Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

มัชฌิมาปฏิปทา

มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง ในศาสนาพุทธ หมายถึง การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย พระพุทธเจ้าทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้ชัดเจน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียก "ไตรสิกขา" ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

มัชฌิมาปฏิปทาหมายถึงการปฏิบัติสายกลาง ซึ่งเป็นหลักจริยธรรมย่อมต้องคู่กับหลักสัจจธรรมอันเป็นสายกลางเช่นกัน โดยที่หลักสัจจธรรมอันเป็นสายกลางนี้เรียกว่ามัชเฌนธรรม หรือหลักทฤษฎีที่ว่าด้วยความสมดุล

มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยึดถือหลักการอย่างงมงาย

มัชฌิมาปฏิปทาในทางจิตวิญญาณหมายถึงสติ สติเป็นความสมดุลทางจิตอย่างหนึ่ง คือสมดุลระหว่างศรัทธาและปัญญา สติจะอยู่ตรงกลางระหว่างอารมณ์และเหตุผล ถ้าความคิดเปรียบเป็นน้ำไหล สมาธิเปรียบเป็นน้ำนิ่ง สติจะเป็นน้ำไหลนิ่ง สติเป็นทางสายกลางทางจิตวิญญาณ

มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง หมายถึง ความสมดุล ความเหมาะสม ความเสมอ ความพอดี ซึ่งเป็นความประสานสอดคล้องกันระหว่างข้อปฏิบัติปลีกย่อยต่าง ๆ ที่มาประชุมกันร่วมกันทำงาน ข้อปฏิบัติต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาจะต้องมีสมตาคือความสมดุล ซึ่งเป็นความพอดีชนิดหนึ่ง เป็นชื่อเรียกสติอีกอย่างหนึ่ง เช่นความสมดุลระหว่างวิริยะกับสมาธิ และความพอดีระหว่างศรัทธากับปัญญา โดยมีสติเป็นเครื่องควบคุม

มัชฌิมาปฏิปทา ใช้ในความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า มัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณ หรือรู้จักพอดีในการปฏิบัติต่าง ๆ โดยทั่วไป หรือรู้จักพอดีที่เป็นหลักกลาง ๆ เช่น จะรับประทานอาหารก็ต้องมีความรู้จักประมาณ รู้จักพอดีในอาหาร ถ้ารับประทานอาหารไม่พอดีก็เกิดโทษแก่ร่างกาย แทนที่จะได้สุขภาพ แทนที่จะได้กำลัง ก็อาจจะเสียสุขภาพ และอาจจะทอนกำลังทำให้อ่อนแอลงไป หรือเกิดโรค เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้มีความรู้จักประมาณในการบริโภค เรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา

จะเห็นว่าหลักพระพุทธศาสนาในทุกระดับมีเรื่องของความพอดี หรือความเป็นสายกลางนี้ ฉะนั้นความเป็นสายกลาง คือ ความพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย และที่จะให้ตรงกับความจริง ไม่ให้ไปสุดโต่ง เอียงสุด ซึ่งจะพลาดจากตัวความจริงไปนั้น จึงเป็นลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสายกลางทั้งหลักทฤษฎี (มัชเฌนธรรม) และหลักการปฏิบัติ (มัชฌิมาปฏิปทา)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • อุปาทิยสูตร มัญญมานสูตร อภินันทมานสูตร ขันธ. สํ. (๑๓๙, ๑๔๐ ,๑๔๑)
  • ตบ. ๑๗ : ๙๑-๙๔ ตท. ๑๗ : ๗๙-๘๒
  • ตอ. K.S. ๓ : ๖๔-๖๕
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9