Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ประเทศเวียดนาม

16°N 108°E / 16°N 108°E / 16; 108

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

Cộng hòa Xã hội chủ nghĩa
Việt Nam
 (เวียดนาม)
ตราของเวียดนาม
ตรา
คำขวัญĐộc lập – Tự do – Hạnh phúc
"เอกราช อิสรภาพ ความสุข"
เพลงชาติTiến Quân Ca
มาร์ชทหารเวียดนาม
ที่ตั้งของ ประเทศเวียดนาม  (เขียว)

ในอาเซียน  (เทาเข้ม)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวงฮานอย
21°2′N 105°51′E / 21.033°N 105.850°E / 21.033; 105.850
เมืองใหญ่สุดนครโฮจิมินห์
10°48′N 106°39′E / 10.800°N 106.650°E / 10.800; 106.650
ภาษาประจำชาติเวียดนาม[n 1]
กลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
เดมะนิมชาวเวียดนาม
การปกครองรัฐเดี่ยว มากซ์-เลนิน พรรคเดียว สาธารณรัฐสังคมนิยม
โต เลิม
เลือง เกื่อง
ฝั่ม มิญ จิ๊ญ
หวอถิอั๊ญซวน
เจิ่น ทันห์ มาน
สภานิติบัญญัติสมัชชาแห่งชาติ
ก่อตั้ง
• ราชวงศ์ห่งบ่าง (ราชวงศ์แรก)
ป. ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล
พ.ศ. 432
พ.ศ. 1481
• ราชวงศ์เหงียน (ราชวงศ์สุดท้าย)
1 มิถุนายน พ.ศ. 2345
• กลายเป็นอาณัติฝรั่งเศส
6 มิถุนายน พ.ศ. 2427
2 กันยายน พ.ศ. 2488
• การประชุมเจนีวา (แบ่งเหนือ-ใต้)
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2497
30 เมษายน พ.ศ. 2518
• รวมประเทศ
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[n 3]
พื้นที่
• รวม
331,699 ตารางกิโลเมตร (128,070 ตารางไมล์) (อันดับที่ 66)
6.38
ประชากร
• พ.ศ. 2566 ประมาณ
100,300,000[6] (อันดับที่ 16)
• สำมะโนประชากร พ.ศ. 2562
96,208,984[3]
303.0 ต่อตารางกิโลเมตร (784.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 29)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) พ.ศ. 2566 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.278 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 24)
เพิ่มขึ้น 12,881 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 111)
จีดีพี (ราคาตลาด) พ.ศ. 2566 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 432.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 34)
เพิ่มขึ้น 4,475 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 116)
จีนี (พ.ศ. 2561)positive decrease 36.8[8]
ปานกลาง · 89
เอชดีไอ (พ.ศ. 2564)ลดลง 0.703[9]
สูง · อันดับที่ 115
สกุลเงินด่อง (₫) (VND)
เขตเวลาUTC+07:00 (เวลามาตรฐานเวียดนาม)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ไฟบ้าน220 โวลต์ – 50 เฮิร์ซ
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+84
รหัส ISO 3166VN
โดเมนบนสุด.vn

เวียดนาม (เวียดนาม: Việt Nam [viət˨ nam˧] เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม: Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพื้นที่รวม 331,000 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน จึงถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 15 ของโลก มีพรมแดนติดกับประเทศจีนทางทิศเหนือ, ประเทศลาว และประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ อ่าวไทย ทางทิศตะวันออกและใต้[a] มีเมืองหลวงคือฮานอย และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือนครโฮจิมินห์ (เดิมชื่อว่า ไซ่ง่อน) เวียดนามยังเป็นหนึ่งในสองรัฐคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดินแดนของเวียดนามเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่ยุคหินเก่า ผู้คนเข้ามาตั้งรกรากและรวมตัวกันเป็นรัฐต่าง ๆ บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงซึ่งเป็นที่ตั้งของภูมิภาคทางเหนือของเวียดนามในปัจจุบัน ดินแดนส่วนใหญ่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิจีนกว่าพันปี ตั้งแต่ 111 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ. 939 ราชวงศ์ฮั่นผนวกดินแดนตอนเหนือและตอนกลางเข้าด้วยกัน ในช่วงเวลาดังกล่าว อิทธิพลของลัทธิขงจื๊อและศาสนาพุทธได้แผ่ขยายไปทั่วดินแดนทางใต้รวมถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง รัฐแรกเริ่มของเวียดนามก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 939 ภายหลังเวียดนามชนะจีน (มองโกล) ในยุทธนาวีแม่น้ำบักดั่ง เวียดนามและจักรพรรดิเวียดนามก็เจริญรุ่งเรืองและเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์เหงียนถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองดินแดนนี้ จนกระทั่งตกเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และภายหลังการปฏิวัติเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 กองทัพประชาชนในนามเหวียตมิญนำโดยโฮจิมินห์มีบทบาทในการนำเวียดนามปลดแอกจากฝรั่งเศส[11] รวมถึงการประกาศเอกราชจากจักรวรรดิญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2488

เวียดนามต้องเผชิญกับสงครามที่ยืดเยื้อในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสกลับมาเถลิงอำนาจอีกครั้งในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง ซึ่งจบลงด้วยชัยของเวียดนามในปี 2497 กระนั้น สงครามเวียดนามได้ปะทุขึ้นไม่นานหลังจากนั้น โดยประเทศเวียดนามถูกแยกเป็นสองส่วนคือ เวียดนามเหนือ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและจีน และ เวียดนามใต้ (สาธารณรัฐเวียดนาม) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยเวียดนามเหนือนำไปสู่การสิ้นสุดของสงคราม[12] กรุงไซ่ง่อนได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโฮจิมินห์ ในขณะที่ฮานอยซึ่งเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ ได้กลายเป็นเมืองหลวงของเวียดนามหลังจากการรวมประเทศในปี 2519 ซึ่งดินแดนทั้งหมดได้รวมกันกลายเป็นรัฐสังคมนิยมในชื่อ "สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม" พรรคคอมมิวนิสต์มีบทบาทนำทางการเมือง สิ่งนี้นำไปสู่การวิจารณ์จากนานาชาติรวมถึงการคว่ำบาตรจากโลกตะวันตก สงครามกัมพูชา–เวียดนาม และ สงครามจีน–เวียดนาม ทำให้ประเทศเสื่อมโทรมมากขึ้น ก่อนที่นโยบายโด๋ยเม้ยในปี 2529 โดยพรรคคอมมิวนิสต์จะช่วยให้เศรษฐกิจประเทศเริ่มฟื้นตัว โดยยึดรูปแบบตามการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้เวียดนามกลายสภาพเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาค และเริ่มเข้าร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเมืองในเวทีโลกมากขึ้น

