ดาวศุกร์ (อังกฤษ : Venus ) เป็นดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ เป็นลำดับที่ 2 เมื่อมองจากโลกในตอนกลางคืน ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าซึ่งสว่างรองลงมาจากดวงจันทร์ [ 1] [ 2] ดาวศุกร์มีวงโคจรอยู่ภายในวงโคจรของโลก ทำให้เมื่อสังเกตแล้วจะไม่ปรากฏว่าห่างจากดวงอาทิตย์มากนัก กล่าวคือ จะเห็นในตอนหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง " หรือเห็นในตอนเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก " หรือ "ดาวรุ่ง"
ดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ช้ามากและหมุนรอบตัวเองช้าเช่นกัน โดยโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 224.7 วันของโลก[ 3] และหมุนรอบตัวเองครบบริบูรณ์โดยใช้เวลา 243 วันของโลก แต่มีความยาววันสุริยคติ 117 วันของโลก ด้วยเหตุนี้ ดาวศุกร์จึงจัดเป็นดาวที่หมุนรอบตัวเองช้าที่สุดในระบบสุริยะ นอกจากนี้ ดวงอาทิตย์บนดาวศุกร์จะขึ้นทางทิศตรงกันข้ามกับโลก คือ ขึ้นทางทิศตะวันตกและตกทางทิศตะวันออก[ 4] ดาวศุกร์ไม่มีบริวารธรรมชาติเช่นเดียวกับดาวพุธ[ 5]
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน และมักกล่าวว่าเป็นดาวน้องสาวของโลก ด้วยเหตุที่มีขนาดใกล้กัน มวลเกือบเท่ากัน อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เหมือนกัน และมีส่วนประกอบเป็นหินเหมือนกัน อย่างไรก็ตามนั้น ดาวศุกร์มีลักษณะต่างจากโลกอย่างสุดขั้วในหลายด้าน อาทิ มีความหนาแน่นบรรยากาศสูงสุดในบรรดาดาวเคราะห์หินทั้งสี่ดวง ความดันบรรยากาศบนดาวศุกร์มีค่าประมาณ 92 เท่าของความดันบรรยากาศโลกที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง ในบรรยากาศนั้นก็ประกอบไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 96% อุณหภูมิเฉลี่ยบนดาวศุกร์มีค่า 737 K (464 °C; 867 °F) ซึ่งสูงกว่าดาวพุธซึ่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์มีเมฆซึ่งประกอบด้วยกรดซัลฟิวริก สะท้อนแสงได้ดีมาก จนไม่เห็นพื้นผิวในย่านแสงที่มองเห็น ในอดีตเชื่อว่า ดาวศุกร์เคยมีมหาสมุทร[ 6] [ 7] แต่ต่อมามหาสมุทรระเหยเหือดแห้งไปอันเนื่องจาก ปรากฏการณ์เรือนกระจกแบบควบคุมไม่ได้ (runaway greenhouse effect)[ 8] น้ำที่ระเหยไปนั้นเชื่อว่าอาจถูกสลายด้วยแสง และไฮโดรเจนจากน้ำก็ถูกนำออกไปในบรรยากาศโดยลมสุริยะ [ 9]
การที่ดาวศุกร์มีความสว่างมากนี้เอง ทำให้มนุษย์มีความสนใจใคร่รู้และจดบันทึกการโคจร นับแต่สองพันปีก่อนคริสตกาล[ 10] ครั้นพัฒนาการสำรวจอวกาศได้รุดหน้า มนุษย์ได้สนใจใคร่รู้และสำรวจดาวศุกร์เป็นดาวแรกเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยยานมารีเนอร์ 2 แปดปีต่อมายานเวเนรา 7 ก็ลงจอดยังผิวดาวศุกร์ ถึงกระนั้น เนื่องจากดาวศุกร์มีเมฆหนาทึบ การสำรวจพื้นผิวในรายละเอียดก็ไม่สามารถกระทำได้ดีนัก จนกระทั่งมียานมาเจลลัน สำรวจดาวศุกร์เมื่อ พ.ศ. 2534 ในปัจจุบันมีความพยายามศึกษาความเป็นไปได้ของชีวิตบนดาวศุกร์ ซึ่งยังเป็นหัวข้อวิจัยที่มีการถกเถียงกันอย่างมากอยู่
ชื่อของดาวศุกร์ในภาษาอังกฤษ มีที่มาจากเทพีแห่งความรักในเทพปกรณัม โรมัน ส่วนในภาษาไทย มาจากเทพพระศุกร์ หรือศุกระ ผู้เป็นครูของมารและเป็นเทพแห่งความงาม[ 11] ดาวศุกร์ในโหราศาสตร์หมายถึงความรัก ความงาม ความสัมพันธ์ ความสุข และความพึงพอใจ[ 12] สัญลักษณ์ ของดาวศุกร์ในทางโหราศาสตร์และดาราศาสตร์สากล คือ ♀ อันเป็นสัญลักษณ์แทนเพศหญิง ส่วนในโหราศาสตร์ไทย ใช้ ๖ (เลขหกไทย)
