Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

อานนท์ นำภา

อานนท์ นำภา
อานนท์ ใน พ.ศ. 2565
เกิด18 สิงหาคม พ.ศ. 2527 (40 ปี)
อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
อาชีพทนายความ
มีชื่อเสียงจากการเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
รางวัล
  • รางวัลควังจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ประเทศเกาหลีใต้ (2564)
  • 1 ใน 100 บุคคลสร้างแรงกระเพื่อมในสังคม โดย Time 100 Next , นิตยสาร TIME (2564)
  • รางวัล Person of The Year โดย Thailand Zocial Awards (2564)

อานนท์ นำภา (เกิด 18 สิงหาคม พ.ศ. 2527) เป็นทนายความชาวไทย นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน เดิมเป็นทนายความ และมีชื่ออยู่ในรายชื่อผู้กระทำผิดกฎหมายในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติเนื่องจากกิจกรรมทางการเมือง ในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2565 เป็นนักเคลื่อนไหวที่มีชื่อเสียงจากข้อเสนอการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์[1] และเป็นบุคคลระดับแกนนำสำคัญของผู้ประท้วง[2]

ประวัติ

เขาเกิดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ที่อำเภอธวัชบุรี (ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวได้แยกออกมาเป็นอำเภอทุ่งเขาหลวง) จังหวัดร้อยเอ็ด[1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย[3] สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาเอาดีทางด้านสิทธิมนุษยชนใน พ.ศ. 2549 ต่อมาใน พ.ศ. 2551 เขาประกอบอาชีพเป็นทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนและรับว่าความให้จำเลยนักเคลื่อนไหวคนสำคัญ รวมทั้งอำพล ตั้งนพกุล และ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ไผ่ ดาวดิน) ระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ทำให้ถูกตั้งชื่อว่า ทนายเสื้อแดง[1]

หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขารับว่าความคดีสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก และเริ่มดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเองด้วย เขาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและดูแลกองทุนราษฎรประสงค์[4] ในปี 2558 เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มพลเมืองโต้กลับ นับแต่นั้นเขาถูกทางการตั้งข้อหาว่าละเมิดกฎหมายหลายข้อหา[1]

การเคลื่อนไหวทางการเมือง

การปราศรัย อานนท์ นำภา วันที่ 3 สิงหาคม 2564

ในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เขาถูกมองว่าเป็นหนึ่งในแกนนำของผู้ประท้วง เป็นผู้ปราศรัยในการชุมนุมหลายครั้ง วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563 อานนท์เริ่มเป็นที่รู้จักอีกครั้งจากการชุมนุม "เสกคาถาปกป้องประชาธิปไตย" ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยกลุ่มมหานครเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มมอกะเสด และมีการพูดถึงข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เป็นครั้งแรก[5] หลังจากนั้นเขาถูกตั้งข้อหาจากการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันที่ 18 กรกฎาคม 2563[6][7] โดยมีข้อหาร่วมทั้งปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง[8]

ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 มีรายงานว่าเขา ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)[9] ภายในเรือนจำ ก่อนรักษาตัว ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จนหายเป็นปกติ

18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก หรือ May 18 Memorial Foundation องค์กรส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ประเทศเกาหลีใต้ จัดพิธีมอบรางวัลควังจูเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี ค.ศ. 2021 ให้กับอานนท์ นำภา โดยเชิญให้อานนท์ร่วมผ่านทางวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ แต่ทนายอานนท์ยังรักษาอาการจากเชื้อโควิด19 ที่ติดจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และยังอยู่ในการควบคุมตัว เพราะศาลไม่มีคำสั่งให้ประกันตัว จึงไม่สามารถร่วมพิธีได้[10]