เวียดนามเป็นประเทศกำลังพัฒนา ประชากรมีรายได้ปานกลางจนถึงระดับต่ำ ปัญหาสำคัญในปัจจุบันได้แก่ การทุจริตทางการเมือง, การให้เสรีภาพสื่อและสิทธิมนุษยชนต่ำ รวมทั้งเผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อม เวียดนามเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง ได้แก่ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก, ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และ องค์การการค้าโลก และยังเคยมีบทบาทในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ชื่อ

คำว่า "เวียดนาม" หรือ "เหวียดนาม" (Việt Nam, /viə̀t naːm/, เหวียดนาม) คืออีกชื่อหนึ่งของ "นามเหวียด" (Nam Việt นามเหวียด; จีน: 南越; พินอิน: Nányuè; แปลว่า "เวียดใต้") โดยเป็นชื่อที่เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เจี่ยว (Nhà Triệu; 家趙, หญ่าเจี่ยว) ในช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล หรือช่วงระหว่างปีพ.ศ. 344 ถึง 443[13] คำว่า "เหวียด" (Việt)' เดิมเป็นชื่อย่อของ บั๊กเหวียด (Bách Việt บ๊าก เหฺวียด; จีน: 百越; พินอิน: Bǎiyuè; แปลว่า "ร้อยเวียด") ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มชนที่เคยอาศัยอยู่บริเวณทางใต้ของจีนและทางเหนือของเวียดนาม[14]

ประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

กลองมโหระทึกสำริด

อารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในเวียดนามมีชื่อเสียงมากโดยเฉพาะอารยธรรมยุคหินใหม่ ที่มีหลักฐานคือกลองมโหระทึกสำริด และชุมชนโบราณที่ดงเซิน เขตเมืองแทงหวา ทางใต้ของปากแม่น้ำแดง สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของชาวเวียดนามโบราณผสมผสานระหว่างชนเผ่ามองโกลอยด์เหนือจากจีนและใต้ ซึ่งเป็นชาวทะเล ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวแบบนาดำและจับปลา และอยู่กันเป็นเผ่า บันทึกประวัติศาสตร์ยุคหลังของเวียดนามเรียกยุคนี้ว่าอาณาจักรวันลาง มีผู้นำปกครองสืบต่อกันหลายร้อยปีเรียกว่า กษัตริย์หุ่ง แต่ถือเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์

สมัยประวัติศาสตร์

เวียดนามเริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์หลังจากตอนใต้ของจีนเข้ารุกรานและยึดครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแดง จากนั้นไม่นานจักรพรรดิจิ๋นซีซึ่งเริ่มรวมดินแดนจีนสร้างจักรวรรดิให้เป็นหนึ่งเดียว โดยได้ยกทัพลงมาและทำลายอาณาจักรของพวกถุกได้ ก่อนผนวกดินแดนลุ่มแม่น้ำแดงทั้งหมด ให้ขึ้นตรงต่อศูนย์กลางการปกครองหนานไห่ ที่เมืองพานอวี่หรือกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งปัจจุบัน หลังสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน ข้าหลวงหนานไห่คือจ้าวถัว ประกาศตั้งหนานไห่เป็นอาณาจักรอิสระ ชื่อว่า หนานเยว่ หรือ นามเหวียต ในสำเนียงเวียดนามซึ่งเป็นที่มาของชื่อเวียดนามในปัจจุบัน ก่อนกองทัพฮั่นเข้ายึดอาณาจักรนามเหวียด ได้ในปี พ.ศ. 585 และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีน ใช้ชื่อว่า เจียวจื้อ ขยายอาณาเขตลงใต้ถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน และส่งข้าหลวงปกครองระดับสูงมาประจำ เป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนนำวัฒนธรรมจีนทางด้านต่าง ๆ ไปเผยแพร่ที่ดินแดนแห่งนี้ พร้อมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทรัพยากรจากชาวพื้นเมืองหรือชาวเวียดนามจนนำไปสู่การต่อต้านอย่างรุนแรงหลายครั้งเช่น:

  • วีรสตรีในนาม ฮายบาจึง ได้นำกองกำลังต่อต้านการปกครองของจีน แต่ปราชัยในอีก 3 ปีต่อมาและตกเป็นส่วนหนึ่งของจีน
  • นักโทษปัญญาชนชาวจีนนามว่า หลีโบน ร่วมมือกับปัญญาชนชาวเวียดนามร่วมทำการปฏิวัติ ก่อตั้งราชวงค์หลี ขนานนามแคว้นว่า วันซวน แต่พ่ายแพ้ในที่สุด

การปกครองของจีนในเวียดนามขาดตอนเป็นระยะตามสถานการณ์ในจีนเอง ซึ่งเป็นโอกาสให้ชาวพื้นเมืองในเวียดนามตั้งตนเป็นอิสระ ในช่วงเวลาที่เวียดนามอยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์ถาง พุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่เวียดนาม เมืองต้าหลอหรือฮานอย เป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นศูนย์กลางการค้าการเดินทางของชาวจีนและอินเดีย พระสงฆ์และนักบวชในลัทธิเต๋าจากจีนเดินทางเข้ามาอาศัยในดินแดนนี้ ต่อมาราชวงศ์ถางได้เปลี่ยนชื่อเขตปกครองนี้ใหม่ว่า อันหนาน (หรืออันนัม ในสำเนียงเวียดนาม) หลังปราบกบฏชาวพื้นเมืองได้ แต่ถือเป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่จีนครอบครองดินแดนแห่งนี้

