Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ศาสนาพุทธในประเทศอินโดนีเซีย

ประชากรของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่อดีตเคยมีพระพุทธศาสนาแบบมหายานเข้ามาประดิษฐานอยู่ พระพุทธศาสนาได้รุ่งเรืองมาก ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 มีโบราณสถานที่สำคัญ 2 แห่งอยู่ในอินโดนีเซียคือ บรมพุทโธ (โบโรบุดูร์) ตั้งอยู่ที่ราบเกฑุ (kedu) ในภาคกลางของชวา ห่างจากเมืองยอกจาการ์ตา (Jogjagata) ในปัจจุบันทางเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร และพระวิหารเมนดุต (Mendut) ซึ่งอยู่ห่างจาก โบโรบุดูร์ไปทางทิศตะวันออก 3 กิโลเมตร ต่อมาเมื่ออิสลามได้ขยายอำนาจครอบงำอินโดนีเซียในปี พ.ศ. 2012 ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาขณะที่พระพุทธศาสนาตกอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมตลอดระยะเวลาอันยาวนาน และเป็นสาเหตุทีทำให้พระพุทธศาสนาแทบจะหายไปจากอินโดนีเซียในอดีต

ประวัติ

ยุคเริ่มต้น

พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศอินโดนีเซียในพุทธศตวรรษที่ 3 คราวที่พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งพระโสณะ และพระอุตตระเดินทางมาเผยแผ่พุทธธรรม{[ที่สุวรรณภูมิ]} ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 12 ได้เกิดรัฐมหาอำนาจทางทะเลชื่อว่า อาณาจักรศรีวิชัย (Srivijaya) ซึ่งมีอิทธิพลตั้งแต่อินโดนีเซีย จนถึงคาบสมุทรมลายู รวมไปถึงทางใต้ของประเทศไทย อาณาจักรศรีวิชัยนี้ ศาสนิกชนส่วนใหญ่จะเป็นนิกายมหายาน และแพร่หลายมาก และได้พบหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย ได้แก่ พระพิมพ์ดินดิบ และพระโพธิสัตว์ เป็นต้น

ราชวงศ์ไศเลนทร์

บนเกาะชวาทางภาคกลาง ได้เกิดราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ นามว่า ราชวงศ์ไศเลนทร์ ซึ่งในเวลาต่อมา ราชวงศ์ไศเลนทร์ก็มีอำนาจปกครองอาณาจักรศรีวิชัยในพุทธศตวรรษที่ 15 และได้มีการติดต่อราชวงศ์ปาละ แห่งเบงกอล และได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน โดยอาณาจักรศรีวิชัยได้ส่งพระภิกษุไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา

ซึ่งกษัตริย์แห่งเบงกอลก็ให้การต้อนรับอย่างดี และทางเบงกอลก็ได้ส่งพระภิกษุ และช่างฝีมือดี มาเผยแผ่พุทธศาสนา และสอนศิลปะสมัยปาละ แก่ชาวนครศรีวิชัยด้วย

ยุคมัชฌปาหิต

พระพุทธศาสนาเสื่อมมาก ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 19 เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลง และทำให้อาณาจักรมัชปาหิตเข้ามามีอำนาจแทน ซึ่งอาณาจักรนี้เป็นฮินดู แต่ต่อมากษัตริย์มัชปาหิตพระองค์หนึ่ง นามว่า "ระเด่นปาทา" ทรงเกิดความเลื่อมใสในศาสนาอิสลาม ทรงยกย่องให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และห้ามเผยแผ่พุทธศาสนา บังคับประชาชนให้นับถืออิสลาม

ยุครัฐสุลต่าน และยุคอาณานิคม

ชาวพุทธในอินโดนีเซียช่วงนี้ ไม่ได้มีบทบาทเด่นๆใดๆเลย และกลายเป็นชนกลุ่มน้อย ภายใต้ชาวมุสลิม ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ และเป็นเช่นนี้เรื่อยๆจนถึงยุคฮอลันดาปกครอง และได้รับเอกราช ชาวอินโดนีเซียพุทธนั้นส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันตกของเกาะชวา เกาะบาหลี เกาะบังกา-เกาะเบลิตุง และบางส่วนของเกาะสุมาตรา

