Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ซีรีส (ดาวเคราะห์แคระ)

ซีรีส  ⚳

ภาพดาวซีรีส ถ่ายโดยยานดอว์น เมื่อ 6
พฤษภาคม 2558 จากระยะทาง 13,600 กิโลเมตร
การค้นพบ[1]
ค้นพบโดย:จูเซปเป ปีอัซซี
ค้นพบเมื่อ:1 มกราคม ค.ศ. 1801
ชื่ออื่น ๆ:A899 OF; 1943 XB
ชนิดของดาวเคราะห์น้อย:ดาวเคราะห์แคระ
แถบดาวเคราะห์น้อย
ลักษณะของวงโคจร[2]
ต้นยุคอ้างอิง 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005
(JD 2453700.5)
ระยะจุดไกล
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
447,838,164 กม.
(2.987 หน่วยดาราศาสตร์)
ระยะจุดใกล้
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
381,419,582 กม.
(2.544 หน่วยดาราศาสตร์)
กึ่งแกนเอก:414,703,838 กม.
(2.766 หน่วยดาราศาสตร์)
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.07934
คาบดาราคติ:1679.819 วัน (4.599 ปีจูเลียน)
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
17.882 กม./วินาที
มุมกวาดเฉลี่ย:27.448°
ความเอียง:10.585°[3]
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
80.410°
มุมของจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
73.271°
ลักษณะทางกายภาพ
มิติ:975×909 กม.
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร:
975.6 ± 1.8 กม.[4]
พื้นที่ผิว:2,850,000 ตร.กม.
มวล:9.43±0.07×1020 กก.[5]
ความหนาแน่นเฉลี่ย:2.077 ± 0.036 กรัม/ซม.³[4]
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
0.27 เมตร/วินาที²
ความเร็วหลุดพ้น:0.51 กม./วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
0.3781 วัน (9.074170 ชม.)[6][7]
ความเอียงของแกน:59°[4]
ความเอียงแกน:ราว 3°[4]
ไรต์แอสเซนชัน
ของขั้วเหนือ:
19 ชั่วโมง 24 นาที
291°[4]
อัตราส่วนสะท้อน:0.090 ± 0.0033
(V-band geometric)[8]
อุณหภูมิพื้นผิว:
   เคลวิน
ต่ำสุดเฉลี่ยสูงสุด
~137 K[9]235 K[9]
ชนิดสเปกตรัม:C[10]
ขนาดเชิงมุม:0.84" ถึง 0.33"

ซีรีส (อังกฤษ: Ceres; สัญลักษณ์: ⚳)[11] หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า 1 ซีรีส เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดและเป็นดาวเคราะห์แคระดวงเดียวในระบบสุริยะชั้นใน[12][13][14] เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบ โดยจูเซปเป ปีอัซซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801[15][16] ตั้งตามชื่อซีรีส เทพีโรมันแห่งการปลูกพืช เก็บเกี่ยวและความรักอย่างมารดา

ดาวซีรีสมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 950 กิโลเมตรและประกอบด้วยมวลหนึ่งในสามของมวลทั้งหมดในแถบดาวเคราะห์น้อย[17][18] พื้นผิวดาวซีรีสอาจเป็นส่วนผสมของน้ำแข็งและธาตุที่ถูกไฮเดรต เช่น คาร์บอเนตและดินเหนียว[10] จำแนกเป็นแก่นหินและแมนเทิลน้ำแข็ง[4] และอาจมีมหาสมุทรน้ำในสถานะของเหลวกักเก็บไว้ใต้พื้นผิว[19][20]

จากโลก โชติมาตรปรากฏของดาวซีรีสอยู่ระหว่าง 6.7 ถึง 9.3 ดังนั้นแม้ในช่วงสว่างที่สุดก็ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า ยกเว้นท้องฟ้าที่มืดอย่างยิ่ง[21] วันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2007 นาซาส่งยานสำรวจอวกาศดอว์นไปสำรวจเวสตา (2011-2012) และซีรีส (2015)[22]

