Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ธรรมจักร

"ธรรมจักร" แกะสลักจากหินทราย, พุทธศตวรรษที่ 12, พบที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม, ปัจจุบันเป็นของสะสมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ธรรมจักร (สันสกฤต: धर्मचक्र; บาลี: dhammacakka) หรือ กงล้อแห่งธรรม เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แพร่หลายในศาสนาอินเดีย เช่น ศาสนาฮินดู, ไชนะ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในศาสนาพุทธ[1][2]

ต้นกำเนิด

สัญลักษณ์กงล้อ/จักรเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์อินเดีย นักวิชาการ Madhavan และ Parpola ระบุว่าสัญลักษณ์กงล้อปรากฏมากในโบราณวัตถุจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยเฉพาะบนตราประทับหลาย ๆ ตรา[3] ตัวอย่างชิ้นสำคัญคือเป็นหนึ่งในสิบสัญลักษณ์บนป้ายโธลาวีรา[3] ปรากฏเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ตั้งแต่ราว 2500 ปีก่อน ค.ศ.[4]

นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อมโยงจักรโบราณเข้ากับลัทธิสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์[5] ในพระเวท พระสุริยะอวตารในปางพระมิตรมีการบรรยายว่าเป็น "ดวงตาของโลก" ในแง่นี้พระอาทิตย์จึงอาจมองเป็นดวงตา (จักษุ) ซึ่งให้ความสว่างและการมองเห็นแก่โลก[6] ฉะนั้นจึงมีการเชื่อมโยงแนวคิดจักรเข้ากับแสงสว่างหรือปัญญา

ในศาสนาพุทธ

ประติมากรรมศาสนิกและธรรมจักรจากสถูปสาญจี, หน้าทิศใต้, เสาตะวันตก

ในศาสนาพุทธ ธรรมจักรปรากฏใช้ทั่วไปเพื่อสื่อถึงธรรมของพระพุทธเจ้า, บ้างใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระโคตมพุทธเจ้า และใช้แทนหนทางสู่การตรัสรู้ ปรากฏใช้เช่นนี้นับตั้งแต่ศาสนาพุทธยุคแรก[7][1][note 1] บางครั้งปรากฏเชื่อมโยงธรรมจักรเข้ากับอริยสัจสี่, อริยมรรคแปด และ ปฏิจจสมุปบาท

ธรรมจักรที่ปรากฏใช้ในยุคก่อนศาสนาพุทธถือว่าเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์อัษฏมงคล[8][note 2] และเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดของศิลปะอินเดีย[7][7][note 1]

ตามธรรมเนียมพุทธระบุว่า พระพุทธเจ้าทรงเริ่มหมุนกงล้อแห่งธรรมครั้งแรกเมื่อทรงแสดงปฐมเทศนา[9] ดังที่ปรากฏใน ธัมมจักกัปปวัตนสูตร การ "หมุนกงล้อแห่งธรรม" นี้เป็นการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่มีผลต่อจักรวาล เข้าใจว่าศาสนาพุทธรับเอาแนวคิดของกงล้อในฐานะสัญลักษณ์มาจาก แนวคิดปรัมปราอินเดียของ จักรวรรติน ("ผู้หมุนกงล้อ", หรือ "จักรพรรดิแห่งเอกภพ")[4][9] แนวคิดนี้ถูกรับมาแทนพระโคตมพุทธเจ้าในฐานะมหาปุริษา ในฐานผู้หมุนกงล้อ ("จักรวรรติน") ในทางจิตวิญญาณ แทนที่จะเป็นการหมุนกงล้อในทางโลกตามความหมายดั้งเดิมของจักรวรรติน[10]

ในการตีความ "การหมุนกงล้อแห่งธรรม" นั้น พระพุทธโฆษาจารย์ ภิกษุองค์สำคัญในธรรมเนียมเถรวาท อธิบายว่า "กงล้อ" ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงหมุนนี้ เข้าใจหลัก ๆ ในแง่ว่าเป็นปัญญา ความรู้ และญาณ ปัญญาที่ว่านี้มีสองแง่มุม คือ ปฏิเวธญาณ (paṭivedha-ñāṇa) หรือปัญญาแห่งการรู้ตนถึงความจริง และ เทศนาญาณ (desanā-ñāṇa) ปัญญาของการประกาศความจริง[6]