ลักษณะทางกายภาพ
ขนาดของดาวศุกร์เมื่อเทียบกับโลก
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หินในจำนวนทั้งหมด 4 ดวงในระบบสุริยะ ซึ่งหมายความว่า ส่วนประกอบอันประกอบขึ้นเป็นดาวศุกร์นั้นเป็นหินเช่นเดียวกับโลก ยิ่งกว่านั้น ดาวศุกร์มีขนาดและมวลเท่ากับโลก จึงถูกขนานนามว่าเป็น น้องสาว หรือ ฝาแฝด ของโลก[ 13] เส้นผ่านศูนย์กลางของดาวศุกร์คือ 12,103.6 km (7,520.8 mi) ซึ่งเล็กกว่าโลกไป 638.4 km (396.7 mi) นอกจากนี้ยังมีมวล 81.5% ของมวลโลก อย่างไรก็ตามนั้น สภาวะบรรยากาศบนดาวศุกร์ต่างจากบนโลกอย่างมาก บรรยากาศของดาวศุกร์ประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 96.5% มีไนโตรเจนเพียง 3.5%[ 14] ความดันบรรยากาศและอุณหภูมิที่ผิวดาวศุกร์มีค่า 9.3 เมกะปาสกาล (93 บาร์) และ 737 K (464 °C; 867 °F) ตามลำดับ ซึ่งอยู่สูงกว่าจุดวิกฤตทางอุณหพลศาสตร์ เป็นเหตุให้บรรยากาศของดาวศุกร์มีลักษณะเป็นของไหลวิกฤตยวดยิ่ง
บรรยากาศและภูมิอากาศ
โครงสร้างเมฆของดาวศุกร์ ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2559
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดาวศุกร์มีบรรยากาศหนาแน่นมากถึงขั้นที่ว่าสสารในบรรยากาศเป็นของไหลวิกฤตยวดยิ่ง คือถูกอัดอย่างมากแต่ไม่ถึงกับเป็นของแข็ง[ 15]
มวลของบรรยากาศของดาวศุกร์มีค่า 92 เท่าของโลก ส่วนความดันบรรยากาศบนดาวศุกร์พื้นผิวมีค่า 93 เท่าของโลก ซึ่งเทียบได้กับความดันในมหาสมุทรลึก 1 km (5 ⁄8 mi) บนโลก ความหนาแน่นบนพื้นผิวดาวศุกร์มีค่า 65 kg/m3 คือประมาณ 6.5% ของน้ำ หรือ 50 เท่าของความดันบรรยากาศโลกที่ระดับน้ำทะเลปานกลางอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส (293 เคลวิน; 20 องศาเซลเซียส; 68 องศาฟาเรนไฮต์)* ด้วยเหตุที่ดาวศุกร์มีคาร์บอนไดออกไซด์มาก ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก รุนแรงที่สุดในระบบสุริยะ อุณหภูมิบนดาวศุกร์สูงอย่างน้อย 462 องศาเซลเซียส (735 เคลวิน; 462 องศาเซลเซียส; 864 องศาฟาเรนไฮต์)* .[ 3] [ 16] ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิพื้นผิวของดาวพุธ อนึ่ง ดาวพุธได้ฉายาว่า เตาไฟแช่แข็ง ด้วยเหตุที่อุณหภูมิพื้นผิวต่ำสุดมีค่า −220 องศาเซลเซียส (53 เคลวิน; −220 องศาเซลเซียส; −364 องศาฟาเรนไฮต์)* และอุณหภูมิสูงสุดมีค่า 427 องศาเซลเซียส (700 เคลวิน; 427 องศาเซลเซียส; 801 องศาฟาเรนไฮต์)* ,[ 17] [ 18] ดาวศุกร์มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์เกือบสองเท่าของระยะห่างระหว่างดาวพุธกับดวงอาทิตย์ เป็นเหตุให้ดาวศุกร์ได้รับพลังงานจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ประมาณ 25% แต่กลับมีอุณหภูมิสูงมากก็ด้วยภาวะเรือนกระจก แก๊สในบรรยากาศกักความร้อนมิให้ออกจากบรรยากาศ ตารางต่อไปนี้แสดงอุณหภูมิที่ภาวะต่าง ๆ ของดาวศุกร์
อุณหภูมิดาวศุกร์
สภาวะ
อุณหภูมิ
อุณหภูมิพื้นผิวสูงสุด
900°F (482°C)
อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย
847°F (453°C)
อุณหภูมิพื้นผิวต่ำสุด
820°F (438°C)
[ 19]