การค้นพบ

แนวคิดที่ว่ามีดาวเคราะห์ที่ยังไม่ได้รับการค้นพบอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ได้รับการเสนอโดยโยฮัน เอเลิร์ท โบเดอ ใน ค.ศ. 1772[15] ก่อนหน้าใน ค.ศ. 1596 โยฮันเนิส เค็พเพลอร์ได้สังเกตช่องว่างระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีแล้ว[15] การพิจารณาของโบเดออิงกฎของทีทซีอุส–โบเดอซึ่งเสนอขึ้นครั้งแรกโดยโยฮัน ดานีเอล ทีทซีอุส ใน ค.ศ. 1766 จากการสังเกตว่ามีรูปแบบสม่ำเสมอในกึ่งแกนเอกของดาวเคราะห์ที่ทราบกัน แต่ใช้ไม่ได้เฉพาะกับช่องว่างใหญ่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีเพียงจุดเดียว[15][23] รูปแบบดังกล่าวทำนายว่าดาวเคราะห์ที่หายไปมีกึ่งแกนเอกที่ใกล้กับ 2.8 หน่วยดาราศาสตร์[23] การค้นพบดาวยูเรนัสของวิลเลียม เฮอร์เชล ใน ค.ศ. 1781[15] ใกล้กับระยะห่างที่ทำนายไว้จากวัตถุถัดไปจากดาวเสาร์เพิ่มความเชื่อมั่นในกฎของทีทซีอุส–โบเดอ และใน ค.ศ. 1800 พวกเขาส่งคำร้องไปยังนักดาราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญยี่สิบสี่คน ร้องขอให้พวกเขาประสานงานกันและเริ่มต้นค้นหาดาวเคราะห์ที่คาดคะเนไว้อย่างเป็นระบบ[15][23] กลุ่มนี้ ซึ่งนำโดยฟรันทซ์ ซาเวอร์ ฟ็อน ซัค บรรณาธิการ โมนัทลิชเชอคอเร็สพ็อนเด็นทซ์ (Monatliche Correspondenz) ขณะที่พวกเขาไม่พบดาวซีรีส ภายหลังได้พบดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่จำนวนมาก[23]

หนึ่งในนักดาราศาสตร์ที่ได้รับการคัดเลือกมาค้นหานั้นมีจูเซปเป ปีอัซซี จากสถาบันปาแลร์โม ซิซิลี ก่อนได้รับการเชิญให้เข้าร่วมกลุ่ม จูเซปเป ปีอัซซีค้นพบดาวซีรีสแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801[24] เขากำลังค้นหา "[ดาวฤกษ์]ดวงที่ 87 ในบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์จักรราศีของคุณลากาย" แต่พบว่า "มันตามหลังอีกดวงหนึ่ง"[15] แทนที่จะพบดาวฤกษ์ เขากลับพบวัตถุคล้ายดาวฤกษ์เคลื่อนที่ ซึ่งตอนแรกเขาคิดว่าเป็นดาวหาง[25] ปีอัซซีสังเกตดาวซีรีสรวม 24 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1801 เมื่อความเจ็บป่วยรบกวนการเฝ้าสังเกตของเขา เขาประกาศการค้นพบของตัวเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1801 ในจดหมายถึงนักดาราศาสตร์ผู้ติดตามเพียงสองคน บาร์นาบา โอรีอานี แห่งมิลาน เพื่อนร่วมชาติ และโบเดอแห่งเบอร์ลิน[26] เขารายงานว่ามันเป็นดาวหางแต่ "เพราะการเคลื่อนที่ของมันช้ามากและค่อนข้างมีแบบแผน มันได้ปรากฏต่อผมหลายครั้งจนมันน่าจะเป็นอะไรที่ดีกว่าดาวหาง"[15] ในเดือนเมษายน ปีอัซซีส่งการสังเกตสมบูรณ์ของเขาไปยังโอรีอานี, โบเดอ และเฌโรม ลาล็องด์ ในกรุงปารีส ข้อมูลนี้ได้รับการตีพิมพ์ใน โมนัทลิชเชอคอเร็สพ็อนเด็นทซ์ ฉบับเดือนกันยายน ค.ศ. 1801[25]

