Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

จอห์น บี. กูดอีนาฟ

จอห์น บี. กูดอีนาฟ
กูดอีนาฟในปี 2019
เกิดจอห์น บานนิสเตอร์ กูดอีนาฟ
25 กรกฎาคม ค.ศ. 1922(1922-07-25)
เยนา, เยอรมนี
เสียชีวิต25 มิถุนายน ค.ศ. 2023(2023-06-25) (100 ปี)
ออสติน, รัฐเท็กซัส, สหรัฐอเมริกา
การศึกษาYale University (BS)
University of Chicago (MS, PhD)
มีชื่อเสียงจากLi-ion rechargeable battery
Goodenough–Kanamori rules
(RAM) random access memory
รางวัลJapan Prize (2001)
Enrico Fermi Award (2009)
National Medal of Science (2011)
IEEE Medal for Environmental and Safety Technologies (2012)
Charles Stark Draper Prize (2014)
Welch Award (2017)
Copley Medal (2019)
Nobel Prize in Chemistry (2019)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์
สถาบันที่ทำงานMassachusetts Institute of Technology
University of Oxford
University of Texas at Austin
วิทยานิพนธ์A theory of the deviation from close packing in hexagonal metal crystals (1952)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกClarence Zener
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงBill David (postdoc)[1]
มีอิทธิพลต่อNevil Francis Mott
John C. Slater
Philip Warren Anderson
ได้รับอิทธิพลจากAkira Yoshino C. N. R. Rao

จอห์น บานนิสเตอร์ กูดอีนาฟ (อังกฤษ: John Bannister Goodenough; 25 กรกฎาคม 1922 – 25 มิถุนายน 2023) เป็นนักฟิสิกส์และนักวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุชาวอเมริกัน เขาเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ออสติน เขามีส่วนสำคัญในการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขามีส่วนร่วมในการค้นพบวัสดุแคโทดที่สำคัญที่สุด ในปี 2019 ขณะที่เขาอายุ 97 ปี เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีร่วมกับ เอ็ม. สแตนลีย์ วิตติงแฮม และ อากิระ โยชิโนะ ทำให้เขาเป็นบุคคลที่มีอายุมากที่สุดที่ได้รับรางวัลโนเบล โดยพิธีมอบรางวัลมีขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2019

กูดอีนาฟเกิดที่เยนา ประเทศเยอรมนี โดยมีพ่อแม่เป็นชาวอเมริกัน[2] ระหว่างและหลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยล กูดอีนาฟดำรงตำแหน่งเป็นนักอุตุนิยมวิทยาสำหรับทหารสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่สอง[3] เขารับปริญญาเอกในสาขาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก[4] และเป็นนักวิจัยที่ MIT Lincoln Laboratory และต่อมาเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีอนินทรีย์ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ตั้งแต่ปี 1986 เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส

อ้างอิง

  1. Thackeray, M. M.; David, W. I. F.; Bruce, P. G.; Goodenough, J. B. (1983). "Lithium insertion into manganese spinels". Materials Research Bulletin. 18 (4): 461–472. doi:10.1016/0025-5408(83)90138-1.
  2. [1]
  3. "His current quest | The University of Chicago Magazine". mag.uchicago.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ January 18, 2018.
  4. Goodenough, John B. (1952). A theory of the deviation from close packing in hexagonal metal crystals (วิทยานิพนธ์ Ph.D.). The University of Chicago. OCLC 44609164 – โดยทาง ProQuest.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9