Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

เมฆออร์ต

ภาพกราฟิกของนาซ่า แสดงเมฆออร์ตและแถบไคเปอร์
ภาพกราฟิกแสดงเมฆออร์ตและแถบไคเปอร์
ภาพเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทางของเมฆออร์ตเปรียบเทียบกับขนาดของระบบสุริยะ

เมฆออร์ต (อังกฤษ: Oort cloud) คือ ชั้นเมฆในอวกาศที่ล้อมรอบระบบสุริยะอยู่เป็นทรงกลม บริเวณเมฆเหล่านี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกไปราว 50,000 - 100,000 หน่วยดาราศาสตร์ จากดวงอาทิตย์ ไกลออกไปจากขอบระบบสุริยะรอบนอก ตำแหน่งของเมฆออร์ตอยู่ในระยะความห่าง 1 ใน 4 ของดาวแคระแดงพร็อกซิมาคนครึ่งม้า ในกลุ่มเมฆออร์ตนี้มีวัตถุพ้นดาวเนปจูน อย่างดาวเคราะห์แคระ 90377 เซดนา ที่ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 อยู่ด้วย

วัตถุในกลุ่มเมฆออร์ตคือเศษเหลือจากการสร้างดาวเคราะห์ เป็นก้อนน้ำแข็งสกปรก มีส่วนประกอบไปด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย ฝุ่น และหิน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร

นักดาราศาสตร์เชื่อกันว่ากลุ่มเมฆออร์ตเป็นแหล่งต้นกำเนิดของดาวหาง

เมฆออร์ตตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ ยัน แฮ็นดริก ออร์ต (Jan Hendrik Oort, 1900 - 1992) ซึ่งเขาได้ทำการวิเคราะห์เส้นทางการโคจรของดาวหาง 19 ดวงพบว่าดาวหางเหล่านี้มาจากแหล่งของดาวหางที่มีรูปร่างเป็นทรงกลมที่มีขนาดใหญ่มาก โดยอยู่ที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ตั้งแต่ประมาณ 1.5 - 3.1 ปีแสง ซึ่งเขาได้ประมาณไว้ว่าแหล่งของดาวหางดังกล่าว น่าจะมีดาวหางอยู่ราว 1 แสน 9 หมื่นล้านดวง และได้เสนอว่าช่วงเวลาประมาณทุก ๆ 100,000 – 200,000 ปี แรงโน้มถ่วงจากดาวฤกษ์ดวงอื่นที่เคลื่อนผ่านเข้ามาใกล้ระบบสุริยะ ภายในระยะห่างจากดวงอาทิตย์ราว 3.16 ปีแสง จะรบกวนดาวหางส่วนหนึ่งในแหล่งนี้จนหลุดเข้ามายังระบบสุริยะชั้นใน ซึ่งแหล่งของดาวหางตามสมมติฐานของเขา นี้ถูกตั้งชื่อตามชื่อของเขาว่า “เมฆออร์ต” (Oort cloud)

แต่ภายในช่วงครึ่งศตวรรษล่าสุดนี้ ได้มีจำนวนดาวหางที่ผ่านการตรวจสอบข้อมูลและวิเคราะห์วงโคจรเพิ่มขึ้น ทำให้มีการปรับปรุงแนวคิดเรื่องเมฆออร์ตเสียใหม่ ซึ่งในระยะหลังมานี้ นักดาราศาสตร์พบว่าค่าระยะห่างจากดวงอาทิตย์ของตำแหน่งที่ห่างดวงอาทิตย์มาก ที่สุดในวงโคจร มีค่าประมาณ 0.69 ปีแสง ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าที่ Oort เคยเสนอไว้ และต่อมาก็มีการปรับค่าระยะห่างจากดวงอาทิตย์ของขอบนอกของเมฆออร์ตใหม่ คือราวๆ 3.1 ปีแสง เนื่องจากนักดาราศาสตร์พบว่าแรงโน้มถ่วงที่ดวงอาทิตย์ดึงดูดดาวหางที่อยู่ห่างกว่าระยะดังกล่าว จะมีค่าค่อนข้างน้อย


วัตถุเมฆออร์ต
หมายเลข ชื่อ เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตร
(กม.)
ระยะจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด (หน่วยดาราศาสตร์) ระยะจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด (หน่วยดาราศาสตร์) ค้นพบเมื่อ ผู้ค้นพบ Diameter method
90377 เซดนา <1800, >1250 76 (±7) ~850 พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) Michael E. Brown, Chadwick A. Trujillo, David L. Rabinowitz thermal

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9