ถึงขณะนี้ ตำแหน่งปรากฏของดาวซีรีสได้เปลี่ยนไปแล้ว (ส่วนใหญ่เนื่องจากการหมุนโคจรของโลก) และใกล้แสงจ้าของดวงอาทิตย์เกินกว่าที่นักดาราศาสตร์คนอื่นจะยืนยันการสังเกตของปีอัซซีได้ ดาวซีรีสควรมองเห็นได้อีกครั้ง แต่หลังจากเวลานานเช่นนั้น เป็นการยากที่จะทำนายตำแหน่งที่แน่ชัด เพื่อหาดาวซีรีสอีกครั้ง คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ ซึ่งขณะนั้นอายุ 24 ปี พัฒนาวิธีการตรวจหาวงโคจรที่มีประสิทธิภาพ[25] เขาจัดงานพิจารณาการเคลื่อนที่แบบเคปเลอร์จากการสังเกตสมบูรณ์สามอย่าง (เวลา ไรต์แอสเซนชัน และเดคลิเนชัน) ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ เขาทำนายทางเดินของดาวซีรีสและส่งผลการคำนวณให้แก่ฟ็อน ซัค ในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1801 ฟ็อน ซัค และไฮน์ริช อ็อลเบิร์ส พบดาวซีรีสใกล้กับตำแหน่งที่ทำนายและเป็นการพบอีกครั้งหนึ่ง[25]

การสังเกตช่วงแรกเพียงสามารถคำนวณขนาดของดาวซีรีสได้จากลำดับความสว่างเท่านั้น แฮร์เชลประเมินขนาดมันต่ำกว่าจริงที่ 260 กิโลเมตรใน ค.ศ. 1802 ขณะที่โยฮันน์ ฮีโรนีมุส ชเรอเทอร์ ประเมินขนาดสูงกว่าจริงที่ 2,613 กิโลเมตร[27][28]


ชื่อ

ปีอัซซีเดิมเสนอชื่อ เชเรเร แฟร์ดีนันเดอา (Cerere Ferdinandea) สำหรับการค้นพบของเขา ตามชื่อเทพในตำนานเทพปกรณัมซีรีส (เทพีโรมันแห่งเกษตรกรรม ภาษาอิตาลีว่า เชเรเร) และพระเจ้าเฟอร์ดินันที่ 3 แห่งซิซิลี[15][25] "แฟร์ดีนันเดอา" ไม่ได้รับการยอมรับต่อชาติอื่นในโลกและได้ตัดออก ซีรีสยังเรียกอีกชื่อว่า เฮรา เป็นช่วงสั้น ๆ ในเยอรมนี[29] ในกรีซ ซีรีสเรียกว่า Δήμητρα (เดเมเทอร์) ตามเทพีกรีกที่ตรงกับซีรีสของโรมัน (แต่ในภาษาอังกฤษ ชื่อนั้นใช้สำหรับดาวเคราะห์น้อย 1108 เดเมเทอร์) นอกจากนี้ ชาติอื่น ๆ ยังได้เรียกชื่อต่างกันออกไป แต่ทั้งหมดหมายความถึงซีรีส สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์เก่าของซีรีสเป็นรูปเคียว ⚳ (สัญลักษณ์รูปเคียวของซีรีส) คล้ายคลึงกับสัญลักษณ์ ♀ ของดาวศุกร์ แต่วงกลมไม่ขาด ภายหลังสัญลักษณ์นี้แทนด้วยวงกลมล้อมรอบตัวเลข ①[25][30] ชื่อธาตุซีเรียม ซึ่งค้นพบใน ค.ศ. 1803 ตั้งตามชื่อซีรีส[31] ในปีเดียวกัน อีกธาตุหนึ่งได้ตั้งชื่อตามซีรีสแต่แรก แต่ผู้ค้นพบมันเปลี่ยนชื่อเป็นพัลลาเดียม (ตามชื่อดาวเคราะห์น้อยดวงที่สอง 2 พัลลัส) เมื่อชื่อซีเรียมถูกตั้งไปแล้ว[32]

สถานะ

การจัดประเภทดาวซีรีสนั้นเปลี่ยนแปลงมากกว่าหนึ่งครั้งและยังเป็นหัวข้อถกเถียงกันอยู่ในบางเรื่อง โยฮันน์ อีแลร์ท โบเดอเชื่อว่าดาวซีรีสเป็น "ดาวเคราะห์ที่หายไป" ซึ่งเขาเสนอว่ามีอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ที่ระยะห่าง 419 ล้านกิโลเมตร (2.8 หน่วยดาราศาสตร์) จากดวงอาทิตย์[15] ได้มีการกำหนดสัญลักษณ์ดาวเคราะห์ให้ดาวซีรีส และยังขึ้นทะเบียนเป็นดาวเคราะห์ในหนังสือและตารางดาราศาสตร์หลายแหล่ง (ร่วมกับ 2 พัลลัส, 3 จูโน และ 4 เวสตา) เป็นเวลาราวครึ่งศตวรรษ[15][25][33]

