Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

การเสื่อมถอยของศาสนาพุทธในอนุทวีปอินเดีย

โบราณสถานมาหาวิทยาลัยนาลันทา, รัฐพิหาร, อินเดีย

ศาสนาพุทธซึ่งถือกำเนิดขึ้นในอนุทวีปอินเดียมีจำนวนผู้นับถือลดน้อยลงตามลำดับจนกระทั่งสูญไปเมื่อถึงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12[1][2] ลาร์ส โฟเกลิน นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน กล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เหตุการณ์เดียวที่มีสาเหตุเดียว แต่เป็นกระบวนการที่ดำเนินอยู่เป็นเวลาหลายศตวรรษ"[3]

การเสื่อมถอยของศาสนาพุทธมีปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะกระบวนการภูมิภาคาภิวัตน์อินเดียหลังสมัยจักรวรรดิคุปตะ (ค.ศ. 320–650) ซึ่งนำไปสู่การขาดการอุปถัมภ์และการบริจาคจากราชวงศ์และกลุ่มพ่อค้า อีกปัจจัยหนึ่งคือการบุกรุกตอนเหนือของอินเดียโดยกลุ่มชนหลายกลุ่ม (เช่น ชาวฮันอินโด-อิเรเนียน, ชาวฮันขาว, ชาวเติร์ก-มองโกลมุสลิมซุนนี, ชาวอาหรับ และชาวเปอร์เซีย) และการทำลายสถาบันทางศาสนาพุทธในเวลาต่อมาอย่างนาลันทาเป็นต้น[4] การแข่งขันทางศาสนากับศาสนาฮินดูและกับศาสนาอิสลามในเวลาต่อมาก็เป็นปัจจัยสำคัญ เชื่อกันว่ากระบวนการทำให้เป็นอิสลามในเบงกอลตะวันตกและการทำลายนาลันทา, วิกรมศิลา และโอทันตบุรีโดยมุฮัมมัด อิบน์ บัคติยาร ค็อลญี นายพลแห่งรัฐสุลต่านเดลี ทำให้การประกอบพุทธศาสนกิจในอินเดียตะวันออกลดลงอย่างมาก[5]

จำนวนผู้นับถือศาสนาพุทธเมื่อ ค.ศ. 2010 ในอนุทวีปอินเดีย (ไม่รวมศรีลังกา เนปาล และภูฏาน) อยู่ที่ประมาณ 10 ล้านคน โดยประมาณร้อยละ 7.2 อยู่ในบังกลาเทศ, ร้อยละ 92.5 อยู่ในอินเดีย และร้อยละ 0.2 อยู่ในปากีสถาน[6]

ความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธ

แผนที่ทางภูมิศาสตร์ของคณะพระธรรมทูตที่ออกไปประกาศพระพุทธศาสนารัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

พุทธศาสนาได้ขยายตัวในอนุทวีปอินเดียในช่วงหลายศตวรรษหลังจากการเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะหลังจากที่ได้รับการรับรองและการสนับสนุนจากราชวงศ์เมารยะภายใต้การปกครองของพระเจ้าอชาตศัตรูในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช ศาสนาพุทธได้แพร่ขยายออกไปนอกอนุทวีปอินเดียไปยังเอเชียกลางและจีนด้วย

ในสมัยพุทธกาลมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการขยายตัวของนครและการเริ่มต้นของการก่อตั้งรัฐรวมศูนย์[7] การขยายตัวของศาสนาพุทธนำไปสู่ความรุ่งเรืองมีปัจจัยประกอบอยู่กับเศรษฐกิจที่เติบโตในช่วงเวลานั้น พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของรัฐรวมศูนย์อันสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้[8]