  • พ.ศ. 1498 - 1510 ราชวงศ์โง--หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ถางของจีน นายพลโงเกวี่ยนผู้นำท้องถิ่นในเขตเมืองฮวาลือ ทางใต้ของลุ่มแม่น้ำแดง ขับไล่ชาวจีนได้ แล้วจึงก่อตั้งราชวงศ์โงเปลี่ยนชื่อประเทศว่า ไดเวียด หลังจากจักรพรรดิสวรรคต อาณาจักรแตกแยกออกเป็น 12 แคว้น มีผู้นำของตนไม่ขึ้นตรงต่อกัน
  • พ.ศ. 1511 - 1523 ราชวงศ์ดิงห์--ขุนศึกดิงห์โบะหลิง แม่ทัพของราชวงศ์โง สามารถรวบรวมแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เปลียนชื่อประเทศเป็น

ไดโก่เวียด เริ่มสร้างระบบการปกครองแบบจีนมากกว่ายุคก่อนหน้า และตั้งตนเป็น จักรพรรดิดิงห์เตียน หรือ ดิงห์เตียนหว่าง เสมือนจักรพรรดิจิ๋นซีผู้รวบรวมจีน ถือเป็นการเริ่มใช้ตำแหน่งจักรพรรดิหรือ หว่างเด๋ ในเวียดนามเป็นครั้งแรก

  • พ.ศ. 1524-1552 ราชวงศ์เตี่ยนเลหรือเลยุคแรก--มเหสีของจักรพรรดิดิงห์โบะหลิง ได้ขับไล่รัชทายาทราชวงศ์ดิงห์ สถาปนาพระสวามีใหม่คือขุนศึกเลหว่านเป็นจักรพรรดิเลด่ายแห่ง โดยพยายามสร้างความมั่นคงด้วยการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับราชวงศ์ซ่งของจีนและปราบปรามกบฏภายใน แต่ก็ไม่รอดพ้นการรัฐประหาร สมัยนี้พุทธศาสนาและลัทธิเต๋ารุ่งเรืองมากและได้รับความเลื่อมใสศรัทธาในหมู่ชนชั้นสูงมาก

ราชวงศ์ยุคใหม่

ราชวงศ์เลช่วงแรกเป็นช่วงสร้างความมั่นคงและฟื้นฟูประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะในสมัยเลไถโต๋หรือเลเหล่ย เช่นการสร้างระบบราชการ จัดสอบคัดเลือกขุนนาง ตรากฎหมายใหม่ แบ่งเขตการปกครองใหม่ ฟื้นฟูการเกษตร รวมถึงการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนทำให้เวียดนามเข้าสู่ยุคสงบสุขปลอดจากสงครามอีกครั้ง

หลังสมัยเลเหล่ย เริ่มเกิดความขัดแย้งระหว่างขุนนางพลเรือนกับบรรดาขุนศึกที่ร่วมทัพกับเลเหล่ยในการสู้รบกับจีน ความขัดแย้งบานปลายจนนำไปสู่การแบ่งพรรคแบ่งพวกในหมู่ข้าราชสำนัก จนเกิดการรัฐประหารครั้งแรกของราชวงศ์เลใน พ.ศ. 2002 มีการประหารพระชนนีและจักรพรรดิขณะนั้น ต่อมาบรรดาขุนนางจึงสนับสนุนให้ราชนิกูลอีกพระองค์หนึ่งมาเป็นจักรพรรดิแทน ต่อมาคือจักรพรรดิเลแถงตง (พ.ศ. 2003-2040)

รัชกาลจักรพรรดิเลแถงตงถือว่ายาวนานและรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เวียดนาม มีการปฏิรูปประเทศหลายด้านโดยยึดรูปแบบจีนมากกว่าเดิม ทั้งระบบการสอบรับราชการที่จัดสอบครบสามระดับตั้งแต่อำเภอจนถึงราชธานี จำนวนขุนนางเพิ่มขึ้นทวีคูณและทำให้ระบบราชการขยายตัวมากกว่ายุคสมัยก่อนหน้า นอกจากนั้นยังมีการประมวลกฎหมายใหม่พระองค์ทรงสร้างเวียดนามให้เป็นมหาอำนาจและเป็นศูนย์กลางด้วยการทำสงครามกับเพื่อนบ้านที่มักขัดแย้งกับเวียดนามคือจัมปาและลาว อิทธิพลของเวียดนามรับรู้ไปจนถึงหัวเมืองเผ่าไทในจีนตอนใต้และล้านนา หลังรัชกาลนี้ราชวงศ์เลเริ่มประสบปัญหาความขัดแย้งในหมู่ขุนนาง เชื้อพระวงศ์ ปัญหาเศรษฐกิจจนที่สุดก็ถูกรัฐประหารโดยขุนศึกหมักดังซุง ในปี พ.ศ. 2071 เชื้อพระวงศ์ราชวงศ์เลหลบหนีด้วยการช่วยเหลือของขุนศึกตระกูลเหวียนและจิ่ง ที่มีอิทธิพลในราชสำนักมาแต่แรก

ราชวงศ์เลเริ่มการฟื้นฟูกอบกู้อำนาจคืนโดยมีแม่ทัพเป็นคนตระกูลเหวียนและจิ่ง ทำสงครามกับราชวงศ์หมักจนถึงปี พ.ศ. 2136 จึงสามารถยึดเมืองทังลองคืนได้และฟื้นฟูราชวงศ์เลปกครองเวียดนามต่อไป

ยุคแตกแยกเหนือ-ใต้

จักรวรรดิเวียดนาม

องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือเหงวียนฟุกอ๊าน (องเชียงสือ) ผู้นำตระกูลเหงวียน ซึ่งตั้งตนเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งราชวงศ์เหงวียน ในปี พ.ศ. 2345 สถาปนาราชธานีใหม่ที่เมืองเว้ แทนที่ทังลอง ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ฮานอย