บรรยากาศของดาวศุกร์อุดมไปด้วยแก๊สเฉื่อย เช่นเดียวกับบนโลก[ 20] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของดาวศุกร์ซึ่งก่อกำเนิดแบบเดียวกับโลก ในระยะแรกนักดาราศาสตร์เชื่อว่ามีน้ำในบรรยากาศดาวศุกร์แบบเดียวกับโลก[ 21] ต่อมาเมื่อดาวศุกร์ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ตลอดจนถึงเกิดภาวะเรือนกระจก ก็ทำให้น้ำในบรรยากาศดาวศุกร์อันตรธานหายไป[ 22] แม้ว่าอุณหภูมิบนดาวศุกร์จะไม่เอื้ออำนวยให้เกิดสิ่งมีชีวิต แต่นักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่าเมฆชั้นบนที่ความสูง 50 km (30 mi) จากพื้นผิว ซึ่งมีอุณหภูมิ 30 และ 80 องศาเซลเซียส (303 และ 353 เคลวิน; 30 และ 80 องศาเซลเซียส; 86 และ 176 องศาฟาเรนไฮต์)* ก็อาจจะมีสิ่งมีชีวิตที่ทนต่อกรดรุนแรงได้บ้างอาศัยอยู่[ 23] [ 24] [ 25]
บนดาวศุกร์ เหนือชั้นคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเมฆหนาซึ่งอุดมไปด้วยกรดซัลฟิวริกผสมกับน้ำ และมีเฟอร์ริกคลอไรด์ ประมาณ 1%[ 26] [ 27] นอกจากนี้อาจมีเฟอร์ริกซัลเฟต อะลูมิเนียมคลอไรด์ และ ฟอสฟอริกแอนไฮไดรด์ เมฆของดาวศุกร์ที่ระดับความสูงต่างกันมีส่วนประกอบต่างกัน และมีการจำแนกขนาดอนุภาคไม่เหมือนกัน[ 26] เมฆเหล่านี้สะท้อนและกระเจิงแสงจากดวงอาทิตย์ประมาณ 90% ออกไป ทำให้ไม่สามารถมองเห็นผิวของดาวศุกร์ และทำให้พื้นผิวดาวศุกร์มืดมัวกว่าพื้นผิวโลก เหนือเมฆของดาวศุกร์มีลมพัดด้วยอัตราเร็วประมาณ 300 km/h (190 mph) ไปรอบดาวศุกร์โดยใช้เวลา 4-5 วันของโลก[ 28] บนดาวศุกร์อัตราเร็วลมมีค่าได้ถึง 60 เท่าของอัตราเร็วการหมุน แต่บนโลกลมที่แรงที่สุดมีอัตราประมาณ 10-20% ของอัตราเร็วการหมุนของโลก[ 29]
พื้นผิวดาวศุกร์มีสภาวะไอโซเทอร์มัล หมายถึง อุณหภูมิบนพื้นผิวมีค่าเท่ากันตลอดทั้งขั้วและเส้นศูนย์สูตร[ 30] [ 31] มุมเอียงแกนของดาวศุกร์มีค่าน้อยกว่า
3° เมื่อเทียบกับโลกซึ่งมีมุมเอียง 23° ทำให้ไม่เกิดฤดูกาลบนดาวศุกร์[ 32] ความสูงจากพื้นผิวถือเป็นปัจจัยไม่กี่อย่างที่ส่งผลต่ออุณหภูมิบนผิวดาวศุกร์ จุดสูงสุดบนดาวศุกร์ คือภูเขาแม็กซเวลล์มอนทีส จัดเป็นจุดที่อุณหภูมิต่ำที่สุดบนดาวศุกร์ มีอุณหภูมิประมาณ 380 องศาเซลเซียส (653 เคลวิน; 380 องศาเซลเซียส; 716 องศาฟาเรนไฮต์)* และมีความดันบรรยากาศประมาณ 4.5 MPa (45 bar)[ 33] [ 34]
ในปี พ.ศ. 2538 ยานอวกาศมาเจลลันถ่ายภาพที่เชื่อว่าเป็นหิมะบนภูเขาแม็กซเวลล์มอนทีส สสารดังกล่าวมีกระบวนการก่อตัวคล้ายหิมะแต่อยู่ในสภาพที่มีอุณหภูมิสูงมาก นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า สสารดังกล่าวอาจเป็นเทลลูเรียม หรือ กาลีนา (ตะกั่วซัลไฟด์)[ 35] ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ยานวีนัสเอ็กซเพรสค้นพบมวลอากาศเย็นที่ขั้วใต้ของดาวศุกร์[ 36] [ 37] สี่ปีต่อมา ยานวีนัสเอ็กซเพรสยังค้นพบชั้นโอโซน ในบรรยากาศของดาวศุกร์อีกด้วย[ 38]
ภูมิศาสตร์
พื้นผิวและสภาพภูมิศาสตร์ของดาวศุกร์เป็นที่สนใจใคร่รู้ของบรรดานักดาราศาสตร์ทั้งหลายจนกระทั่งมีการส่งยานอวกาศไปยังดาวศุกร์ ในปี พ.ศ. 2518 และ 2525 ยานเวเนรา ได้ส่งภาพพื้นผิวของดาวศุกร์มายังโลก ซึ่งประกอบด้วยตะกอนและหินเหลี่ยม[ 39] ต่อมายานมาเจลลัน ได้บันทึกภาพพื้นผิวของดาวศุกร์ในรายละเอียดระหว่าง พ.ศ. 2533-34 ทำให้เห็นถึงการเกิดภูเขาไฟจำนวนมากบนดาวศุกร์ ในบรรยากาศก็เต็มไปด้วยกำมะถัน ซึ่งอาจบ่งถึงการปะทุของภูเขาไฟบ่อยครั้ง[ 40] [ 41]
