ 13 คนใช้ห้องละหมาดมุสลิม (สุเหร่า) ไว้ทำสมาธิที่โกตาติงกี รัฐยะโฮร์[5] เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นร้อนในสื่อสังคม จากนั้นในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2013 หลังพลเมืองโกตาติงกีออกมาประท้วงจำนวนมาก ผู้จัดการรีสอร์ทจึงให้รื้ออาคารละหมาดดังกล่าวภายใน 21 วันนับตั้งแต่วันได้รับใบสั่ง[6][7] เช็ด อะฮ์มัด ซาลิม เจ้าของรีสอร์ทในขณะนั้นกล่าวว่าเขาอนุญาตให้ชาวพุทธใช้สุเหร่าไว้ทำสมาธิเนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นความผิด[8] การกดขี่กฎหมายอิสลามและมลายูสุดโต่งศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศมาเลเซีย รัฐธรรมนูญมาเลเซียระบุว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาของชาวมลายูแท้เท่านั้น และกลุ่มชนที่ได้รับการยอมรับ (เช่น ภูมิบุตร) ต้องเป็นมุสลิม[9] รัฐบาลสนับสนุนให้ผู้คนในประเทศหันมานับถือศาสนาอิสลาม[10] กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมที่จะแต่งงานกับชาวมุสลิมต้องเข้ารับศาสนาอิสลามก่อน ถ้ามีการละเมิดกฎหมาย การแต่งงานนั้นจะถือเป็นโมฆะโดยพฤตินัย[10] ถ้าพ่อแม่นับถือศาสนาอิสลาม ลูก ๆ ของทั้งสองก็จะกลายเป็นมุสลิมโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากทั้งสอง[11][12] การทำลายศาสนสถานรัฐบาลได้สั่งทำลายวัดบางแห่งโดยอ้างว่าสร้างบนที่ดินสาธารณะ จากนั้นจึงขายที่ดินนี้ให้กับผู้พัฒนาเพื่อก่อให้เกิดการแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น ใน ค.ศ. 2014 นักพัฒนาเมืองทำลายซากเจดีย์บางส่วนในหุบเขาบูจัง ก่อให้เกิดเสียงเรียกร้องต่อต้านการโจมตีมรดกทางวัฒนธรรมจากนานาชาติ[13] ดูเพิ่มอ้างอิง
บรรณานุกรม
|