Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

วงโคจร

สถานีอวกาศนานาชาติ (The International Space Station) กำลังโคจรอยู่เหนือโลก
ดาวเทียมโคจรรอบโลกจะมีความเร็วแนวเส้นสัมผัสและความเร่งสู่ภายใน
ดาวสองดวงที่มีความแตกต่างกันของมวลโคจรแบบ แบรีเซนเตอร์ ที่พบได้บ่อย ๆ ขนาดสัมพัทธ์และประเภทของวงโคจรมีลักษณะที่คล้ายกับระบบดาวพลูโต-แครัน (Pluto–Charon system)

ในฟิสิกส์, วงโคจรเป็นเส้นทางโค้งแห่งแรงโน้มถ่วงของวัตถุรอบ ๆ จุดในอวกาศ, ตัวอย่างเช่นวงโคจรของดาวเคราะห์รอบจุดศูนย์กลางของระบบดาว, อย่างเช่นระบบสุริยะ [1][2] วงโคจรของดาวเคราะห์มักจะเป็นวงรี วงโคจร คือ เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุหนึ่งรอบอีกวัตถุหนึ่ง โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลแรงสู่ศูนย์กลาง อาทิ ความโน้มถ่วง ตัวอย่างเช่น วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก คำกริยาใช้ว่า "โคจร" เช่น โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเทียมไทยคมโคจรรอบโลก

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม แต่ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่แล้ววัตถุหนึ่งจะโคจรรอบอีกวัตถุหนึ่งในวงโคจรที่เป็นวงรี

ความเข้าใจในปัจจุบันในกลศาสตร์ของการเคลื่อนที่ในวงโคจรอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งคิดสำหรับแรงโน้มถ่วงอันเนื่องจากความโค้งของอวกาศ-เวลาที่มีวงโคจรตามเส้น จีโอแดสิค (geodesics) เพื่อความสะดวกในการคำนวณ สัมพัทธภาพจะเป็นค่าประมาณโดยทั่วไปของทฤษฎีพื้นฐานแห่งแรงโน้มถ่วงสากลตามกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเค็พเพลอร์ [3]

ประวัติ

ในอดีตปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้มีความเข้าใจกันมาก่อนหน้าในเชิงเรขาคณิต (และโดยไม่คำนึงถึงแรงโน้มถ่วง) ในแง่ของ ทฤษฎีแอปปิไซเคิล (epicycles) ซึ่งเป็นผลรวมของการเคลื่อนที่เป็นวงกลมเป็นจำนวนมาก ทฤษฎีชนิดนี้คาดการณ์เส้นทางของดาวเคราะห์ได้ดีพอควร จนกระทั่ง โยฮันเนิส เค็พเพลอร์ กฎข้อที่หนึ่งเค็พเพลอร์กล่าวไว้ว่า "ดาวเคราะห์โคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่งโฟกัสของวงรี" แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ที่แท้แล้วมีการเคลื่อนที่เป็นวงรี (โดยประมาณเป็นอย่างน้อย)

ในแบบจำลองซึ่งมีโลกเป็นจุดศูนย์กลางของระบบสุริยะ แบบจำลองทรงกลมท้องฟ้าถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ปรากฏของดาวเคราะห์ในท้องฟ้าในแง่ของทรงกลมที่สมบูรณ์แบบหรือวงแหวน ยังสามารถบอกตำแหน่งวัตถุบนท้องฟ้าอย่างถูกต้อง แต่หลังจากที่การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้ถูกวัดได้อย่างแม่นยำมากขึ้น กลไกเชิงทฤษฎีเช่น deferent และ epicyclesได้ถูกเพิ่มเติมเข้าไป แม้ว่าจะมีความสามารถในการทำนายตำแหน่งดาวเคราะห์ในท้องฟ้าได้อย่างถูกต้อง, ทฏษฎี epicycles อย่างเช่น นิโคลัส โคเปอร์นิคัส นั้นมองว่ามันไม่สมเหตุสมผล เขาจึงริเริ่มแนวคิดเรื่องระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางHeliocentric ของอริสตาร์ชูส ขึ้นมาใหม่ ทฏษฎี epicycles นั้นจึงได้มีความจำเป็นเพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป, และแบบจำลองก็กลายเป็นความเทอะทะเพิ่มมากยิ่งขึ้น