พื้นผิวของดาวศุกร์ประมาณร้อยละ 80% เป็นพื้นผิวจากเถ้าภูเขาไฟ ในจำนวนนี้ 70% เป็นที่ราบและเนินลอนคลื่น และ 10% เป็นที่ราบเนินกลม[ 42] ส่วนที่เหลือเป็น "ทวีป" หรือที่ราบสูงสองแห่ง แห่งหนึ่งอยู่ซีกเหนือ อีกแห่งอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรไปไม่ไกล ทวีปเหนือของดาวศุกร์เรียกว่า อิชตาร์เทอร์รา (Ishtar Terra) ตามชื่อของอินันนา เทพเจ้าแห่งความรัก มีขนาดประมาณทวีปออสเตรเลีย ทวีปนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาที่สูงที่สุดบนดาวศุกร์ ชื่อว่า แม็กซเวลล์มอนทีส มีความสูงเฉลี่ยจากพื้นผิวปานกลาง 11 km (7 mi)[ 43] ทวีปใต้ของดาวศุกร์เรียกว่า อะโฟรไดต์เทอร์รา (Aphrodite Terra) ตามชื่อเทพีแห่งความรักของกรีก มีขนาดใหญ่กว่าทวีปเหนือ และมีขนาดประมาณทวีปอเมริกาใต้ ทวีปใต้ของดาวศุกร์ประกอบด้วยรอยเลื่อนและรอยแตกจำนวนมาก[ 44]
แม้ว่าดาวศุกร์จะมีหลุมภูเขาไฟจำนวนมาก แต่ร่องรอยการไหลของลาวา กลับไม่ปรากฏชัดเจน พื้นผิวของดาวศุกร์มีหลุมอุกกาบาต น้อยมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผิวดาวศุกร์มีอายุไม่มากนัก ประมาณ 300-600 ล้านปี[ 45] [ 46] เนื่องจากดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน ทำให้มีหลุมอุกกาบาต ภูเขา หุบเขา รวมไปถึงภูเขาไฟยอดตัด เรียกว่า ฟาร์รา (farra) มีสัณฐานคล้ายขนมบ้าบิ่น และมีขนาดกว้างประมาณ 20 ถึง 50 km (12 ถึง 31 mi) สูงประมาณ 100 ถึง 1,000 m (330 ถึง 3,280 ft) นอกจากภูเขาไฟยอดตัด ก็มีโครงสร้างที่เรียกว่า โนวี (novae) ซึ่งคล้ายกับดาว โครงสร้างที่เรียกว่าอะแรกนอยด์ (arachnoid) ซึ่งคล้ายกับใยแมงมุม และโครงสร้างที่เรียกว่าโคโรนี (coronae) ลักษณะคล้ายวงแหวนมีแอ่งต่ำล้อมรอบ ลักษณะทางดาราธรณีวิทยาเหล่านี้ล้วนเกิดจากภูเขาไฟ [ 47]
บรรดาภูเขาและสิ่งต่าง ๆ บนพื้นผิวดาวศุกร์ ตั้งชื่อตามสตรีในประวัติศาสตร์และในเทพปกรณัม[ 48] ยกเว้น ภูเขาแม็กซเวลล์มอนทีสซึ่งตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เจมส์ คลาร์ก แม็กซเวลล์ รวมถึงยกเว้นแอลฟาเรจิโอ เบตาเรจิโอ และโอฟดาเรจิโอ ซึ่งตั้งชื่อก่อนที่สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล จะกำหนดระบบใหม่ขึ้น[ 49]
ตำแหน่งเมอริเดียนหลักของดาวศุกร์นั้น เดิมทีกำหนดให้พาดผ่านขั้วทั้งสองและผ่านจุดอีฟ ซึ่งตั้งอยู่ตอนใต้ของแอลฟาเรจิโอ[ 50] ต่อมาเมื่อยานเวเนราสำรวจดาวศุกร์สำเร็จแล้ว จึงปรับตำแหน่งเมอริเดียนหลักให้ผ่านยอดเขาซึ่งอยู่ในหลุมอาเรียด ซึ่งตั้งบนที่ราบต่ำเซดนาพลานิเทีย [ 51] [ 52]
ยานวีนัสเอ็กซ์เพรสและยานมาเจลลันค้นพบว่า พื้นผิวบางส่วนของดาวศุกร์มีลักษณะบิดเบี้ยวมาก เรียกว่า เทสเซอรา เมื่อสังเกตโดยใช้การถ่ายภาพจะพบว่ามีสภาพแผ่ความร้อนน้อยกว่าที่ราบบะซอลต์ที่อยู่โดยรอบ[ 6] [ 53]
ภูเขาไฟ
พื้นผิวของดาวศุกร์ส่วนใหญ่มีกำเนิดจากภูเขาไฟ ดาวศุกร์มีภูเขาไฟจำนวนมากกว่าโลกหลายเท่า โดยในจำนวนนี้ 167 ลูก มีขนาดกว้างมากกว่า 100 km (60 mi) ในขณะที่บนโลกภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่เท่านี้มีเพียงที่หมู่เกาะฮาวาย [ 47] : 154 เหตุที่เป็นเช่นนี้ไม่ใช่เพราะดาวศุกร์มีภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง แต่เป็นเพราะผิวดาวศุกร์มีอายุมากกว่าและมีกระบวนการพังทลายไม่เหมือนกัน ผิวโลกใต้ทะเลเมื่อถึงเวลาจะมุดลงใต้แผ่นทวีปอีกแผ่นและหลอมละลายกลับเป็นแมกมา ทำให้มีอายุเฉลี่ยประมาณร้อยล้านปีเท่านั้น[ 54] แต่บนดาวศุกร์ไม่ปรากฏการมุดตัว อายุของผิวดาวจึงมีมากกว่า ประมาณ 300-600 ล้านปี[ 45] [ 47]