ศาสนาพุทธแพร่ขยายไปทั่วอินเดียโบราณ และการสนับสนุนจากรัฐโดยระบอบการปกครองต่าง ๆ ยังคงดำเนินต่อไปจนถึงสหัสวรรษที่ 1[9] การรวมกลุ่มของคณะสงฆ์ทำให้ศาสนาพุทธกลายเป็นศูนย์กลางแห่งวิถีชีวิตทางปัญญาและศาสนาในอินเดียโบราณ[10] ราชวงศ์คันวะสืบทอดต่อมามีกษัตริย์คันวะที่เป็นพุทธศาสนิกถึง 4 พระองค์[11]

ราชวงศ์คุปตะ (ศตวรรษที่ 4–6)

พัฒนาการทางศาสนา

ในราชวงศ์คุปตะช่วงศตวรรษที่ 4 ถึง 6 ลัทธิไวษณพ ลัทธิไศวะ และลัทธิทางศาสนาฮินดูอื่น ๆ ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่พราหมณ์พัฒนาความสัมพันธ์ใหม่กับรัฐ ความแตกต่างระหว่างศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูเริ่มไม่ชัดเจน เนื่องจากศาสนาพุทธมหายานรับเอาแนววิธีปฏิบัติพิธีกรรมมามากขึ้น ขณะที่แนวคิดของศาสนาพุทธถูกนำไปใช้ในการศึกษาโรงเรียนพระเวท [12] เมื่อลัทธิขยายตัวขึ้น วัดในศาสนาพุทธก็ค่อยเสื่อมการถือครองที่ดิน ในขณะเดียวกัน กษัตริย์คุปตะทรงสร้างวัดในศาสนาพุทธ เช่น วัดในกุสินารา[13][14] และมหาวิทยาลัยสงฆ์ เช่น นาลันทา ตามหลักฐานที่บันทึกไว้โดยนักแสวงจาริกบุญชาวจีนสามรูปที่เดินทางไปอินเดีย[15][16][17]

การรุกรานของชาวฮั่น (ศตวรรษที่ 6)

นักแสวงจาริกบุญชาวจีนที่เดินทางผ่านภูมิภาคนี้ระหว่างศตวรรษที่ 5 ถึง 8 เช่น ฟาเซียน เสวียนจั้ง อี้จิง ฮุยเซิง และซ่งหยุน เริ่มกล่าวถึงความเสื่อมถอยของคณะสงฆ์ของศาสนาพุทธในพื้นที่ตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการรุกรานของชาวฮั่นจากเอเชียกลางในศตวรรษที่ 6[4] เสวียนจั้งบันทึกว่าวัดหลายแห่งในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือถูกทำลายจนเหลือเพียงซากปรักหักพังโดยชาวฮั่น[4][18]

มิฮิรากุลา ผู้ปกครองอาณาจักรฮั่น ซึ่งปกครองภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือ (ปัจจุบันคือแถบประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศปากีสถาน และประเทศอินเดียทางตอนเหนือ) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 515 ได้ปราบปรามศาสนาพุทธ โดยการทำลายวัดวาอารามตลอดถึงอลาหาบาด (หรือ ประยาคราช) ในปัจจุบัน[19] กษัตริย์ผู้ปกครองยโศธรมันและคุปตะมีพระราชศรัทธาในราวปี ค.ศ. 532 และทรงปรามปรามจนพลิกสถานการณ์ของผู้ปกครองอาณาจักรฮั่นและยุติยุคของมิฮิรากุลาได้[20][21]

ตามการรายงานของปีเตอร์ ฮาร์วีย์ ศาสนาพุทธฟื้นตัวอย่างทีละลำดับจากการรุกรานเหล่านี้ในช่วงศตวรรษที่ 7 โดยที่ "ศาสนาพุทธในแคว้นปัญจาบและแคว้นสินธ์ยังคงมีศรัทธาเข้มแข็งอยู่"[22] ในรัชสมัยของราชวงศ์ปาละช่วงศตวรรษที่ 8 ถึง 12 ศาสนาพุทธในอินเดียตอนเหนือฟื้นตัวขึ้นเนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์ปาละซึ่งสนับสนุนศูนย์กลางพุทธศาสนาต่าง ๆ อย่างนาลันทา อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงศตวรรษที่ 11 การปกครองของราชวงศ์ปาละก็อ่อนแอลง[22]

