Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

อำเภอผักไห่

อำเภอผักไห่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phak Hai
ตลาดลาดชะโด เป็นตลาดเก่าแก่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีอายุกว่า 100 ปี มีพัฒนาการมาจากตลาดน้ำที่มีเรือนแพค้าขายของชาวจีน จากนั้นได้เริ่มมีการก่อสร้างตลาดริมน้ำและบนบกขึ้นให้กว้างใหญ่กว่าร้อยคูหา ปัจจุบันยกจากน้ำขึ้นบกกลายเป็นตลาดวิถีชีวิตริมน้ำ
ตลาดลาดชะโด เป็นตลาดเก่าแก่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีอายุกว่า 100 ปี มีพัฒนาการมาจากตลาดน้ำที่มีเรือนแพค้าขายของชาวจีน จากนั้นได้เริ่มมีการก่อสร้างตลาดริมน้ำและบนบกขึ้นให้กว้างใหญ่กว่าร้อยคูหา ปัจจุบันยกจากน้ำขึ้นบกกลายเป็นตลาดวิถีชีวิตริมน้ำ
คำขวัญ: 
วัตถุมงคลล้ำค่า วังมัจฉามากมี
ของดีทำจากปลา ในนามีข้าว
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอผักไห่
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอผักไห่
พิกัด: 14°27′30″N 100°22′12″E / 14.45833°N 100.37000°E / 14.45833; 100.37000
ประเทศ ไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด189.8 ตร.กม. (73.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด38,297 คน
 • ความหนาแน่น201.78 คน/ตร.กม. (522.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 13120
รหัสภูมิศาสตร์1408
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอผักไห่ หมู่ที่ 4 ตำบลผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ผักไห่ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอเสนาใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน[1]

วัดลาดชะโด เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมานานกว่า 200 ปี แต่เดิมพื้นที่วัดล้อมถูกล้อมรอบด้วยลำคลองมีลักษณะคล้ายเกาะ

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอผักไห่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

อำเภอผักไห่ เป็นอำเภอที่อยู่เขตปกครองของจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในแคว้นทวาราวดีทั้งหมด และจากหลักฐานที่ค้นพบจากหนังสือ “400 ปี แห่งการสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2148 – 2548)… ” ในเส้นทางการเดินทัพของทหารพม่าที่ยกเข้ามาโจมตีกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของพระองค์ท่านนั้น ปรากฏข้อความตอนหนึ่งว่า…..“ฝ่ายกองทหารพม่าของพวกหงสาวดีเที่ยวเล็ดลอดสอดแนมเข้ามาได้จนถึงบางกะทิง ใกล้บ้านผักไห่ในแขวงจังหวัดพระนคร”….. ทั้งหมดนี้ แสดงว่าอำเภอผักไห่นั้นประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย แต่ก็เป็นชุมชนที่ไม่ใหญ่โตและมีบทบาททางการเมืองมากมายนัก

จวบจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงแบ่งเขตการปกครองจังหวัดพระนครศรีอยุธยาออกเป็น 4 แขวง ได้แก่ แขวงนครใน แขวงอุทัย แขวงรอบกรุง และแขวงเสนา อำเภอผักไห่ แต่เดิมไม่ได้ชื่อว่า อำเภอผักไห่ แต่เป็นเพียงซึ่งชุมชนเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น หากแต่รวมอยู่ในแขวงเสนา ซึ่งมีอาณาเขตรวมอำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอบางบาล และอำเภอบางไทรทั้งหมด ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าแขวงเสนา มีประชาชนอาศัยกันอยู่อย่างหนาแน่นและมีอาณาเขตกว้างขวางมากยากแก่การปกครอง จึงได้แบ่งแยกเขตเสนาตอนเหนือเป็นแขวงเสนาใหญ่ และตอนใต้เป็นแขวงเสนาน้อย