เนื่องจากดาวศุกร์มีภูเขาไฟจำนวนมาก การตรวจวัดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จึงแปรไปตามเวลา โดยพบว่า ระหว่าง พ.ศ. 2521 ถึง 2529 ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลดลงประมาณ 10 เท่า ก่อนจะเพิ่มในปี พ.ศ. 2549 ก่อนจะลดลงไปอีก 10 เท่า
[ 55] จากข้อมูลข้างต้นทำให้สังเกตว่า มีการระเบิดของภูเขาไฟหลายครั้งเป็นระยะ ๆ[ 56] [ 57] นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า การระเบิดของภูเขาไฟบนดาวศุกร์เป็นผลให้เกิดฟ้าผ่าบนดาวศุกร์อีกด้วย ในเดือนมกราคม 2563 นักดาราศาสตร์ได้รายงานหลักฐานที่บ่งชี้ว่าดาวศุกร์เป็นดาวที่มีภูเขาไฟปะทุตลอดเวลา โดยเฉพาะการตรวจพบโอลิวีน ซึ่งเป็นผลผลิตจากภูเขาไฟที่สลายตัวง่ายเมื่อปะทุแล้ว[ 58] [ 59]
บรรยากาศ
หลุมอุกกาบาตบนดาวศุกร์
บรรยากาศของดาวศุกร์ ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 97% ไนโตรเจน 3.5% ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ อาร์กอน 0.5% มีชั้นเมฆคาร์บอนไดออกไซด์ ที่หนาทึบมาก ปกคลุมดาวศุกร์ทั้งดวงทำให้สะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดี จึงเห็นดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างสุกใสมาก และยานอวกาศที่ไปสำรวจดาวศุกร์ก็ไม่สามารถถ่ายภาพพื้นผิว โดยตรงได้ ต้องอาศัยคลื่นเรดาห์ผ่านทะลุชั้นเมฆแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์อีกครั้ง
อุณหภูมิของดาวศุกร์ ด้วยชั้นเมฆหนาของดาวศุกร์ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก อุณหภูมิบนดาวศุกร์สูงมาก ประมาณ 400 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน [ 60]
การเคลื่อนที่
ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองในทิศทางที่ต่างจากดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะ
ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และถ้าเราอยู่บนดาวศุกร์เวลา 1 วัน จะไม่ยาวเท่ากับเวลาที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ นี่คือลักษณะพิเศษที่ดาวศุกร์ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงใดๆ นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออก ไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก เพราะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกยาวนาน 58.5 วันของโลก ดาวศุกร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปีของดาวศุกร์จึงยาวนาน 225 วันของโลก [ 61]
ยานอวกาศสำรวจดาวศุกร์
ยานอวกาศที่สำรวจดาวศุกร์ มีด้วยกันหลายลำได้แก่
มาริเนอร์ 2 เมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2505
เวเนรา 4 เมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2510
เวเนรา 7 เมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2513
มาริเนอร์ 10 เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517
เวเนรา 9 เมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2518
เวเนรา 15 เมื่อ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2526
ไพโอเนียร์-วีนัส 2 เมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2521
แมกเจลแลน เมื่อ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2533 [ 62]
อ้างอิง
↑ Lawrence, Pete (2005). "In Search of the Venusian Shadow" . Digitalsky.org.uk . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 11 June 2012. สืบค้นเมื่อ 13 June 2012 .