องค์ชายเหงวียนแอ๋งหรือจักรพรรดิยาลอง จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์เหวียนเริ่มฟื้นฟูประเทศ เวียดนามมีอาณาเขตใกล้เคียงกับปัจจุบัน ดินแดนภาคใต้ขยายไปถึงปากแม่น้ำโขงและชายฝั่งอ่าวไทย ทรงรักษาสัมพันธ์กับชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวฝรั่งเศสที่ช่วยรบกับพวกเตยเซิน นายช่างชาวฝรั่งเศสช่วยออกแบบพระราชวังที่เว้ และ ป้อมปราการเมืองไซ่ง่อน

ราชวงศ์เหงวียนรุ่งเรืองที่สุดในสมัยจักรพรรดิมินหมั่ง จักรพรรดิองค์ที่สอง ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ด่ายนาม ขยายแสนานุภาพไปยังลาวและกัมพูชา ผนวกกัมพูชาฝั่งตะวันออก ทำสงครามกับสยามต่อเนื่องเกือบยี่สิบปี แต่ภายหลังต้องถอนตัวจากกัมพูชาหลังถูกชาวกัมพูชาต่อต้านอย่างรุนแรง

สมัยนี้เวียดนามเริ่มใช้นโยบายต่อต้านการเผยแพร่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงชาวตะวันตก มีการจับกุมและประหารบาทหลวงชาวตะวันตกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงชาวเวียดนามที่นับถือคริสต์ศาสนา จนถึงรัชกาลจักรพรรดิองค์ที่ 4 คือจักรพรรดิตึดึ๊ก ทรงต่อต้านชาวคริสต์อย่างรุนแรงต่อไป จนในที่สุดบาทหลวงชาวฝรั่งเศสขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตนให้ช่วยคุ้มครอง พ.ศ. 2401 เรือรบของกองทัพเรือฝรั่งเศสเข้ามาถึงน่านน้ำเมืองดานัง (หรือตูราน) ฐานทัพเรือใกล้เมืองหลวงเว้ นำไปสู่การสู้รบกันของทั้งฝ่าย

ต่อมากองกำลังฝรั่งเศสได้บุกโจมตีดินแดนภาคใต้บริเวณปากแม่น้ำโขงและยึดครองพื้นที่ได้เกือบทั้งหมด จักรพรรดิตึดึ๊กจึงต้องยอมสงบศึกและมอบดินแดนภาคใต้ให้แก่ฝรั่งเศส ชาวเวียดนามเริ่มต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสแต่ไม่อาจต่อสู้กับแสนยานุภาพทหางทหารที่เหนือกว่าได้ ฝรั่งเศสจึงเข้าควบคุมเวียดนามอย่างจริงจังมากขึ้นและแบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน คืออาณานิคมโคชินจีน ในภาคใต้ เขตอารักขาอันนัม ในตอนกลาง และ เขตอารักขาตังเกี๋ยในภาคเหนือ และเวียดนามยังมีจักรพรรดิเป็นประมุขเช่นเดิม แต่ต้องผ่านการคัดเลือกโดยข้าหลวงฝรั่งเศส และมีฐานะเป็นสัญลักษณ์ อำนาจในการบริหารการคลัง การทหาร และ การทูตเป็นของฝรั่งเศส ถือว่าเวียดนามสิ้นสุดฐานะเอกราชนับแต่นั้น

แผนที่อินโดจีน ค.ศ. 1913.

ฝรั่งเศสแสวงหาผลประโยชน์จากการปกครองเวียดนามทางด้านเศรษฐกิจ เวียดนามเป็นแหล่งปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ เช่นกาแฟ และยางพารา ส่งออกไปยังฝรั่งเศสและเป็นวัตถุดิบแก่โรงงานในฝรั่งเศส ที่ดินในเวียดนามถูกยึดและตกเป็นของชาวฝรั่งเศส และเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศสให้แพร่หลายในเวียดนาม ชาวเวียดนามส่วนหนึ่งได้รับการศึกษาแบบใหม่และเริ่มต้องการอิสระในการทำงานและมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มชาตินิยมต่าง ๆ ที่เข้มแข็งที่สุดคือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่ตั้งขึ้นโดยโฮจิมินห์ ในปี พ.ศ. 2473 และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น กลุ่มเวียดมินห์ ได้นำชาวนาก่อการต่อต้านฝรั่งเศสในชนบท

พ.ศ. 2488 โฮจิมินห์รับมอบอำนาจจากจักรพรรดิบ๋าวได่และรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกหลังประกาศเอกราช แต่หลังจากนั้นฝรั่งเศสได้กลับเข้ามาขับไล่รัฐบาลของโฮจิมินห์และไม่ยอมรับเอกราชของเวียดนาม นำไปสู่สงครามจนในที่สุดฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่กองกำลังเวียดมินห์ที่ค่ายเดียนเบียนฟู ในปี พ.ศ. 2497 และมีการทำสนธิสัญญาเจนีวา ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ยอมรับเอกราชของเวียดนาม แต่สหรัฐและชาวเวียดนามในภาคใต้บางส่วนไม่ต้องการรวมตัวกับรัฐบาลของโฮจิมินห์ ต่อมาได้ก่อตั้งดินแดนเวียดนามภาคใต้เป็นอีกประเทศหนึ่ง คือ สาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) มีเมืองหลวงคือ ไซ่ง่อน ใช้เส้นละติจูดที่ 17 องศาเหนือแบ่งแยกกับเวียดนามส่วนเหนือใต้การปกครองของโฮจิมินห์ (เวียดนามเหนือ)

สงครามเวียดนาม

สงครามเวียดนาม

เวียดนามเหนือไม่ยอมรับสถานภาพของเวียดนามใต้ ขณะที่สหรัฐได้ให้การช่วยเหลือทางการทหารแก่เวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งทหารมาประจำในเวียดนามใต้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เวียดนามเหนือประกาศทำสงครามเพื่อขับไล่และ ปลดปล่อย เวียดนามใต้จากสหรัฐและรวมเข้าเป็นประเทศเดียวกัน พร้อมให้การสนับสนุนกลุ่มชาวเวียดนามใต้ที่ต่อต้านสหรัฐ (เวียดกง) ในการทำสงคราม