การรุกรานและการยึดครองของชาวเติร์ก (ศตวรรษที่ 10–12)

การเข้ารุกราน

ภาพบรรยายในส่วนบทเนื้อหาของหนังสือ เรื่องราวของชาติโดยฮัสชิสัน ปรับปรุงโดยเจมส์ เมส์ดทัน, พรรณนาถึงกองกำลังชาวเติร์กได้รับบัญชาสั่งการให้สังหารภิกษุและนักปราชญ์บริเวณมหาวิทยาลัยนาลันทาและวิกรมศิลาในเขตรัฐพิหาร รวมทั้งสังหารบัณฑิตและพราหมณ์อีกด้วย[23]

ตามที่ปีเตอร์ ฮาร์วีย์ กล่าวไว้:

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 986 ชาวเติร์กเริ่มโจมตีอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือจากอัฟกานิสถาน ปล้นสะดมอินเดียตะวันตกในช่วงต้นศตวรรษที่ 11 มีการบังคับให้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม และทำลายรูปเคารพของศาสนาพุทธ เนื่องจากชาวอิสลามไม่ชอบการบูชารูปเคารพ[22]

— ปีเตอร์ ฮาร์วีย์, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

การยึดครองของชาวมุสลิมในอนุทวีปอินเดียถือเป็นการรุกรานครั้งใหญ่ครั้งแรกของชนกลุ่มน้อยที่ทำลายรูปเคารพในอนุทวีปอินเดีย[24] ในช่วงต้นศตวรรษที่ 8 ผู้พิชิตชาวอาหรับได้รุกรานประเทศปากีสถานในปัจจุบัน ในระลอกที่สอง ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ถึงศตวรรษที่ 13 พวกชาวเติร์ก, ชาวเติร์ก-มองโกเลีย, และชาวมองโกเลียได้เข้ายึดครองที่ราบทางตอนเหนือของอินเดีย[25][26] บันทึกความทรงจำของอัล บีรูนี นักเดินทางชาวเปอร์เซีย ระบุว่าศาสนาพุทธได้หายไปจากกัซนี (ประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน) และแคว้นปัญจาบในยุคกลาง (ประเทศปากีสถานทางตอนเหนือในปัจจุบัน) ในช่วงต้นศตวรรษที่ 11[27]ในช่วงปลายศตวรรษที่ 12 ศาสนาพุทธได้หายไปอีก[4][28] พร้อมกับการทำลายวัดและเจดีย์ในอนุทวีปอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกในยุคกลาง (ประเทศปากีสถานและประเทศอินเดียทางตอนเหนือในปัจจุบัน)[29] บันทึกประวัติศาสตร์ของกองกำลังชาฮาบุดดินกอร์ ได้ระบุถึงการประทุษกรรมภิกษุและสามเณร ซึ่งถือเป็นชัยชนะเหนือพวกนอกรีตที่ไม่ใช่มุสลิม ศูนย์กลางหลักของศาสนาพุทธอยู่ในอินเดียตอนเหนือและเส้นทางรบหลักของทัพชาฮาบุดดินกอร์ เนื่องจากถือเป็นแหล่งเป้าหมายของความมั่งคั่งและศาสนาอื่นที่ไม่ใช่มุสลิม[30]