↑ Walker, John. "Viewing Venus in Broad Daylight" . Fourmilab Switzerland . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2017. สืบค้นเมื่อ 19 April 2017 .
↑ 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nasa_venus
↑ Castro, Joseph (3 February 2015). "What Would It Be Like to Live on Venus?" . Space.com . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2018. สืบค้นเมื่อ 15 March 2018 .
↑ "Moons" . NASA Solar System Exploration . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26 .
↑ 6.0 6.1 Hashimoto, G. L.; Roos-Serote, M.; Sugita, S.; Gilmore, M. S.; Kamp, L. W.; Carlson, R. W.; Baines, K. H. (2008). "Felsic highland crust on Venus suggested by Galileo Near-Infrared Mapping Spectrometer data" . Journal of Geophysical Research: Planets . 113 (E9): E00B24. Bibcode :2008JGRE..113.0B24H . doi :10.1029/2008JE003134 . S2CID 45474562 .
↑ Shiga, David (10 October 2007). "Did Venus's ancient oceans incubate life?" . New Scientist . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2009. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017 .
↑ Jakosky, Bruce M. (1999). "Atmospheres of the Terrestrial Planets". ใน Beatty, J. Kelly; Petersen, Carolyn Collins; Chaikin, Andrew (บ.ก.). The New Solar System (4th ed.). Boston: Sky Publishing. pp. 175–200. ISBN 978-0-933346-86-4 . OCLC 39464951 .
↑ "Caught in the wind from the Sun" . European Space Agency . 28 November 2007. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2011. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008 .
↑ Evans, James (1998). The History and Practice of Ancient Astronomy . Oxford University Press. pp. 296–7. ISBN 978-0-19-509539-5 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2008 .
↑ เทพย์ สาริกบุตร และคณะ. ตำราพรหมชาติ ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ: สำนักงานลูก ส. ธรรมภักดี, ม.ป.ป.
↑ LoveHoro.in.th. "ความหมายของดาวศุกร์ในโหราศาสตร์" . lovehoro.in.th .
↑ Lopes, Rosaly M. C.; Gregg, Tracy K. P. (2004). Volcanic worlds: exploring the Solar System's volcanoes . Springer Publishing . p. 61. ISBN 978-3-540-00431-8 .
↑ "Venus" . Encyclopedia of Science . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2021. สืบค้นเมื่อ 27 September 2020 .
↑ Taylor, Fredric W. (2014). "Venus: Atmosphere" . ใน Tilman, Spohn; Breuer, Doris; Johnson, T. V. (บ.ก.). Encyclopedia of the Solar System . Oxford: Elsevier Science & Technology. ISBN 978-0-12-415845-0 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 12 January 2016 .
↑ "Venus" . Case Western Reserve University . 13 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 26 April 2012. สืบค้นเมื่อ 21 December 2011 .
↑ Lewis, John S. (2004). Physics and Chemistry of the Solar System (2nd ed.). Academic Press . p. 463 . ISBN 978-0-12-446744-6 .
↑ Prockter, Louise (2005). "Ice in the Solar System" (PDF) . Johns Hopkins APL Technical Digest . 26 (2): 175–188. S2CID 17893191 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 20 September 2019. สืบค้นเมื่อ July 27, 2009 .
↑ "Archived copy" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2021. สืบค้นเมื่อ 17 August 2021 .{{cite web }}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์ )
↑ Halliday, Alex N. (2013-03-15). "The origins of volatiles in the terrestrial planets" . Geochimica et Cosmochimica Acta (ภาษาอังกฤษ). 105 : 146–171. Bibcode :2013GeCoA.105..146H . doi :10.1016/j.gca.2012.11.015 . ISSN 0016-7037 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2020 .
↑ Grinspoon, David H. ; Bullock, M. A. (October 2007). "Searching for Evidence of Past Oceans on Venus". Bulletin of the American Astronomical Society . 39 : 540. Bibcode :2007DPS....39.6109G .
↑ Kasting, J. F. (1988). "Runaway and moist greenhouse atmospheres and the evolution of Earth and Venus" . Icarus . 74 (3): 472–494. Bibcode :1988Icar...74..472K . doi :10.1016/0019-1035(88)90116-9 . PMID 11538226 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2019. สืบค้นเมื่อ 25 June 2019 .
↑ Mullen, Leslie (13 November 2002). "Venusian Cloud Colonies" . Astrobiology Magazine . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 16 August 2014.
↑ Landis, Geoffrey A. (July 2003). "Astrobiology: The Case for Venus" (PDF) . Journal of the British Interplanetary Society . 56 (7–8): 250–254. Bibcode :2003JBIS...56..250L . NASA/TM—2003-212310. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 7 August 2011.