การรบส่วนใหญ่กลายเป็นการรบระหว่างทหารสหรัฐและพันธมิตรจากต่างประเทศ กับกองกำลังเวียดกงและเวียดนามเหนือ ทั้งในชนบทและการโจมตีในเมือง แม้สหรัฐได้ทุ่มเทแสนยานุภาพอย่างเต็มที่แต่ก็ไม่อาจทำให้สงครามยุติลงได้ หลังการรุกโจมตีครั้งใหญ่ของเวียดนามเหนือและเวียดกงในปี พ.ศ. 2511 ที่เมืองเว้และเมืองหลักอื่น ๆ ในเวียดนามใต้ สหรัฐเริ่มเตรียมการถอนกำลังจากเวียดนามใต้และให้เวียดนามใต้ทำสงครามโดยลำพัง

สหรัฐถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2516 กองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกงจึงสามารถรุกเข้ายึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2518 การรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นับแต่นั้น

หน่วยงานราชการและการเมือง

1.การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดเพียงพรรคการเมืองเดียว ผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ได้แก่

  • กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย
  • กลุ่มอนุรักษนิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ “วิวัฒนาการที่สันติ” (peaceful evolution) อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ และ
  • กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยืดหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก

2.เวียดนามได้มีการเลือกตั้งสภาแห่งชาติ สมัยที่ 11 เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 มีผู้ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 498 คน เป็นผู้เลือกตั้งอิสระเพียง 2 คน ที่เหลือเป็นผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากพรรคคอมมิวนิสต์ สภาแห่งชาติมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่ตรากฎหมาย แต่งตั้งหรือถอดถอนประธานาธิบดี ประธานรัฐสภา และ นายกรัฐมนตรี

3.สภาแห่งชาติชุดใหม่ได้เปิดประชุมเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 โดยสภาได้มีมติสำคัญ ๆ คือ

  • รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อ 19 พฤษภาคม
  • เลือกตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ประจำสภา
  • การเลือกตั้งให้นายเหวียน วัน อาน ดำรงตำแหน่งประธานสภาต่อไป (เมื่อ 23 กรกฎาคม)
  • การเลือกตั้งให้นายเจิ่น ดึ๊ก เลือง ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไป (เมื่อ 24 กรกฎาคม) และ
  • เลือกตั้งให้นายฟาน วัน ขาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป (เมื่อ 25 กรกฎาคม) และได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อ 8 สิงหาคม 2545 โดยในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ 26 คน มีรัฐมนตรีที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ 15 คน

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ หลายคนเคยดำรงรัฐมนตรีช่วยในกระทรวงนั้น ๆ มาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกระทรวงใหม่ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม และกระทรวงภายใน ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการปฏิรูปเศรษฐกิจและการบริหารประเทศมากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาในประเด็นนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-เวียดนามที่ดำเนินไปด้วยดีในปัจจุบัน

4.แผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี ค.ศ. 2001-2010 เน้น 4 ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ และการปฏิรูปด้านการคลัง

การทหาร

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ตามเอกสารของสภาแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม:พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ การเปิดการกระจายความหลากหลายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบพหุภาคีการประสานงานระหว่างประเทศเชิงรุกกับคติ "เวียดนามยินดีที่จะเป็นเพื่อนและพันธมิตรที่เชื่อถือได้ของทุกประเทศในประชาคมโลกที่มุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ สันติภาพความเป็นอิสระและการพัฒนา "

เวียดนามเข้าร่วมกับองค์การสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2520 ในสมัยฯพณฯประธานาธิบดีเดยเหม่ยอย่างเป็นทางการเวียดนามได้ปรับความสัมพันธ์กับจีนในปี พ.ศ. 2535 และสหรัฐในปี พ.ศ. 2538 เข้าร่วมอาเซียนในปีเดียวกันนั้นเอง

ปัจจุบันเวียดนามได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 180 ประเทศ (รวมถึง 43 ประเทศในเอเชีย, 47 ประเทศในยุโรป, 11 ประเทศในโอเชียเนีย, 29 ประเทศในอเมริกา, 50 ประเทศในแอฟริกา) ทุกทวีป (เอเชีย - แปซิฟิก: 33 ประเทศ, ยุโรป: 46 ประเทศ, อเมริกา: 28 ประเทศ, แอฟริกา: 47 ประเทศ,และ ตะวันออกกลาง: 16 ประเทศ), รวมถึงทุกประเทศที่สำคัญและศูนย์กลางทางการเมืองของ โลก เวียดนามยังเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศ 63 แห่งและมีความสัมพันธ์กับองค์กรพัฒนาเอกชนมากกว่า 650 องค์กร ในเวลาเดียวกันเวียดนามมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับ 165 ประเทศและดินแดน ในสหประชาชาติเวียดนามทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการ ECOSOC สมาชิกคณะกรรมการบริหารของ UNDP UNFPA และ UPU

บทบาทภายนอกของเวียดนามในชีวิตทางการเมืองระหว่างประเทศได้รับการแสดงผ่านองค์กรที่ประสบความสำเร็จจากการประชุมระดับนานาชาติหลายครั้งในเมืองหลวงของกรุงฮานอย

ในปี พ.ศ. 2540 จัดประชุมสุดยอดชุมชนฝรั่งเศส

ในปี พ.ศ. 2541 มีการประชุมสุดยอดอาเซียน

ในปี พ.ศ. 2546 จัดประชุมนานาชาติเกี่ยวกับความร่วมมือและการพัฒนาในเวียดนามและแอฟริกา

ในปี พ.ศ. 2547 การประชุมสุดยอด ASEM จัดขึ้นในเดือนตุลาคม

ในปี พ.ศ. 2549 จัดประชุมสุดยอดเอเปคในเดือนพฤศจิกายน

ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมาเวียดนามได้กลายเป็นสมาชิกลำดับที่ 150 ขององค์การการค้าโลก (WTO) อย่างเป็นทางการ นี่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในกระบวนการของการรวมเข้ากับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 2550 เป็นเจ้าภาพการคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นิวยอร์กได้รับการโหวตอย่างเป็นทางการเวียดนามได้รับเลือกอย่างเป็นทางการในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในวาระปี พ.ศ. 2551-2552 .

เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 เวียดนามถือว่าบทบาทของประธานอาเซียนและในปีนั้นมีการประชุมระดับภูมิภาคจำนวนมาก

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นิวยอร์กได้ลงคะแนนในการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของเวียดนามเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) อย่างเป็นทางการปี 2016-2018

ในปี พ.ศ. 2559 จัดโอลิมปิกสากลชีวภาพ

ในปี พ.ศ. 2560 จัดการประชุมสุดยอดเอเปคในเดือนพฤศจิกายน

การแบ่งเขตการปกครอง









ภูมิศาสตร์

อ่าวหะล็อง
ชาวเวียดนามนิยมปลูกข้าวแบบขั้นบันได

เวียดนามเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวยาว และ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แต่มีภูเขาที่มีป่าหนาทึบแค่ 20% โดยมีพันธุ์ไม้ 13,000 ชนิด และพันธุ์สัตว์กว่า 15,000 สายพันธุ์

ลักษณะภูมิประเทศ

  • มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือ ตอนเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
  • มีที่ราบสูงตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มีเขา ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง 3,143 เมตร (10,312 ฟุต)

ลักษณะภูมิอากาศ

แผนที่ภูมิอากาศของเวียดนาม
  • เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) สภาพภูมิอากาศของเวียดนามตอนกลางและตอนใต้อยู่ในเขตเขตร้อน สภาพภูมิอากาศของเวียดนามตอนเหนือ (รวมถึงฮานอย) อยู่ในเขตกึ่งเขตร้อน
  • เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณร้อยละ 84 ตลอดปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5 องศาเซลเซียส

ชายแดน

ทั้งหมด 4,638 กิโลเมตร (2,883 ไมล์) โดยติดกับประเทศกัมพูชา 1,228 กิโลเมตร (763 ไมล์) ประเทศจีน 1,281 กิโลเมตร (796 ไมล์) และประเทศลาว 2,130 กิโลเมตร (1,324 ไมล์)

เศรษฐกิจ

ฮานอยมีเคียงนัมฮานอยแลนด์มาร์กทาวเวอร์ตึกที่สูงที่สุดในเวียดนาม

เกษตรกรรม

มีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย (ในปี พ.ศ. 2549 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน) [15] การประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์

อุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า ศูนย์กลางอยู่ที่โฮจิมินห์ซิตีและมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เบียนโฮ[16] การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ เวียดนามเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย [17]

สถานการณ์เศรษฐกิจ

ท่าเรือไซ่ง่อน

เวียดนามมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเผชิญภาวะขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า จึงมีการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ตั้งแต่กันยายนปี 2004 [18] แม้ว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจจะเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญรองจากเหตุผลทางการเมืองและยุทธศาสตร์ในการที่อาเซียนรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก แต่ก็ยังคงความสำคัญในระดับหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ความสัมพันธ์ทวิภาคีทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามและประกาศถอนทหารออกจากกัมพูชา และเมื่อเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงปารีสในปี 1991

เหตุผลการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน

  1. การสนับสนุนและความช่วยเหลือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมจากประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเวียดนามมองว่าเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับการปรับสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์และการปรับนโยบายต่างประเทศ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนจะทำให้เวียดนามมีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศจากสมาชิกต่าง ๆ อันจะมีส่วนเอื้ออำนวยและเร่งการพัฒนาของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของการแข่งขันได้ในที่สุด
  2. เวียดนามให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเข้าร่วมในระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและระบบเศรษฐกิจของโลก การเป็นสมาชิกของอาเซียนจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในเขตการค้าเสรีอาเซียน และนำเวียดนามไปสู่ความคุ้นเคยกับแนวทางปฏิบัติในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับโลก อันจะมีผลดีและเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่จะผลักดันเวียดนามให้ก้าวไปสู่การเป็นสมาชิกของ APEC และ WTO ได้ในที่สุด
  3. ในฐานะของสมาชิกอาเซียน เวียดนามหวังที่จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของการค้าและการลงทุนกับประเทศอาเซียนทั้งหลาย ขณะเดียวกันในขณะที่การค้าภายในกลุ่มอาเซียนกำลังขยายตัว เวียดนามก็ได้ตระเตรียมและปรับทิศทางการส่งออกของตนที่จะไปสู่ตลาดอาเซียนนี้อย่างจริงจังมากขึ้น การนำเข้าของเวียดนามจากอาเซียนในขณะนี้เป็นครึ่งหนึ่งของการนำเข้าทั้งหมดของทั้งหมดของเวียดนาม และประมาณร้อยละ 30 ของการค้าทั้งหมดของเวียดนามที่มีกับอาเซียนนอกจากนี้ เวียดนามยังหวังว่าตนจะได้รับสิทธิพิเศษ GSP อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป และเวียดนามยังจะเป็นจุดส่งออกที่สำคัญสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ

ในด้านการลงทุน ทั้งเวียดนามและประเทศในกลุ่มอาเซียนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนเข้าไปลงทุนในเวียดนามโดยเวียดนามจะสามารถดูดซึมเทคนิค วิทยาการและเทคโนโลยีที่ผ่านมากับการลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการร่วมทุน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการผลิตของเวียดนาม และขณะเดียวกัน นับตั้งแต่เวียดนามเปิดประเทศและประกาศกฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติ ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างก็ให้ความสนใจลพยายามแสวงหาโอกาสเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ทั้งนี้เพราะอาเซียนก็สนใจในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกันทั้งด้านการค้าและการลงทุน เนื่องจากเวียดนามเป็นตลาดใหญ่มีประชากรถึง 73 ล้านคน มีความสมบูรณ์ทางทรัพยาธรรมชาติ มีแรงงานที่มีศักยภาพและมีราคาถูก การมีเวียดนามเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นจะทำให้อาเซียนมีประชากรเพิ่มเป็น 420 ล้านคน และจะมีผลผลิตมวลรวมภายในถึง 500 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ อันจะทำให้อาเซียนมีศักยภาพในการขยายตัวกางเศรษฐกิจได้มากขึ้นไปอีก

