Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ฮิเดกิ ชิรากาวะ

ฮิเดกิ ชิรากาวะ
เกิด (1936-08-20) สิงหาคม 20, 1936 (88 ปี)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
ศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว
มีชื่อเสียงจากพอลิเมอร์นำไฟฟ้า
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาเคมี (พ.ศ. 2543)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัฒนธรรม (พ.ศ. 2543)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมี
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
มหาวิทยาลัยสึกูบะ
มีอิทธิพลต่ออลัน แมกเดอร์มิด

ฮิเดกิ ชิรากาวะ (ญี่ปุ่น: 白川 英樹โรมาจิShirakawa Hideki; เกิดวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2479) เป็นนักเคมีและวิศวกรชาวญี่ปุ่น และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณประจำมหาวิทยาลัยสึกูบะและมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง เป็นที่รู้จักจากการค้นพบพอลิเมอร์ที่สามารถนำไฟฟ้าได้ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี พ.ศ. 2543 ร่วมกับอลัน แมกเดอร์มิดและอลัน ฮีเกอร์

ประวัติ

ฮิเดกิ ชิรากาวะเกิดที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในครอบครัวของแพทย์ทหาร และได้ย้ายติดตามครอบครัวของบิดาไปอยู่ที่แมนจูกัวและไต้หวันในวัยเด็ก ต่อมาในปี พ.ศ. 2487 ได้ย้ายกลับมาที่ประเทศญี่ปุ่นไปอยู่บ้านเกิดของมารดาที่เมืองทากายามะ จังหวัดกิฟุ

ชิรากาวะจบการศึกษาและได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเคมีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวในปี พ.ศ. 2504 หลังจากนั้นได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากสถาบันเดียวกันในปี พ.ศ. 2509 หลังจากนั้นได้เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยที่ห้องปฏิบัติการทรัพยากรเคมีที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว[1]

งานวิจัย

ขณะที่ทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวนั้น ชิรากาวะได้ค้นพบพอลิอะเซทิลีนซึ่งมีลักษณะปรากฏคล้ายกับโลหะ เมื่ออลัน แมกเดอร์มิดมาเยี่ยมสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวในปี พ.ศ. 2518 แมกเดอร์มิดสนใจผลการค้นพบนี้ของชิรากาวะมาก และได้ชักชวนให้ชิรากาวะมาเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่ห้องปฏิบัติการของเขาที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียในปีถัดมา ทั้งสองร่วมกับนักฟิสิกส์อีกหนึ่งคนคืออลัน ฮีเกอร์ได้ร่วมกันพัฒนาคุณสมบัติการนำไฟฟ้าของพอลิอะเซทิลีน ซึ่งในปี พ.ศ. 2520 พวกเขาพบว่าเมื่อนำพอลิเมอร์ไปทำปฏิกิริยา (โดป) ด้วยไอของไอโอดีนจะได้พอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติการนำไฟฟ้าดีขึ้น[2][3] ซึ่งนำไปสู่รางวัลโนเบลสาขาเคมีที่ได้รับร่วมกันในปี พ.ศ. 2543

ในปี พ.ศ. 2522 ชิรากาวะดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสึกูบะ ก่อนจะเลื่อนชั้นขึ้นเป็นศาสตราจารย์ในอีกสามปีถัดมา

รางวัลโนเบล

ชิรากาวะได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี พ.ศ. 2543 ร่วมกับอลัน ฮีเกอร์และอลัน แมกเดอร์มิดจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียจากการค้นพบและพัฒนาพอลิเมอร์นำไฟฟ้า (conductive polymer)[3] โดยเป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ไม่ได้จบจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติทั้งเจ็ดที่ได้รับรางวัลโนเบล และเป็นชาวญี่ปุ่นคนที่สองที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี และในปีเดียวกันชิรากาวะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์วัฒนธรรมด้วย[4]

มุมมองส่วนตัว

ชิรากาวะได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เดอะเจแปนไทมส์ว่าเขาไม่ต้องการให้รางวัลโนเบลได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากเกินไป และหวังว่างานวิจัยด้านอื่นนอกเหนือจากสาขาของรางวัลโนเบลจะได้รับความสนใจเช่นนั้นบ้าง เขามองว่าสังคมที่งานวิจัยหลากหลายแขนงได้รับการยอมรับจะสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า[5]

อ้างอิง

  1. "Hideki Shirakawa - Biographical". NobelPrize.org. Nobel Media AB 2018. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. Shirakawa, Hideki; Louis, Edwin J.; MacDiarmid, Alan G.; Chiang, Chwan K.; Heeger, Alan J. (1977). "Synthesis of electrically conducting organic polymers: halogen derivatives of polyacetylene, (CH)x". Journal of the Chemical Society, Chemical Communications (16): 578–580. doi:10.1039/C39770000578. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. 3.0 3.1 "The Nobel Prize in Chemistry 2000". NobelPrize.org. Nobel Media AB 2018. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "Nobel chemist to get Order of Culture". เดอะเจแปนไทมส์. 25 ตุลาคม พ.ศ. 2543. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  5. "Shirakawa unhappy with way Japanese media reports Nobel issues". เดอะเจแปนไทมส์. 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กันยายน พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date=, |date= และ |archive-date= (help)
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9