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[11] อานนท์ นำภา ได้รับการประกันตัวโดยคำสั่งของศาลอาญากรุงเทพใต้ ใน 2 คดี คือคดีม็อบแฮรี่พอตเตอร์บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และคดีการฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉินในการชุมนุมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 บริเวณแยกราชประสงค์ โดยใช้วงเงินในการประกันตัวจำนวน 200,000 บาท และ 100,000 บาท และกำหนดเงื่อนไข 7 ข้อ ห้ามปลุกระดม ห้ามก่อความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามออกนอกราชอาณาจักร ห้ามออกนอกบ้านพักยามวิกาล ต้องสวมกำไลอิเล็กทรอนิกส์ (EM) และต้องรายงานตัวต่อศาลทุก 30 วัน[12]

ผลงานเพลง

ซิงเกิล (ร่วมกับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ)

  • จูบเย้ยจันทร์ (โอชา) (พ.ศ. 2558)
  • เอาไม่ลง (พ.ศ. 2558)
  • 16 เดือนแห่งความหลัง (พ.ศ. 2558)
  • อย่างนี้ต้องตีเข่า โหวตไม่เอาแล้วตีตก (พ.ศ. 2559)

รางวัลและเกียรติยศ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Post, The Jakarta. "Three activists who break Thailand's deepest taboo". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-09-17.
  2. "คุม 'ทนายอานนท์ - ไมค์' ส่งศาลแล้วทั้งคู่ ทามกลางมวลชนนับร้อย". bangkokbiznews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-13. สืบค้นเมื่อ 2020-09-17.
  3. "The Isaander กินลาบกับทนายอานนท์". The Isaander. 2020-02-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
  4. "ครึ่งปี 19 ล้าน กองทุนราษฎรประสงค์ยื่นประกัน-จ่ายค่าปรับคดีการเมืองรวม 401 ครั้ง". ประชาไท. 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-24.
  5. “บ้านเมืองไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง” ทนายอานนท์ เปิดใจหลังถูกแจ้งความกรณีปราศรัยม็อบแฮร์รี่ พอตเตอร์ สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2564
  6. "Thai police arrest nine in sweep against activists". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-08-20. สืบค้นเมื่อ 2020-09-17.
  7. "Thailand: Police Again Detain Lawyer Involved in Anti-Govt Rallies". BenarNews (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2020-09-17.
  8. "Anon Nampa and other Thai youth protesters hit with arrest warrants". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-15. สืบค้นเมื่อ 2020-09-17.
  9. "ทนายอานนท์" ติดเชื้อโควิด-19 เร่งส่ง รพ.ราชทัณฑ์
  10. มูลนิธิ 18 พ.ค. เกาหลีใต้ จัดพิธีมอบรางวัล ‘กวางจูสิทธิมนุษยชน 2021’ ให้ ‘อานนท์ นำภา’ เที่ยงวันนี้ Matichon Online 2021-05-18 สืบค้นเมื่อ 2021-05-18
  11. Pafun (2022-02-28). "อานนท์ นำภา ศาลอาญาอนุญาตให้ประกันตัว ขีด 8 เงื่อนไขห้ามฝ่าฝืน". ประชาชาติธุรกิจ.
  12. "ศาลอาญากรุงเทพใต้ให้ประกันตัวทนายอานนท์ 3 เดือน". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-05-16.
  13. ‘อานนท์-ไมค์’ คว้ารางวัล ‘จารุพงษ์ ทองสินธุ์’ ลั่น วิญญาณวีรชนมาเกิดในร่างคนรุ่นใหม่ สืบค้นเมื่อ 2021-07-09
  14. ‘อานนท์ นำภา’ คว้ารางวัล ‘กวางจูสิทธิมนุษยชน 2021’ จากประเทศเกาหลีใต้ Matichon Online 2021-14-01 สืบค้นเมื่อ 2021-15-01
  15. Arnon Nampa(ภาษาอังกฤษ) สืบค้นเมื่อ 2021-02-17
  16. ผู้ที่ได้รับรางวัล "Person of The Year" สาขา Social Movement ได้แก่ อานนท์ นำภา สืบค้นเมื่อ 2021-04-08

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9