↑ Cockell, Charles S. (December 1999). "Life on Venus". Planetary and Space Science . 47 (12): 1487–1501. Bibcode :1999P&SS...47.1487C . doi :10.1016/S0032-0633(99)00036-7 .
↑ 26.0 26.1 Krasnopolsky, V. A.; Parshev, V. A. (1981). "Chemical composition of the atmosphere of Venus". Nature . 292 (5824): 610–613. Bibcode :1981Natur.292..610K . doi :10.1038/292610a0 . S2CID 4369293 .
↑ Krasnopolsky, Vladimir A. (2006). "Chemical composition of Venus atmosphere and clouds: Some unsolved problems". Planetary and Space Science . 54 (13–14): 1352–1359. Bibcode :2006P&SS...54.1352K . doi :10.1016/j.pss.2006.04.019 .
↑ W. B. Rossow; A. D. del Genio; T. Eichler (1990). "Cloud-tracked winds from Pioneer Venus OCPP images" . Journal of the Atmospheric Sciences . 47 (17): 2053–2084. Bibcode :1990JAtS...47.2053R . doi :10.1175/1520-0469(1990)047<2053:CTWFVO>2.0.CO;2 . ISSN 1520-0469 .
↑ Normile, Dennis (7 May 2010). "Mission to probe Venus's curious winds and test solar sail for propulsion". Science . 328 (5979): 677. Bibcode :2010Sci...328..677N . doi :10.1126/science.328.5979.677-a . PMID 20448159 .
↑ Williams, David R. (25 November 2020). "Venus Fact Sheet" . NASA Goddard Space Flight Center. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2018. สืบค้นเมื่อ 2021-04-15 .
↑ Lorenz, Ralph D.; Lunine, Jonathan I.; Withers, Paul G.; McKay, Christopher P. (2001). "Titan, Mars and Earth: Entropy Production by Latitudinal Heat Transport" (PDF) . Ames Research Center , University of Arizona Lunar and Planetary Laboratory. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2018. สืบค้นเมื่อ 21 August 2007 .
↑ "Interplanetary Seasons" . NASA Science . NASA. Jun 19, 2000. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14 .
↑ Basilevsky A. T.; Head J. W. (2003). "The surface of Venus" . Reports on Progress in Physics . 66 (10): 1699–1734. Bibcode :2003RPPh...66.1699B . doi :10.1088/0034-4885/66/10/R04 . S2CID 13338382 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 2 December 2019 .
↑ McGill, G. E.; Stofan, E. R.; Smrekar, S. E. (2010). "Venus tectonics" . ใน T. R. Watters; R. A. Schultz (บ.ก.). Planetary Tectonics . Cambridge University Press. pp. 81–120. ISBN 978-0-521-76573-2 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2016. สืบค้นเมื่อ 18 October 2015 .
↑ Otten, Carolyn Jones (2004). " "Heavy metal" snow on Venus is lead sulfide" . Washington University in St Louis . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2008. สืบค้นเมื่อ 21 August 2007 .
↑ Hand, Eric (November 2007). "European mission reports from Venus". Nature (450): 633–660. doi :10.1038/news.2007.297 . S2CID 129514118 .
↑ Staff (28 November 2007). "Venus offers Earth climate clues" . BBC News . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2009. สืบค้นเมื่อ 29 November 2007 .
↑ "ESA finds that Venus has an ozone layer too" . European Space Agency. 6 October 2011. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2012. สืบค้นเมื่อ 25 December 2011 .
↑ Mueller, Nils (2014). "Venus Surface and Interior" . ใน Tilman, Spohn; Breuer, Doris; Johnson, T. V. (บ.ก.). Encyclopedia of the Solar System (3rd ed.). Oxford: Elsevier Science & Technology. ISBN 978-0-12-415845-0 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 12 January 2016 .
↑ Esposito, Larry W. (9 March 1984). "Sulfur Dioxide: Episodic Injection Shows Evidence for Active Venus Volcanism" . Science . 223 (4640): 1072–1074. Bibcode :1984Sci...223.1072E . doi :10.1126/science.223.4640.1072 . PMID 17830154 . S2CID 12832924 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 2 December 2019 .
↑ Bullock, Mark A.; Grinspoon, David H. (มีนาคม 2001). "The Recent Evolution of Climate on Venus" (PDF) . Icarus . 150 (1): 19–37. Bibcode :2001Icar..150...19B . CiteSeerX 10.1.1.22.6440 . doi :10.1006/icar.2000.6570 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 23 ตุลาคม 2003.
↑ Basilevsky, Alexander T.; Head, James W. III (1995). "Global stratigraphy of Venus: Analysis of a random sample of thirty-six test areas" . Earth, Moon, and Planets . 66 (3): 285–336. Bibcode :1995EM&P...66..285B . doi :10.1007/BF00579467 . S2CID 21736261 .
