Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ปลาบู่ทอง

ปลาบู่ทอง เป็นนิทานพื้นบ้านทางภาคกลางของไทย ที่เล่าโดยผ่านวิธีมุขปาฐะ, ร้อยแก้ว, ร้อยกรอง มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กสาวชาวบ้านผู้มีใจเมตตาได้แต่งงานกับกษัตริย์ สร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มาแล้วหลายครั้ง เชื่อว่ามีที่มาจากชนชาติจ้วง-ลาว-ไทในภาคใต้ของจีนเล่าถ่ายทอดกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ และชนพื้นเมืองในหลายชาติของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เช่น ลาว, เขมร, พม่า ก็มีเรื่องราวทำนองคล้ายกันนี้ แต่เรียกชื่อต่างออกไป และคล้ายคลึงกับนิทานพื้นบ้านของยุโรป คือ ซินเดอเรลลา[1]

ใน พ.ศ. 2554 กระทรวงวัฒนธรรมขึ้นทะเบียนปลาบู่ทองเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย[2]

การดัดแปลง

ปลาบู่ทองได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์หลายครั้ง ครั้งแรกเป็นภาพยนตร์ 16 มม. ของเทพกรภาพยนตร์ กิติมา เศรษฐภักดี อำนวยการสร้าง อำนวย กลัสนิมิ (ครูเนรมิต) กำกับ ออกฉายวันที่ 20 สิงหาคม 2508 ที่โรงหนังเฉลิมบุรี[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาสร้างเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์จักร ๆ วงศ์ ๆ ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ใน พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องแรกของดาราฟิล์ม ไพรัช สังวริบุตร กำกับ ประสม สง่าเนตร เขียนบท เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ร้องเพลงนำ[ต้องการอ้างอิง] จากนั้นใน พ.ศ. 2515 วนิชศิลปภาพยนตร์ ของอนันต์ ชลวนิช สร้างเป็นภาพยนตร์ 35 มม. ชื่อ "แม่ปลาบู่" ออกฉายวันที่ 14 พฤศจิกายน 2515 ที่โรงภาพยนตร์นิวบรอดเวย์[ต้องการอ้างอิง]

ปลาบู่ทองสร้างเป็นภาพยนตร์อีก 3 ครั้ง ดังนี้

  • ใน พ.ศ. 2522 ศิริมงคลโปรดัคชั่น สร้าง ชาญชัย เนตรขำคม อำนวยการสร้าง ชิต ไทรทอง กำกับ ออกฉายเมื่อ 7 กรกฎาคม[ต้องการอ้างอิง]
  • ใน พ.ศ. 2527 วิษณุภาพยนตร์ สร้าง วิษณุ นาคสู่สุข อำนวยการสร้าง วิเชียร วีระโชติ กำกับ[ต้องการอ้างอิง]
  • ใน พ.ศ. 2537 กรุ๊ฟโฟร์ โปรดักชั่น สร้าง สิทธิชัย พัฒนดำเกิง กำกับ อาทิตย์ เขียนบท ออกฉาย 8 พฤศจิกายน[ต้องการอ้างอิง]

และสร้างเป็นละครโทรทัศน์จักร ๆ วงศ์ ๆ ทางช่อง 7 อีก 2 ครั้ง ดังนี้

  • ใน พ.ศ. 2537 สามเศียร และดาราวีดีโอ สร้าง สยม สังวริบุตร และสมชาย สังข์สวัสดิ์ กำกับ รัมภา ภิรมย์ภักดี (ภาวิต) และลุลินารถ สุนทรพฤกษ์ เขียนบท[ต้องการอ้างอิง]
  • ใน พ.ศ. 2552 สามเศียร สร้าง คูณฉกาจ วรสิทธิ์ กำกับ รัมภา ภิรมย์ภักดี (พิกุลแก้ว) เขียนบท ออกอากาศ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

  1. "อัศจรรย์รักข้ามขอบฟ้า จากมะเมียะถึง ซินเดอเรลล่า". กรุงเทพธุรกิจ. 14 July 2013. สืบค้นเมื่อ 18 June 2016.
  2. "ปลาบู่ทอง". กระทรวงวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-10. สืบค้นเมื่อ 18 June 2016.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9