ในปี พ.ศ. 2438 ได้จัดรูปการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ได้แบ่งเสนาใหญ่ออกเป็น 2 ตอน ตอนบน ให้เป็นเสนาใหญ่ (อำเภอผักไห่) ตอนใต้ ให้เป็นแขวงอำเภอเสนากลาง (อำเภอเสนา) และแบ่งส่วนเสนาน้อย ออกเป็น 2 แขวง คือ แขวงเสนาใน (อำเภอบางบาล) และแขวงเสนาน้อย (อำเภอบางไทร) สำหรับที่ว่าการแขวงอำเภอเสนาใหญ่ (อำเภอผักไห่) ครั้งแรกตั้งอยู่ที่ตำบลอมฤต หมู่ที่ 3 เหนือคลองบางทอง โดยมีหลวงวารีโยธารักษ์ (อ่วม) เป็นนายอำเภอคนแรกซึ่งเป็นต้นตระกูลญาณวารี ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่ว่าการแขวงอำเภอเสนาใหญ่ไปตั้งชั่วคราวที่ศาลาท่าน้ำวัดตาลานเหนือ และต่อมาก็ได้ย้ายมาตั้งที่หมู่ที่ 4 ตำบลผักไห่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอผักไห่ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อตำบลที่ตั้งอยู่ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 และก็ได้ใช้ชื่ออำเภอผักไห่ มาจนทุกวันนี้

นอกจากนี้ จากหลักฐานจดหมายเหตุฯ ยังกล่าวถึงอำเภอผักไห่ ดังนี้ "ตำบลผักไห่นี้บริบูรณ์ ครึกครื้นกว่าเมืองสุพรรณบุรีเป็นอย่างมาก" แสดงให้เห็นว่าอำเภอผักไห่ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรม ประเพณี และเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญสายหนึ่ง อุดมไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร สัตว์น้ำนานาชาติ เช่น ปลาพันธุ์ต่าง ๆ สมกับคำว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวว่าในสมัยก่อน "จะต้องแหวกปลาหากุ้ง" มีคำกล่าวว่า "บ้านเรือนคนติดต่อกันอย่างหนาแน่นตลอดเหมือนอย่างในกรุงเก่า" นี่เป็นข้อความหนึ่งที่บันทึกอยู่ในจดหมายเหตุฯ ประพาสต้น มองให้เห็นว่าผู้คนในผักไห่สร้างบ้านเรือนติดกันและเป็นชุมชนที่เข้มแข็งต่างจากปัจจุบัน ริมแม่น้ำน้อยที่เคยหนาแน่นไปด้วยผู้คน ปัจจุบันเหลือแต่เพียงซากทิ้งรกร้าง เนื่องจากประชากรวัยทำงานหนีไปทำงานต่างถิ่นหมดเหลือแต่เด็กและคนแก่

  • วันที่ 31 มกราคม 2446 โอนพื้นที่ตำบลบางหลวงโดด[2] และตำบลบางหลวงเอียง[3] ของอำเภอเสนาใหญ่ ไปขึ้นกับอำเภอเสนาใน
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเสนาใหญ่ จังหวัดกรุงเก่า เป็น อำเภอผักไห่[1]
  • วันที่ 1 พฤศจิกายน 2479 ยุบท้องที่ตำบลบ้านอ้อ รวมเข้ากับตำบลอัมริตย์[4]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสุพรรณบุรีกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยโอนพื้นที่หมู่ 6 ของตำบลจรเข้ใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ฝั่งเหนือของคลองขุดพระยารักษ์ฯ ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกลำรางหนองแปดบาท จนบรรจบแนวเขตเดิมที่ลำรางลาดบัวขาว ตำบลนาคู อำเภอผักไห่ ไปขึ้นกับตำบลดอนลาน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[5]
  • วันที่ 15 พฤษภาคม 2482 โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางกุ้ง ไปขึ้นกับตำบลฦๅไชย[6]
  • วันที่ 27 กันยายน 2492 ตั้งตำบลบ้านใหญ่ แยกออกจากตำบลท่าดินแดง[7]
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลผักไห่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลหน้าโคก บางส่วนของตำบลอัมฤทธิ์ บางส่วนของตำบลผักไห่ บางส่วนของตำบลตาลาน บางส่วนของตำบลลาดชิด และบางส่วนของตำบลบ้านใหญ่[8]
  • วันที่ 4 มกราคม 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลลาดชะโด ในท้องที่บางส่วนของตำบลหนองน้ำใหญ่ และบางส่วนของตำบลจักราช[9]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลผักไห่ และสุขาภิบาลลาดชะโด เป็นเทศบาลตำบลผักไห่ และเทศบาลตำบลลาดชะโด ตามลำดับ[10] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลผักไห่และสภาตำบลโคกช้าง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม และยุบสภาตำบลลำตะเคียน รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดอนลาน[11] ยุบสภาตำบลหนองน้ำใหญ่และสภาตำบลจักราช รวมกับเทศบาลตำบลลาดชะโด
  • วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลอมฤตและสภาตำบลบ้านใหญ่ รวมกับเทศบาลตำบลผักไห่[12]
  • วันที่ 1 ตุลาคม 2547 ยุบสภาตำบลตาลาน รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลลาดชิด[13]
  • วันที่ 26 เมษายน 2555 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลผักไห่ ขึ้นเป็นเทศบาลเมืองผักไห่[14]
วัดย่านอ่างทอง (จุฬาโลก) ที่ได้ชื่อว่า "วัดย่านอ่างทอง" เล่าว่า  มอญทำหม้อใส่เรือมาขายได้เห็นอ่างทองคำใบใหญ่ลอยน้ำมา และจมลง เลยเรียกคุ้งน้ำนี้ว่า "ย่านอ่างทอง"  วันดีคืนดีจะเห็นอ่างทองกับเป็ดทองคำลอยขึ้นมาเหนือน้ำด้วย
วัดย่านอ่างทอง ตำบลบ้านใหญ่