ในปัจจุบัน ประเทศที่ได้รับการอนุมัติด้วยมูลค่าลงทุนมากที่สุดได้แก่สิงคโปร์ ซึ่งมีโครงการการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติจำนวนโครงการ ด้วยมูลค่า 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนในเวียดนามคิดได้เป็นร้อยละ 27.69 ของมูลค่าของการลงทุนต่างชาติทั้งสิ้นในเวียดนาม กล่าวคือในมูลค่า 8.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าของการลงทุนต่างชาติทั้งสิน 29.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีโครงการทั้งสิ้น 337 โครงการ โดยมาเลเซียลงทุนเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ ไทยลงทุนเป็นอันดับ 3 ประเภทของการลงทุนที่สมาชิกอาเซียนดำเนินการในเวียดนาม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้างสำนักงาน ที่อยู่อาศัย การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและการแปรรูปอาหาร เวียดนามหวังว่าการลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียนนี้จะมีส่วนช่วยถ่วงดุลการลงทุนจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น

ในขณะเดียวกันในส่วนของอาเซียน เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้อาเซียนยินดีรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกก็คือ การเข้ารวมกลุ่มอาเซียนของเวียดนามนั้นจะมีผลไปเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอีกทั้งอำนาจในการต่อรองทางการเมืองทั้งหลายต่างก็มีผลประโยชน์ที่สอดคล้องกัน ทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจร่วมกันอันนำไปสู่การยอมรับในที่สุด

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

เวียดนามมีพื้นฐานของนักปราชญ์ตั้งแต่ยุคโบราณ มีการสั่งสมความรู้ทั้งด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จนเป็นที่เลื่องลือ โดยในปัจจุบันเวียดนามเริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยี ในปี 2553 เวียดนามมีงบประมาณทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่ที่ 0.45% ของ GDP

การขนส่ง

อากาศ

เครื่องบินของสายการบินเวียดนามแอร์ไลน์

เวียดนามมีท่าอากาศยานขนาดใหญ่ 6 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย (Nội Bai) ในกรุงฮานอย, ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต (Tần Sơn Nhất) ในนครโฮจิมินห์, โครงการท่าอากาศยานนานาชาติล็องถั่ญ (Long Thánh) ในจังหวัดด่งนาย, ท่าอากาศยานจูลาย (Chu Lai) ในจังหวัดกว๋างนาม และท่าอากาศยานนานาชาติดานัง (Đà Nẵng) ในนครดานัง[19]

ถนน

ในส่วนของ ทางด่วนเหนือ–ใต้ การเชื่อมต่อ Cầu Giẽ และ บิ่ญถ่วน

ในปี 2553 ระบบถนนของเวียดนามมีความยาวรวมประมาณ 188,744 กิโลเมตร (117,280 ไมล์) โดยมี 93,535 กิโลเมตร (58,120 ไมล์) เป็นถนนลาดยาง

ทางรถไฟ

ทางรถไฟในเวียดนาม ปัจจุบันมีการเชื่อมต่อกับประเทศจีน และมีเครือข่ายในประเทศเท่านั้น ยังไม่มีทางเชื่อมต่อกับลาวและกัมพูชา ซึ่งขณะนี้กำลังวางแผนก่อสร้าง

ประชากรศาสตร์

เชื้อชาติ

มีจำนวน 84.23 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 253 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นชาวญวนร้อยละ 86 (บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่าย ชาวไท เหมื่อง ฮั้ว (จีน) ชาวเขมร นุง ชาวม้ง[20][21][22]

ภาษา

การสื่อสารใช้ภาษาเวียดนาม ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (Quốc ngữ) แทนตัวอักษรจีน (Chữ Nôm) ในการเขียนภาษาเวียดนาม [23]

ศาสนา

ศาสนาในประเทศเวียดนาม
ศาสนา ร้อยละ
พื้นบ้านและไม่มีศาสนา
  
73.2%
พุทธ
  
12.2%
คริสต์
  
8.3%
อื่น ๆ
  
6.3%
เจดีย์เสาเดียว แสดงให้เห็นถึงศาสนาพื้นบ้านเวียดนาม

จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2557[24] ประเทศเวียดนามมีประชากรนับถือศาสนา 90 ล้านคน แบ่งได้ดังนี้ ศาสนาพื้นบ้านเวียดนามและไม่มีศาสนา 24 ล้านคน (73.2%) ศาสนาพุทธ 11 ล้านคน (12.2%) ศาสนาคริสต์ 7.6 ล้านคน (8.3%) ลัทธิเฉาได 4.4 ล้านคน (4.8%) ลัทธิฮหว่าหาว 1.3 ล้านคน (1.4%) และศาสนาอื่น ๆ (0.1%) เช่น ศาสนาอิสลาม 75,000 คน ศาสนาบาไฮ 7,000 คน ศาสนาฮินดู 1,500 คน[25][26][27][28][29][30]

การศึกษา

ประวัติการศึกษาของเวียดนาม

ประเทศเวียดนามได้มีการพัฒนาการศึกษาควบคู่ไปกับพัฒนาของประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นระยะ ๆ ย่อ ๆ ในเชิงประวัติศาสตร์ดังนี้ (Pham Minh Hac,1995, 42-61)

1. ระยะที่อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จีน (Period of Chinese Imperial Domination) : 200 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 938