↑ Jones, Tom; Stofan, Ellen (2008). Planetology: Unlocking the Secrets of the Solar System . National Geographic Society. p. 74. ISBN 978-1-4262-0121-9 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2017. สืบค้นเมื่อ 20 April 2017 .
↑ Kaufmann, W. J. (1994). Universe . New York: W. H. Freeman . p. 204 . ISBN 978-0-7167-2379-0 .
↑ 45.0 45.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Nimmo98
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Strom1994
↑ 47.0 47.1 47.2 Frankel, Charles (1996). Volcanoes of the Solar System . Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-47770-3 .
↑ Batson, R.M.; Russell J. F. (18–22 March 1991). "Naming the Newly Found Landforms on Venus" (PDF) . Proceedings of the Lunar and Planetary Science Conference XXII . Houston, Texas. p. 65. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2011. สืบค้นเมื่อ 12 July 2009 .
↑ Carolynn Young, บ.ก. (1 August 1990). The Magellan Venus Explorer's Guide . California: Jet Propulsion Laboratory. p. 93. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2016. สืบค้นเมื่อ 13 January 2016 .
↑ Davies, M. E.; Abalakin, V. K.; Bursa, M.; Lieske, J. H.; Morando, B.; Morrison, D.; Seidelmann, P. K.; Sinclair, A. T.; Yallop, B.; Tjuflin, Y. S. (1994). "Report of the IAU Working Group on Cartographic Coordinates and Rotational Elements of the Planets and Satellites". Celestial Mechanics and Dynamical Astronomy . 63 (2): 127–148. Bibcode :1996CeMDA..63..127D . doi :10.1007/BF00693410 . S2CID 189850694 .
↑ Kenneth Seidelmann, P.; Archinal, B. A.; A’hearn, M. F.; Conrad, A.; Consolmagno, G. J.; Hestroffer, D.; Hilton, J. L.; Krasinsky, G. A.; Neumann, G.; Oberst, J.; Stooke, P.; Tedesco, E. F.; Tholen, D. J.; Thomas, P. C.; Williams, I. P. (July 2007). "Report of the IAU/IAG Working Group on cartographic coordinates and rotational elements: 2006" . Celestial Mechanics and Dynamical Astronomy . 98 (3): 155–180. Bibcode :2007CeMDA..98..155S . doi :10.1007/s10569-007-9072-y .
↑ Carolynn Young, บ.ก. (1 August 1990). The Magellan Venus Explorer's Guide . California: Jet Propulsion Laboratory. pp. 99–100. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2016. สืบค้นเมื่อ 13 January 2016 .
↑ Helbert, Jörn; Müller, Nils; Kostama, Petri; Marinangeli, Lucia; Piccioni, Giuseppe; Drossart, Pierre (2008). "Surface brightness variations seen by VIRTIS on Venus Express and implications for the evolution of the Lada Terra region, Venus" . Geophysical Research Letters (ภาษาอังกฤษ). 35 (11): L11201. Bibcode :2008GeoRL..3511201H . doi :10.1029/2008GL033609 . ISSN 1944-8007 .
↑ Karttunen, Hannu; Kroger, P.; Oja, H.; Poutanen, M.; Donner, K. J. (2007). Fundamental Astronomy . Springer. p. 162 . ISBN 978-3-540-34143-7 .
↑ Bauer, Markus (3 December 2012). "Have Venusian volcanoes been caught in the act?" . European Space Agency. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14 .
↑ Glaze, Lori S. (August 1999). "Transport of SO2 by explosive volcanism on Venus" . Journal of Geophysical Research . 104 (E8): 18899–18906. Bibcode :1999JGR...10418899G . doi :10.1029/1998JE000619 .
↑ Marcq, Emmanuel; Bertaux, Jean-Loup; Montmessin, Franck; Belyaev, Denis (January 2013). "Variations of sulfur dioxide at the cloud top of Venus's dynamic atmosphere" . Nature Geoscience . 6 (1): 25–28. Bibcode :2013NatGe...6...25M . doi :10.1038/ngeo1650 . S2CID 59323909 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 2 December 2019 .
↑ Hall, Sannon (9 January 2020). "Volcanoes on Venus Might Still Be Smoking - Planetary science experiments on Earth suggest that the sun's second planet might have ongoing volcanic activity" . The New York Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2020. สืบค้นเมื่อ 10 January 2020 .
↑ Filiberto, Justin (3 January 2020). "Present-day volcanism on Venus as evidenced from weathering rates of olivine" . Science . 6 (1): eaax7445. Bibcode :2020SciA....6.7445F . doi :10.1126/sciadv.aax7445 . PMC 6941908 . PMID 31922004 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-12-23. สืบค้นเมื่อ 2010-12-24 .
↑ http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phitsanulok/suwicha_p/venus.html
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2010-12-23. สืบค้นเมื่อ 2010-12-24 .
แหล่งข้อมูลอื่น