เมื่อวัตถุอื่นถูกค้นพบในบริเวณนั้น จึงเป็นที่ทราบว่าดาวซีรีสเป็นตัวแทนวัตถุชิ้นแรกของชั้นวัตถุคล้ายกันจำนวนมาก[15] ใน ค.ศ. 1802 เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชลได้ประดิษฐ์คำว่า asteroid (ดาวเคราะห์น้อย, ความหมายตามตัวอักษรว่า "คล้ายดาวฤกษ์") สำหรับวัตถุเหล่านี้[33] โดยเขียนว่า "พวกมันดูคล้ายดาวฤกษ์ขนาดเล็กมากเสียจนยากที่จะแยกแยะจากมันได้ แม้แต่กล้องโทรทรรศน์ที่ดีมากก็ตาม"[34] เนื่องจากเป็นวัตถุประเภทนี้ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ จึงได้หมายเลข 1 ภายใต้ระบบการกำหนดหมายเลขดาวเคราะห์น้อยสมัยใหม่[33]

การโต้วาทีเกี่ยวกับดาวพลูโตและองค์ประกอบของ "ดาวเคราะห์" ใน ค.ศ. 2006 ทำให้ดาวซีรีสถูกนำไปพิจารณาจัดประเภทใหม่ในฐานะดาวเคราะห์ด้วย[35][36] การเสนอนิยามดาวเคราะห์ต่อสหภาพดาราศาสตร์สากล ได้นิยามว่าดาวเคราะห์เป็น "เทหวัตถุซึ่ง (ก) มีมวลมากพอที่แรงโน้มถ่วงของตัวเองจะเอาชนะแรงวัตถุแข็งเกร็ง เพื่อที่จะยังคงรูปร่างสมดุลอุทกสถิต (เกือบกลม) ได้, และ (ข) อยู่ในวงโคจรรอบดาวฤกษ์ และต้องไม่ใช่ดาวฤกษ์หรือดาวบริวารของดาวเคราะห์"[37] หากมตินี้ผ่าน จะทำให้ซีรีสเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ห้านับจากดวงอาทิตย์[38] แต่มตินี้ไม่ได้รับการยอมรับ และในประเด็นนิยามทางเลือกมีผลบังคับจนถึงวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2006 กำหนดเงื่อนไขเพิ่มอีกว่า "ดาวเคราะห์" ต้องมี "ย่านโล่งรอบวงโคจรของมัน" ด้วยนิยามนี้ ซีรีสจึงมิใช่ดาวเคราะห์ เพราะมันไม่ได้ครองวงโคจรของมัน แต่ต้องแบ่งกับดาวเคราะห์น้อยอีกหลายพันดวงในแถบดาวเคราะห์น้อยและประกอบด้วยมวลเพียงหนึ่งในสามของมวลทั้งหมด ปัจจุบัน ซีรีสจึงถูกจัดเป็นดาวเคราะห์แคระ

บางครั้งมีการสันนิษฐานว่าดาวซีรีสได้ถูกจัดประเภทเป็นดาวเคราะห์แคระอีกครั้ง และดังนั้น จึงไม่ถูกจัดเป็นดาวเคราะห์น้อยอีกต่อไป ตัวอย่างเช่น ข่าวอัปเดตที่สเปซ.คอม พูดถึง "พัลลัส ดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุด และซีรีส ดาวเคราะห์แคระซึ่งอดีตจัดเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุด" ขณะที่โพสต์ถามและตอบของสหภาพดาราศาสตร์สากลแถลงว่า "ซีรีสเป็น (หรือปัจจุบันเราสามารถพูดได้ว่าเคยเป็น) ดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่สุด"[39] แม้ในหน้านั้นพูดถึง "ดาวเคราะห์น้อยดวงอื่น" ข้ามทางเดินของซีรีสและจึงแสดงนัยว่าซีรีสเองยังเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์น้อย[40] ศูนย์ดาวเคราะห์น้อยบันทึกว่า วัตถุเหล่านี้อาจมีการกำหนดคู่[41] มติสหภาพดาราศาสตร์สากล ค.ศ. 2006 ซึ่งจัดให้ซีรีสเป็นดาวเคราะห์แคระไม่เคยระบุว่ามันเป็นหรือไม่เป็นดาวเคราะห์น้อย และที่จริงแล้ว สหภาพดาราศาสตร์สากลไม่เคยนิยามคำว่า "ดาวเคราะห์น้อย" (asteroid) แต่อย่างใด โดยใช้คำว่า "ดาวเคราะห์น้อย" (minor planet) แทน กระทั่ง ค.ศ. 2006 และ "วัตถุระบบสุริยะขนาดเล็ก" และ "ดาวเคราะห์แคระ" หลัง ค.ศ. 2006 นาซายังเรียกซีรีสว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยต่อไป โดยกล่าวในการแถลงข่าวเมื่อ ค.ศ. 2011 ว่า "ดอว์นจะโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยใหญ่ที่สุดในแถบหลังสองดวง" เช่นเดียวกับหนังสือเรียนวิชาการหลายสำนัก[42] as do various academic textbooks.[43][44]