พื้นฐานสำหรับการทำความเข้าใจในยุคสมัยใหม่เกี่ยวกับวงโคจรเป็นสูตรแรกที่คิดขึ้นโดยโยฮันเนิส เค็พเพลอร์ที่มีผลการสรุปในสามกฎของการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ประการแรกเขาพบว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราเป็นวงรี ไม่ได้เป็นวงกลม (หรือ epicyclic) ดังเช่นที่เคยเชื่อกัน และยังกล่าวว่าดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ที่ศูนย์กลางของวงโคจร แต่อยู่ที่จุดโฟกัสจุดหนึ่ง ประการที่สอง เขาพบว่าความเร็วของการโคจรของดาวเคราะห์แต่ละดวงไม่คงที่ดังที่เคยคิดไว้ก่อนหน้านี้ว่าเวลาที่ดาวเคราะห์ใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ คาบเวลาเท่ากันจะกวาดได้พื้นที่เท่ากัน แต่พบว่าความเร็วขึ้นอยู่กับระยะห่างของดาวเคราะห์จากดวงอาทิตย์ ประการที่สามเค็พเพลอร์พบความสัมพันธ์สากลระหว่างสมบัติการโคจรของดาวเคราะห์ทั้งหมดที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ สำหรับดาวเคราะห์, กำลังสามของระยะทางจากดวงอาทิตย์เป็นสัดส่วนกับกำลังสองของคาบการโคจรของมัน ยกตัวอย่างเช่น ดาวพฤหัสบดีและดาวศุกร์จะมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 5.2 และ 0.723 หน่วยดาราศาสตร์ (AU), มีคาบการโคจรประมาณ 11.86 ปี และ 0.615 ปี ตามลำดับ ความเป็นสัดส่วนกันนั้นจะเห็นได้โดยข้อเท็จจริงที่อัตราส่วนดังกล่าวสำหรับดาวพฤหัสบดีเป็น 5.23/11.862, สำหรับดาวศุกร์เป็น 0.7233/0.6152 สอดคล้องกับความสัมพันธ์กันตามกฏดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์ดวงใดก็ตามประการที่ 3 นี้เรียกว่า “กฎฮาร์มอนิก” (Harmonic Law)

เส้นที่ลากออกเป็นวงโคจรที่เป็นอิทธิพลเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงของแหล่งกำเนิดศูนย์กลางคือภาคตัดกรวย: รูปร่างของเส้นโค้งของจุดตัดระหว่างระนาบและกรวย ได้แก่ พาราโบลา (1) และไฮเปอโบลา (3) วงโคจรที่เป็นวงโคจรหลุดพ้นจะเป็นวงโคจรที่เป็นรูปวงรีและวงกลม คือ จะไม่มีทางออก (2)
ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงเส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ (trajectory) ในบ่อศักย์ความโน้มถ่วงของสนามพลังงานศักย์ของศูนย์กลางมวลสี่ประเภท โดยแสดงให้เห็นในส่วนที่เป็นสีดำและความสูงของพลังงานจลน์ของวัตถุเคลื่อนไหวที่แสดงในส่วนที่เป็นสีแดงที่ยืดขยายออกไป, ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราเร็วตามการเปลี่ยนแปลงของระยะทางอันสอดคล้องกันกับกฎของเค็พเพลอร์

ไอแซก นิวตัน ได้แสดงให้เห็นว่ากฎของเค็พเพลอร์เป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของเขาและกล่าวอีกว่า, โดยทั่วไปแล้ว วงโคจรของวัตถุอันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงคือภาคตัดกรวยถ้าแรงโน้มถ่วงถูกแพร่กระจายออกอย่างทันทีทันใด นิวตันแสดงให้เห็นว่าคู่ของวัตถุ, ขนาดวงโคจร, จะเป็นสัดส่วนผกผันกับมวลของมันเอง, วัตถุนั้นจะโคจรไปรอบๆของ ศูนย์กลางมวล (center of mass) ร่วมกัน เมื่อวัตถุหนึ่งที่มีขนาดของมวลมากกว่าขนาดของมวลอื่น ๆ มันจะเป็นการประมาณการที่สะดวกในการที่จะใช้เป็นศูนย์กลางของมวลนั้นที่มีความสอดคล้องต้องกันกับศูนย์กลางมวลของวัตถุที่มีขนาดมวลที่มีขนาดมากกว่า

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) สามารถที่จะแสดงให้เห็นได้ว่าแรงโน้มถ่วงนั้นเกิดจากความโค้งของกาล-อวกาศ (space-time)หรืออาจจะแปลว่าปริภูมิก็ได้ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเป็นทฤษฎีเชิงเรขาคณิตที่ถือหลักว่ามวลและพลังงานทำให้เกิดการโค้งงอของกาล-อวกาศ การโค้งนี้ส่งผลต่อเส้นทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคอิสระรวมทั้งแสง และเขาก็สามารถที่จะลบล้างสมมติฐานของนิวตันที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงแพร่กระจายตัวออกไปอย่างทันทีทันใดของแรงโน้มถ่วงลงได้อีกด้วย

อ้างอิง

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9