การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์ (อังกฤษ: Planetary migration) เกิดขึ้นเมื่อดาวเคราะห์หรือดาวบริวารอื่นๆ ได้รับผลกระทบจากจานของแก๊สหรือพลาเนเตซิมัล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะบางอย่างของดาวบริวารนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกึ่งแกนเอก การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์เป็นการอธิบายถึงสาเหตุที่ดาวเคราะห์ขนาดประมาณดาวพฤหัสบดี โคจรเข้าไปใกล้ดาวฤกษ์แม่ของมันมาก จนมีระยะเวลาโคจรเพียงไม่กี่วัน ซึ่งทฤษฎีการก่อตัวของดาวเคราะห์จากจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด กล่าวว่าดาวเคราะห์เหล่านี้ไม่สามารถที่จะก่อตัวขึ้นใกล้กับดาวแม่ของมันได้มากขนาดนั้น เนื่องจากในบริเวณนั้นมีมวลแก๊สน้อย และอุณหภูมิสูงเกินกว่าที่จะทำให้ดาวเคราะห์หินหรือน้ำแข็งก่อตัว มันยังเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าดาวเคราะห์หินมีโอกาสที่จะเคลื่อนเข้าไปใกล้ดาวแม่ ขณะที่จานของแก๊สยังคงมีอยู่ในบริเวณใกล้ดาวแม่ ทำให้มันอาจเป็นการก่อตัวของแกนกลางของดาวเคราะห์ยักษ์ (ที่มีมวลประมาณ 10 เท่าของโลก) ถ้าดาวเคราะห์นั้นก่อตัวจากกลไกการขยายตัวของแกนกลาง |