อ้างอิง

  1. Schmadel, Lutz (2003). Dictionary of minor planet names (5th ed.). Germany: Springer. p. 15. ISBN 978-3-540-00238-3.
  2. Yeomans, Donald K. (July 5, 2007). "1 Ceres". JPL Small-Body Database Browser. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2009-04-10.—The listed values were rounded at the magnitude of uncertainty (1-sigma).
  3. "The MeanPlane (Invariable plane) of the Solar System passing through the barycenter". 2009-04-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-14. สืบค้นเมื่อ 2009-04-10. (produced with Solex 10 เก็บถาวร 2008-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน written by Aldo Vitagliano; see also Invariable plane)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Thomas2005
  5. Carry, Benoit; และคณะ (2007). "Near-Infrared Mapping and Physical Properties of the Dwarf-Planet Ceres" (PDF). Astronomy & Astrophysics. 478 (1): 235–244. arXiv:0711.1152. Bibcode:2008A&A...478..235C. doi:10.1051/0004-6361:20078166. S2CID 6723533. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 May 2008.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NSSDC
  7. Chamberlain, Matthew A. (2007). "Ceres lightcurve analysis – Period determination". Icarus. 188 (2): 451–456. Bibcode:2007Icar..188..451C. doi:10.1016/j.icarus.2006.11.025. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  8. Li, Jian-Yang; McFadden, Lucy A.; Parker, Joel Wm. (2006). "Photometric analysis of 1 Ceres and surface mapping from HST observations". Icarus. 182 (1): 143–160. Bibcode:2006Icar..182..143L. doi:10.1016/j.icarus.2005.12.012.
  9. 9.0 9.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Saint-Pe1993
  10. 10.0 10.1 Rivkin, A. S.; Volquardsen, E. L.; Clark, B. E. (2006). "The surface composition of Ceres: Discovery of carbonates and iron-rich clays" (PDF). Icarus. 185 (2): 563–567. Bibcode:2006Icar..185..563R. doi:10.1016/j.icarus.2006.08.022. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2007. สืบค้นเมื่อ 8 December 2007.
  11. JPL/NASA (2015-04-22). "What is a Dwarf Planet?". Jet Propulsion Laboratory. สืบค้นเมื่อ 2022-01-19.
  12. "NASA – Dawn at a Glance". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
  13. Shiga, David. "Dawn captures first orbital image of asteroid Vesta". New Scientist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
  14. Space Telescope Science Institute (2009). Hubble 2008: Science year in review. NASA Goddard Space Flight Center. p. 66.
  15. 15.00 15.01 15.02 15.03 15.04 15.05 15.06 15.07 15.08 15.09 15.10 15.11 Hoskin, Michael (1992-06-26). "Bodes' Law and the Discovery of Ceres". Observatorio Astronomico di Palermo "Giuseppe S. Vaiana". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-18. สืบค้นเมื่อ 2007-07-05.
  16. Coffey, Jerry. "The First Asteroid Discovered". universetoday.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2 September 2011.
  17. Pitjeva, E. V.; Precise determination of the motion of planets and some astronomical constants from modern observations, in Kurtz, D. W. (Ed.), Proceedings of IAU Colloquium No. 196: Transits of Venus: New Views of the Solar System and Galaxy, 2004 ถูกบันทึกไว้ 18 มกราคม 2553 ที่ WebCite
  18. Moomaw, Bruce (2007-07-02). "Ceres As An Abode Of Life". spaceblooger.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-11-06.
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ McCord2005
  20. Castillo-Rogez, J. C.; McCord, T. B.; Davis, A. G. (2007). "Ceres: evolution and present state" (PDF). Lunar and Planetary Science. XXXVIII: 2006–2007. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2011. สืบค้นเมื่อ 25 June 2009.
  21. Menzel, Donald H.; Pasachoff, Jay M. (1983). A Field Guide to the Stars and Planets (2nd ed.). Boston: Houghton Mifflin. p. 391. ISBN 978-0-395-34835-2.