อ้างอิง

  1. Akira Hirakawa; Paul Groner (1993). A History of Indian Buddhism: From Śākyamuni to Early Mahāyāna. Motilal Banarsidass. pp. 227–240. ISBN 978-81-208-0955-0.
  2. Damien Keown (2004). A Dictionary of Buddhism. Oxford University Press. pp. 208–209. ISBN 978-0-19-157917-2.
  3. Fogelin 2015, p. 218.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Wendy Doniger (1999). Merriam-Webster's Encyclopedia of World Religions. Merriam-Webster. pp. 155–157. ISBN 978-0-87779-044-0.
  5. Hartmut Scharfe (2002). Handbook of Oriental Studies. BRILL. p. 150. ISBN 90-04-12556-6. Nalanda, together with the colleges at Vikramasila and Odantapuri, suffered gravely during the conquest of Bihar by the Muslim general Muhammad Bhakhtiyar Khalji between A.D. 1197 and 1206, and many monks were killed or forced to flee.
  6. Religion population totals in 2010 by Country Pew Research, Washington DC (2012)
  7. Richard Gombrich, A Global Theory of Intellectual Change. Harvard University Press, 2000, p. 205.
  8. Richard Gombrich, A Global Theory of Intellectual Change. Harvard University Press, 2000, p. 184.
  9. Collins 2000, p. 182.
  10. Collins 2000, p. 208.
  11. Sir Roper Lethbridge. History of India. p. 53.
  12. Collins 2000, pp. 207–211.
  13. Gina Barns (1995). "An Introduction to Buddhist Archaeology". World Archaeology. 27 (2): 166–168.
  14. Robert Stoddard (2010). "The Geography of Buddhist Pilgrimage in Asia". Pilgrimage and Buddhist Art. Yale University Press. 178: 3–4.
  15. Hartmut Scharfe (2002). Handbook of Oriental Studies. BRILL Academic. pp. 144–153. ISBN 90-04-12556-6.
  16. Craig Lockard (2007). Societies, Networks, and Transitions: Volume I: A Global History. Houghton Mifflin. p. 188. ISBN 978-0618386123.
  17. Charles Higham (2014). Encyclopedia of Ancient Asian Civilizations. Infobase. pp. 121, 236. ISBN 978-1-4381-0996-1.
  18. "Historical Development of Buddhism in India – Buddhism under the Guptas and Palas". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 12 September 2015.
  19. Nakamura, Hajime (1980). Indian Buddhism: A Survey With Bibliographical Notes. Motilal Banarsidass Publications. p. 146. ISBN 8120802721.
  20. Foreign Influence on Ancient India by Krishna Chandra Sagar p. 216
  21. Ramesh Chandra Majumdar (1977). Ancient India. Motilal Banarsidass. pp. 242–244. ISBN 978-81-208-0436-4.
  22. 22.0 22.1 22.2 Harvey 2013, p. 194.
  23. Sanyal, Sanjeev (15 November 2012). Land of seven rivers: History of India's Geography. Penguin Books Limited. pp. 130–131. ISBN 978-81-8475-671-5.
  24. Levy, Robert I. Mesocosm: Hinduism and the Organization of a Traditional Newar City in Nepal. Berkeley: University of California Press, c1990 1990.
  25. Chandra, Satish (2004). Medieval India: from Sultanat to the Mughals – Part One: Delhi Sultanat (1206–1526). New Delhi: Har-Anand Publications. p. 41.
  26. Saunders, Kenneth (1947). A Pageant of India. Oxford: Oxford University Press. pp. 162–163.
  27. Muhammad ibn Ahmad Biruni (1888). Alberuni's India: An Account of the Religion, Philosophy, Literature, Geography, Chronology, Astronomy, Customs, Laws and Astrology of India about AD 1030. แปลโดย Edward C. Sachau. Cambridge University Press. pp. 253–254. ISBN 978-1-108-04720-3.
  28. "Historical Development of Buddhism in India – Buddhism under the Guptas and Palas". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 13 September 2015.
  29. McLeod, John, The History of India, Greenwood Press (2002), ISBN 0-313-31459-4, pp. 41–42.
  30. Powers, John (5 October 2015). The Buddhist World. Routledge. ISBN 9781317420170.

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9