Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
ที่ตั้งถนนราชดำเนินนอก แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเภทพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร
พระประธานพระพุทธวชิรมกุฎ
เจ้าอาวาสพระเทพวชิรเมธาจารย์ (บุญร่วม อตฺถกาโม)
หมายเหตุ
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
ขึ้นเมื่อ14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000064
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร[1] ตั้งอยู่ริมถนนและคลองผดุงกรุงเกษม ด้านใกล้ถนนราชดำเนินนอก

ประวัติ

วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากขุดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นคูพระนครชั้นนอกแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีวัดเรียงรายอยู่ตามชายคลองเหมือนที่กรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นเคียงคู่กับวัดโสมนัสราชวรวิหาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นแม่กองก่อสร้าง และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม เป็นนายช่าง การก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2411 ในขั้นแรกโปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อว่าวัดนามบัญญัติ เป็นการชั่วคราวก่อน เมื่อสิ้นรัชกาลจึงค่อยเรียกนามพระราชทานว่าวัดมกุฏกษัตริยาราม อันเป็นนามตามพระปรมาภิไธย

วัดมกุฏกษัตริยารามในเขตพระนคร และวัดโสมนัสวิหารที่อยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นวัดในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีเสมา 2 ชั้น ชั้นแรกเรียกว่า มหาสีมา อยู่ในซุ้มที่มุมกำแพงรอบวัด และยังมีเสมารอบพระอุโบสถอีกเรียกว่า ขัณฑสีมา ในวัดที่มีเสมา 2 ชั้นเช่นนี้ พระสงฆ์สามารถประชุมทำสังฆกรรมได้ทั้งพระอุโบสถและพระวิหาร อยู่ติดกับโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์

ประวัติสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ

อาคารสำคัญในวัดได้แก่ พระวิหาร และพระอุโบสถ มีลายพระมหามงกุฏอันเป็นตราประจำรัชกาลที่ 4 ทั้งที่หน้าบันและด้านบนของซุ้มประตูหน้าต่างเช่นเดียวกัน ผนังด้านในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมอันหลากหลายแตกต่างจากวัดอื่น เช่น เรื่องพระสาวกในบาลีและอรรถกถา พระอัครสาวก 11 พระองค์ อัครสาวิกา 8 องค์ ภาพการบำเพ็ญกรรมฐาน สิ่งที่พึ่งปฏิบัติเนื่องด้วยธรรมวินัย ธุดงควัตร บนบานหน้าต่างและบานประตูด้านในเขียนพระสูตรที่เป็นคาถาด้วยตัวอักษรบรรจง เป็นต้น

ลำดับเจ้าอาวาส

พระอารามแห่งนี้มีเจ้าอาวาสมาแล้วทั้งสิ้น 8 พระองค์/รูปได้แก่

ลำดับที่ รูปภาพ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) พ.ศ. 2411 พ.ศ. 2425
2 พระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) พ.ศ. 2425 พ.ศ. 2443
3 พระธรรมปาโมกข์ (ถม วราสโย) พ.ศ. 2443 พ.ศ. 2462
4 พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) พ.ศ. 2462 พ.ศ. 2488
5 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) พ.ศ. 2488 พ.ศ. 2514
6 พระเทพกิตติเมธี (หิ้น คนฺธาโร) พ.ศ. 2514 พ.ศ. 2516
7 สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2551
8 พระเทพวชิรเมธาจารย์ (บุญร่วม อตฺถกาโม) พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน

คลังภาพ

อ้างอิง

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9