  22. Russel, C. T.; Capaccioni, F.; Coradini, A.; และคณะ (2006). "Dawn Discovery mission to Vesta and Ceres: Present status". Advances in Space Research. 38 (9): 2043–2048. arXiv:1509.05683. Bibcode:2006AdSpR..38.2043R. doi:10.1016/j.asr.2004.12.041.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 Hogg, Helen Sawyer (1948). "The Titius-Bode Law and the Discovery of Ceres". Journal of the Royal Astronomical Society of Canada. 242: 241–246. Bibcode:1948JRASC..42..241S.
  24. Hoskin, Michael (1999). The Cambridge Concise History of Astronomy. Cambridge University press. pp. 160–161. ISBN 978-0-521-57600-0.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 25.5 25.6 Forbes, Eric G. (1971). "Gauss and the Discovery of Ceres". Journal for the History of Astronomy. 2: 195–199. Bibcode:1971JHA.....2..195F.
  26. Clifford J. Cunningham (2001). The first asteroid: Ceres, 1801–2001. Star Lab Press. ISBN 978-0-9708162-1-4. สืบค้นเมื่อ 6 August 2011.
  27. Hilton, James L. "Asteroid Masses and Densities" (PDF). U.S. Naval Observatory. สืบค้นเมื่อ 2008-06-23.
  28. Hughes, D. W. (1994). "The Historical Unravelling of the Diameters of the First Four Asteroids". R.A.S. Quarterly Journal. 35 (3): 331. Bibcode:1994QJRAS..35..331H.(Page 335)
  29. Foderà Serio, G.; Manara, A.; Sicoli, P. (2002). "Giuseppe Piazzi and the Discovery of Ceres". ใน W. F. Bottke Jr., A. Cellino, P. Paolicchi, and R. P. Binzel (บ.ก.). Asteroids III (PDF). Tucson, Arizona: University of Arizona Press. pp. 17–24. สืบค้นเมื่อ 2009-06-25.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  30. Gould, B. A. (1852). "On the symbolic notation of the asteroids". Astronomical Journal. 2 (34): 80. Bibcode:1852AJ......2...80G. doi:10.1086/100212.
  31. Staff. "Cerium: historical information". Adaptive Optics. สืบค้นเมื่อ 2007-04-27.
  32. "Amalgamator Features 2003: 200 Years Ago". 2003-10-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-07. สืบค้นเมื่อ 2006-08-21.
  33. 33.0 33.1 33.2 Hilton, James L. (2001-09-17). "When Did the Asteroids Become Minor Planets?". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-18. สืบค้นเมื่อ 2006-08-16.
  34. Herschel, William (May 6, 1802). "Observations on the two lately discovered celestial Bodies.". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2012-01-02.
  35. Battersby, Stephen (2006-08-16). "Planet debate: Proposed new definitions". New Scientist. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2007-04-27.
  36. Connor, Steve (2006-08-16). "Solar system to welcome three new planets". NZ Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2007-04-27.
  37. Gingerich, Owen (2006-08-16). "The IAU draft definition of "Planet" and "Plutons"". IAU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2007-04-27. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  38. Staff Writers (2006-08-16). "The IAU Draft Definition Of Planets And Plutons". SpaceDaily. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-18. สืบค้นเมื่อ 2007-04-27.
  39. Geoff Gaherty, "How to Spot Giant Asteroid Vesta in Night Sky This Week", 03 August 2011 How to Spot Giant Asteroid Vesta in Night Sky This Week | Asteroid Vesta Skywatching Tips | Amateur Astronomy, Asteroids & Comets | Space.com เก็บถาวร 2011-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  40. "Question and answers 2". IAU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2008-01-31.
  41. Spahr, T. B. (2006-09-07). "MPEC 2006-R19: EDITORIAL NOTICE". Minor Planet Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2008-01-31. the numbering of "dwarf planets" does not preclude their having dual designations in possible separate catalogues of such bodies.
  42. "NASA/JPL, Dawn Views Vesta, 2011 Aug 02". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2012-01-02.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  43. de Pater & Lissauer, 2010. Planetary Sciences, 2nd ed. Cambridge University Press
  44. Mann, Nakamura, & Mukai, 2009. Small bodies in planetary systems. Lecture Notes in Physics 758. Springer-Verlag.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9