ปัจจุบัน

ชาวอินโดนีเซียที่นับถือพุทธศาสนานิกายมหายานอยู่นั้นจะมีอยู่บนเกาะชวาได้แก่ ชาวชวา (นับถือพุทธศาสนาร้อยละ 1) และชาวซุนดา และจะมีชาวบาหลีบนเกาะบาหลี ซึ่งบางคนก็นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแบบพื้นเมืองควบคู่กันไป และมีชาวซาซะก์บางคนที่นับถือศาสนาพุทธ และลัทธิวตูตลู ซึ่งเป็นศาสนาอิสลาม ที่รวมกับความเชื่อแบบฮินดู-พุทธ อยู่บ้างบนเกาะลอมบอก รวมไปถึงชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยบนเกาะชวา ทุกๆปี ศาสนิกชนเหล่านี้จะมาประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาที่บุโรพุทโธ ที่เมืองมุนตีลาน ที่อินโดนีเซียนี้ได้จัดตั้งสมาคมเพื่อสอนพระพุทธศาสนาแก่เยาวชน มีการบรรยายธรรม ปฏิบัติสมาธิ ออกวารสาร เช่น วารสารวิปัสสนา และวารสารธรรมจารณี ซึ่งการปกครองดูแลศาสนิกชนในอินโดนีเซียจะขึ้นกับพุทธสมาคมในอินโดนีเซีย มีสำนักงานใหญ่ในกรุงจาการ์ตา มีสาขาย่อย 6 แห่ง

ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซีนได้เริ่มมีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยการริเริ่มจากพระสงฆ์ชาวศรีลังกา และชาวพื้นเมือง ที่ได้รับการอุปสมบทจากประเทศพม่า และที่ประเทศไทย ในวัดบวรนิเวศวิหาร และวัดเบญจมบพิตร ปัจจุบันศาสนาพุทธนั้นมีศาสนิกอยู่ประมาณ 1,500,000 คน หรือประมาณร้อยละ 1 ของประชากรชาวอินโดนีเซียทั้งหมด[1][2] ซึ่งสังคมอินโดนีเซียส่วนใหญ่เป็นมุสลิมและไม่ได้ต่อต้านศาสนาอื่น

ศาสนสถาน

ประเทศอินโดนีเซียปัจจุบันมีวัดพระพุทธศาสนาอยู่ประมาณ 150 วัด ในจำนวนนี้ 100 วัด เป็นวัดฝ่ายมหายาน อีก 50 วัดเป็นวัดฝ่ายหีนยาน (เถรวาท) ซึ่งเป็นวัดไทย 4 แห่ง ได้แก่ วัดพุทธเมตตา วัดวิปัสสนาคราหะ วัดเมนดุตพุทธศาสนวงศ์ และวัดธรรมทีปาราม วัดเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของฝ่ายฆราวาส เพราะพระภิกษุมีจำนวนน้อย การปกครองดูแลพุทธศาสนิกชนขึ้นอยู่กับพุทธสมาคม ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองจาการ์ตา นครหลวงของอินโดนีเซีย และมีสมาชิก 6 แห่ง ตั้งอยู่ตามเมืองต่างๆ รวมมีสมาชิกทั้งสิ้นประมาณ 150,000 คน

มีคัมภีร์ทางพุทธศาสนาแบบชวาที่สำคัญ 2 เล่ม ได้แก่ คัมภีร์สังหยังกามาหานิกัน (Sang hyang Kamahaanikan) และคัมภีร์กามาหายานันมันตรานายา (Kamahayanan Mantranaya)

การฟื้นฟูพระพุทธศาสนา

การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาได้เริ่มขึ้นใหม่อีกครั้งเมื่อประมาณ 10 กว่าปีมานี้ เป็นการริเริ่มโดยพระสงฆ์ชาวลังกาและพระสงฆ์ชาวพื้นเมืองที่ได้รับการอุปสมบทไปจาก วัดบวรนิเวศวิหารและวัดเบญจมบพิตรในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2512 คณะสงฆ์ไทยได้ส่งพระธรรมทูตจากประเทศไทยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซียทั้งชวาภาคกลาง ภาคตะวันออก และตะวันตก ขณะนี้ยังมิได้สร้างวัดไทยขึ้นแต่ก็ได้เตรียมการที่จะสร้างวัดไทยขึ้นในสถานที่ไม่ห่างไกลจากมหาสถูปโบโรบุดูร์ไว้แล้ว ปัจจุบันพระธรรมทูตจากประเทศไทยมีสำนักงานเผยแผ่เป็นศูนย์กลางอยู่ที่สำนักงานพุทธเมตตา ตั้งอยู่เลขที่ 59 ถนนเตอรูซานเล็มบังดี กรุงจาการ์ตา

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-11.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-29. สืบค้นเมื่อ 2009-07-11.
  • จำนงค์ ทองประเสริฐ, พระพุทธศาสนาในเซียอาคเนย์, (กรุงเทพฯ:มูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุ, 2514), หน้า 99-1000
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9