ปรากฏการออกแบบธรรมจักรมีซี่ที่แตกต่างกัน โดยที่พบมากคือ 8, 12, 24 หรือมากกว่านั้น การตีความจำนวนนี้แตกต่างกันไปตามธรรมเนียม โดยทั่วไปมักตีความถึงคำสอนต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า เช่น ในธรรมเนียมทิเบตตีความกงล้อ 8 ซี่ว่าแทนมรรคแปด และองค์ประกอบสามส่วนของจักร คือ ตุมล้อ, ขอบ และ ซี่ แทนการปฏิบัติสามประการของพระพุทธเจ้า (ศีล, สมาธิ และ ปัญญา)[11] หรือในคติเถรวาทแบบไทย ตีความจักร 12 ซี่ หมายถึงปฏิจจสมุปบาทสิบสอง หรือ 31 ซี่ หมายถึง ภูมิทั้ง 31 (กามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4) เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏการแทนความหมายของวงล้อที่หมุนไปในฐานะวงล้อของการเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏ) ซึ่งเรียกจักรในความหมายนี้ว่า "สงสารจักร" หรือ "สังสารจักร" และ "ภวจักร"[6]

ในการใช้งานแบบอื่น ๆ

ภาพวาดของไชนะแสดง อหิงสา ปรโม ธรรม (อหิงสาคือธรรมสูงสุด)

ปรากฏธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ในศรมัณของศาสนาไชนะ และบางครั้งปรากฏบนเทวรูปของตีรถังกร[12][13][14] และในภควัทคีตา ปรากฏแนวคิดของธรรมจักรและการหมุนกงล้อเช่นกัน[15]

อโศกธรรมจักร 24 ซี่ ปรากฏในธงชาติอินเดีย เพื่อแทนแนวคิดของธรรมในศาสนาอินเดียโดยรวม[16] และตราแผ่นดินอินเดียซึ่งเป็นภาพของหัวเสาอโศกรูปสิงห์จากสาญจีก็ปรากฏธรรมจักรบนนั้น[17] สรเวปัลลี รธากฤษณัน รองประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียระบุว่าอโศกจักรในสัญลักษณ์ของชาติอินเดียนั้นแทน "กงล้อของกฎหมายของธรรม" และ "ความจริงหรือสัตยะ" (ดังที่ปรากฏในคำขวัญประจำชาติ สัตยเมวชยเต), "คุณธรรม" และ "ดารเคลื่อนไหว" ในแง่ของ "พลวัตของการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ"[16]

หมายเหตุ

  1. 1.0 1.1 Grünwedel e.a.:"The wheel (dharmachakra) as already mentioned, was adopted by Buddha's disciples as the symbol of his doctrine, and combined with other symbols—a trident placed above it, etc.—stands for him on the sculptures of the Asoka period."[7]
  2. Goetz: "dharmachakra, symbol of the Buddhist faith".[8]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 John C. Huntington, Dina Bangdel, The Circle of Bliss: Buddhist Meditational Art, p. 524.
  2. "Buddhist Symbols". Ancient-symbols.com. สืบค้นเมื่อ 22 June 2018.
  3. 3.0 3.1 The Ancient Indus Valley: New Perspectives By Jane McIntosh. p. 377
  4. 4.0 4.1 Beer 2003, p. 14.
  5. Issitt, Micah. Main, Carlyn. (2014). Hidden Religion: The Greatest Mysteries and Symbols of the World's Religious Beliefs, ABC-CLIO, p. 185.
  6. 6.0 6.1 6.2 T. B. Karunaratne (1969), The Buddhist Wheel Symbol, The Wheel Publication No. 137/138, Buddhist Publication Society, Kandy • Sri Lanka.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Grünwedel 1901, p. 67.
  8. 8.0 8.1 Goetz 1964, p. 52.
  9. 9.0 9.1 Pal 1986, p. 42.
  10. Ludowyk, E.F.C. (2013) The Footprint of the Buddha, Routledge, p. 22.
  11. A Lamp Illuminating the Path to Liberation: An Explanation of Essential Topics for Dharma Students by Khenpo Gyaltsen (translated by Lhasey Lotsawa Translations, Nepal: 2014, pp. 247–248).
  12. Framing the Jina: Narratives of Icons and Idols in Jain History, p. 314, by John Cort, Oxford University
  13. Asha Kalia, Art of Osian Temples: Socio-economic and Religious Life in India, 8th–12th Centuries A.D. Abhinav Publications, 1982, chapter 16.
  14. Sharma, Savita (1990). Early Indian Symbols: Numismatic Evidence, Agam Kala Prakashan, 1990 p. 51.
  15. "The Bhagavad-gita" (PDF). Vivekananda.net. สืบค้นเมื่อ 22 June 2018.
  16. 16.0 16.1 "The national flag code" (PDF). Mahapolice.gov.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 December 2017. สืบค้นเมื่อ 22 June 2018.
  17. Kamal Dey v. Union of India and State of West Bengal, [1] (Calcutta High Court 2011-07-14).

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 9-6-52
  • หนังสือศัพท์วิเคราะห์ โดยพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช): แม่บทแห่งธรรม ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9