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอผักไห่แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 16 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 128 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ผักไห่ (Phak Hai) 9. กุฎี (Kudi)
2. อมฤต (Ammarit) 10. ลำตะเคียน (Lam Takhian)
3. บ้านแค (Ban Khae) 11. โคกช้าง (Khok Chang)
4. ลาดน้ำเค็ม (Lat Nam Khem) 12. จักราช (Chakkarat)
5. ตาลาน (Ta Lan) 13. หนองน้ำใหญ่ (Nong Nam Yai)
6. ท่าดินแดง (Tha Din Daeng) 14. ลาดชิด (Lat Chit)
7. ดอนลาน (Don Lan) 15. หน้าโคก (Na Khok)
8. นาคู (Na Khu) 16. บ้านใหญ่ (Ban Yai)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอผักไห่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองผักไห่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอมฤตและตำบลบ้านใหญ่ทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลตาลาน ตำบลลาดชิด ตำบลหน้าโคก และตำบลผักไห่
  • เทศบาลตำบลลาดชะโด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจักราชและตำบลหนองน้ำใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแคทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดน้ำเค็ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดน้ำเค็มและตำบลโคกช้างทั้งตำบล รวมทั้งตำบลผักไห่ (นอกเขตเทศบาลเมืองผักไห่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าดินแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าดินแดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนลานและตำบลลำตะเคียนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุฎี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุฎีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดชิด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลานและตำบลลาดชิด (นอกเขตเทศบาลเมืองผักไห่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหน้าโคก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าโคก (นอกเขตเทศบาลเมืองผักไห่)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
  2. "ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ในทุ่งบ้านบางทัก ทุ่งบ้านบางหลวงโดด อำเภอเสนาใหญ่ แขวงกรุงเก่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (44): 759. January 31, 1903.
  3. "ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน ในทุ่งบ้านวัดตะกู ทุ่งบ้านบางหลวงเอียง อำเภอเสนาใหญ่ แขวงกรุงเก่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (44): 759–760. January 31, 1903.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบตำบลบ้านอ้อรวมเข้ากับตำบลอัมริตย์ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 2014. November 1, 1936.
  5. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. April 1, 1937. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 436–437. May 15, 1939.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (54 ง): 4530–4535. September 27, 1949.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 7-8. May 30, 1956.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลลาดชะโด อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (3 ง): 6–7. January 4, 1969.
  10. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 9–12. September 15, 2004.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). September 24, 2004: 1–2. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลตาลานกับองค์การบริหารส่วนตำบลลาดชิด" (PDF). October 1, 2004: 1. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นเทศบาลเมืองผักไห่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (ตอนพิเศษ 70 ง): 19. April 26, 2012.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9