ทราย เจริญปุระ
อินทิรา เจริญปุระ (เกิด 23 ธันวาคม พ.ศ. 2523) ชื่อเล่น ทราย ชื่อในวงการคือ ทราย เจริญปุระ เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและนักแสดงชาวไทย มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง นางนาก (2542) รับบทเป็น แม่นากพระโขนง และยังได้รับรางวัล รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม สองครั้งจากภาพยนตร์ นาคปรก และ 4 KINGS 2 รวมถึงรางวัลจากสถาบันต่าง ๆ อินทิรายังเป็นที่รู้จักในบทบาทนักเคลื่อนไหวทางการเมือง (กลุ่มราษฎร) ประวัติทราย เจริญปุระ มีชื่อจริงว่า อินทิรา เจริญปุระ เกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นบุตรของนายสุรินทร์ เจริญปุระ หรือ รุจน์ รณภพ ผู้กำกับภาพยนตร์ กับนางสุภาภรณ์ เจริญปุระ โดยเป็นบุตรคนโต มีน้องชายและน้องสาวร่วมมารดา คือ ภวัต เจริญปุระ และภรณ์รวี เจริญปุระ นอกจากนี้ยังมีพี่สาวต่างมารดา 4 คน คือ เวณิก เจริญปุระ, พลอย เจริญปุระ, วิภาวี เจริญปุระ และใหม่ เจริญปุระ[1] ทรายสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ ต่อมาในปี 2550 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ [2] วงการบันเทิงทรายเข้าสู่วงการโดยการชักชวนของสุพล วิเชียรฉาย มีผลงานละครเรื่องแรกเมื่ออายุ 13 ปี คือเรื่อง ล่า ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยแสดงร่วมกับสินจัย หงษ์ไทย และจักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ จากนั้นจึงได้แสดงละครอีกหลายเรื่อง เช่น บ้านสอยดาว กองพันทหารเกณฑ์ เจ้าสัวน้อย ฯลฯ จุดเด่นอย่างหนึ่งของเธอก็คือการมีส่วนสูงที่สะดุดตา เนื่องจากเธอสูงถึง 173 เซนติเมตร ทรายเคยมีผลงานเพลง ออกอัลบั้มเดี่ยวมาสักระยะหนึ่ง ใน พ.ศ. 2538 ได้ออกอัลบั้มเพลงชุดแรกชื่อชุด นาฬิกาทราย ในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีเพลงดัง เช่น "ครูกระดาษ...(ทราย)", "เอาคืนไป" และเพลง "แล้วไงต่อ" ต่อมากับอัลบั้ม SINE ปี พ.ศ. 2541 สังกัด อิน แอนด์ ออน มิวสิก มีเพลงดัง เช่น พ่อมด, เพราะไม่รู้ และเพลง ภาพเก่าๆ โดยได้ จิระศักดิ์ ปานพุ่ม มาเป็นเอ็กเซ็กคิวทีฟโปรดิวเซอร์ และโปรดิวเซอร์ อีกด้วย ต่อด้วยอัลบั้มชุดสุดท้าย “D^SINE” ปี พ.ศ. 2542 สังกัดค่ายอัพจี ในเครือแกรมมี่ เพลงดัง เช่น เกินเสียใจ, ลองค้นใจ และเพลง สายลมที่หวังดี รวมอัลบั้มเดี่ยวแล้วทั้งหมด 3 ชุดด้วยกัน ในปี พ.ศ. 2542 มีผลงานสร้างชื่อเสียงคือภาพยนตร์รื่อง นางนาก โดยรับบทเป็นนางนากคู่กับวินัย ไกรบุตร และออกอัลบั้มเพลงในชื่อชุด “ดี-ทราย” จากนั้นได้ทำหน้าที่พิธีกรในหลายรายการ เช่น 7 สีคอนเสิร์ต คู่กับ พนมกร ตังทัตสวัสดิ์ และมีผลงานภาพยนตร์เช่น เฮี้ยน, Six หกตายท้าตาย, ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ บ้านผีสิง ฯลฯ รวมถึงละครพื้นบ้านแนวจักรๆ วงศ์ๆ เรื่อง ปลาบู่ทอง ทางช่อง 7 สี ในปี พ.ศ. 2554 ได้ดำเนินรายการ "Book Guide" ทางสถานโทรทัศน์วอยซ์ทีวี ทรายยังเขียนบทความประจำ คอลัมน์ "รักคนอ่าน" โดยรีวิวหนังสือต่างๆลงในนิตยสารมติชน สุดสัปดาห์ด้วย
แม้จะประสบความสำเร็จในชื่อเสียงและการงาน แต่ ทราย เจริญปุระ กลับต้องเผชิญหน้ากับโรคซึมเศร้าที่เข้าเล่นงานเธอ แม้จะเป็นโรคที่หลายคนอาย แต่ทรายกลับไม่อายที่จะยอมรับและบอกกับทุกคนว่าเธอกำลังเผชิญหน้ากับโรคนี้อยู่[3] การเคลื่อนไหวทางการเมืองในระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เธอประกาศจุดยืนสนับสนุนผู้ชุมนุมประท้วง แล้วมีการจัดเลี้ยงอาหาร, รถห้องน้ำ และเต็นท์ ให้แก่ผู้ชุมนุม[4] ทำให้เธอถูกแจ้งความฐานสนับสนุนการชมนุมโดยผิดกฎหมาย[5] เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เธอเข้าพบพนักงานสอบสวน ณ สน.บางเขน ตามหมายเรียกคดีอาญา มาตรา 112 มาตรา 116 และกฎหมายอื่น ๆ พร้อมด้วยผู้ชุมนุมอีก 8 ราย[6] เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ ศิลปินเพลงและแกนนำกลุ่มราษฎร ได้โพสต์รูปบนเพจเฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นรูปที่ตนเองสวมชุดสูท สวมแว่นตา สะพายกล้อง และมือถือสมุด นั่งอยู่ข้างรถกระบะ ร่วมกับทราย เจริญปุระ บริเวณทุ่งนาแห่งหนึ่ง ซึ่งไชยอมรและทรายจงใจล้อเลียนถึงการทรงงานในพื้นที่ชนบทของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ส่งผลให้เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบ ทราย เจริญปุระ เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565[7] ผลงานแสดงละครโทรทัศน์
คอนเสิร์ต
ผลงานมิวสิควิดีโอ
ผลงานแสดงภาพยนตร์
ผลงานกำกับภาพยนตร์
ผลงานพากย์
ผลงานพิธีกร
รางวัลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง
รางวัลสตาร์พิกส์ไทยฟิล์มอะวอดส์
รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ทราย เจริญปุระ |