ในระยะนี้ประเทศเวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จีน ดังนั้นผู้บริหารของประเทศจีน จึงเป็นผู้ก่อตั้งระบบการศึกษาในประเทศเวียดนามทั้งในแบบของรัฐและเอกชน ซึ่งในสมัยก่อนเน้นเฉพาะการศึกษาของบุตรชายและการฝึกอบรมบุคคลเพื่อเข้าไปรับราชการและบริหารประเทศ มีนโยบาย "Feudal Intelligentsia" ซึ่งจะคัดเลือกเฉพาะบุตรชายจากครอบครัวขุนนางไปรับราชการกับราชวงศ์จีน ระบบการศึกษาต่อเนื่องของชาวเวียดนามในบางศตวรรษพบว่า บุคคลชาวเวียดนามที่มีฐานะทางสังคมดีและมีสติปัญญาดีจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปศึกษาต่อในประเทศจีน โดยมีการสอบแข่งขันหลายขั้นตอนและครั้งสุดท้ายจะสอบที่กรุงปักกิ่ง เมื่อสอบผ่านจะได้วุฒิเทียบเท่า Doctor’s Degree ระบบการศึกษาดังกล่าวสืบทอดมาจนถึง ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 - ค.ศ. 907) ระบบการศึกษาที่เลียนแบบมาจากประเทศจีนประกอบด้วย การศึกษาเบื้องต้น (Primary Education) ที่มีระยะเวลาการศึกษาน้อยกว่า 15 ปี และการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education) ที่มีระยะเวลาการศึกษามากกว่า 15 ปีขึ้นไป

2. ระยะที่ประเทศมีอิสรภาพ (Period of National Independence) : ค.ศ. 938 - ค.ศ. 1859

ในปี ค.ศ. 938 Ngo Dinh ได้รบชนะจีนและก่อตั้งราชวงศ์ Ngo Dinh และราชวงศ์ Le ตอนต้น (ค.ศ. 939 - ค.ศ. 1009) การศึกษาส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการโดยเอกชนและโรงเรียนพุทธศาสนา จนกระทั่งราชวงศ์ Le (ค.ศ. 1009 - ค.ศ. 1225) เริ่มให้ความสำคัญกับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ เช่น เมืองหลวงทังลอง หรือฮานอยในปัจจุบัน มีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศเวียดนามเป็นแห่งแรก ใน ค.ศ. 1076 ที่มีชื่อเรียกว่า "Quoc Tu Gian หรือ Royal College" เพื่อเป็นแหล่งการศึกษาของบุตรชายของครอบครัวที่มีฐานะดี ในยุคนี้มีการสร้างโรงเรียนของรัฐขึ้นอีกทั้งในส่วนกลางและจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้บุตรชายของสามัญชนเข้ารับการศึกษา ทำให้ระบบการศึกษาในประเทศเวียดนามในยุคนี้แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

  • Royal College อยู่ในเมืองหลวง อยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของกษัตริย์
  • โรงเรียนในระดับจังหวัดและอำเภอ เป็นโรงเรียนของรัฐซึ่งยังมีจำนวนไม่มากนัก
  • โรงเรียนของภาคเอกชน

อาจสรุปได้ว่าการศึกษาในระยะต้น ๆ ของประเทศเวียดนามอยู่ในระบบศักดินา ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการคัดเลือกคนเข้าไปเรียนเพื่อเป็นขุนนางและข้าราชการในระดับต่าง ๆ

3. ระยะที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศส (Period of French Colonialism): ค.ศ. 1859 - 1945

ในระยะที่ประเทศเวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนี้ ระยะแรก ๆ ยังคงใช้ระบบการศึกษาตามลัทธิขงจื้ออยู่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1917 จึงได้มีการเริ่มระบบการศึกษาแบบฝรั่งเศส แต่ให้ความสำคัญกับการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีโรงเรียนประถมศึกษาเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่มีพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่น

การศึกษาในเบื้องต้นมีเกรด 1 - 2 มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน Ecole Communale ใช้เรียกการศึกษาในทางตอนเหนือ Ecole Auxilier Preparatoire ใช้เรียกการศึกษาทางตอนใต้ และ Ecole Preparatoire ใช้เรียกการศึกษาในตอนกลางของประเทศ ในบางเมืองมีการศึกษาพื้นฐาน 6 ปี ในเมืองใหญ่ ๆ เช่น ฮานอย ไฮฟอง และวิญ มีการศึกษาที่สูงกว่า ระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 4 ปี และมีเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ เท่านั้นที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษา คือ Ha Noi, Hue และ Saigon

ตอนต้นศตวรรษที่ 20 ประเทศฝรั่งเศสมีการพัฒนาการศึกษาวิชาชีพ (Professional Education) ขึ้น โดยมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาที่มีรูปแบบตะวันตก ในปี ค.ศ. 1902 มีวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกที่กรุงฮานอย และมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลายแห่งในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีสถาบันการศึกษาทางด้านเทคนิคและอุตสาหกรรมอีกหลายแห่ง ซึ่งมีระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี เน้นการฝึกอบรมทักษะในการทำงานกับเครื่องจักรกล สถาบันการศึกษาในระดับนี้เรียกว่า โรงเรียนฝึกวิชาชีพชั้นสอง จนกระทั่ง ค.ศ. 1919 จึงมีระบบการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยที่มีการศึกษาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วิชาฟิสิกส์ เคมี จนกระทั่งถึง ค.ศ. 1923 ได้เริ่มมีการจดทะเบียนผู้ที่ศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย

โดยทั่วไปแล้วระบบการศึกษาของประเทศเวียดนามภายใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศส ยังมีความจำกัดอยู่มาก โดยพบว่ามีจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนประมาณรัอยละ 2.6 ของประชากรในวัยเรียนทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่มีประชากรทั้งหมด 17,702,000 คน ในปี ค.ศ. 1931

4. ระยะหลังการปฏิวัติเดือนสิงหาคม (Period after August Revolution) : ค.ศ. 1945 - 1975

5. ระยะของการรวมประเทศ (Period of National Reunification) : ค.ศ. 1975 - ปัจจุบัน

การศึกษาของเวียดนามในปัจจุบัน

ปัจจุบันเวียดนามแบ่งลักษณะของการจัดการศึกษาไว้ 5 ลักษณะ คือ

1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (Pre-School Education) ประกอบด้วยการเลี้ยงดูเด็ก สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี และอนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3 - 5 ปี

2. การศึกษาสามัญ (5 - 4 – 3)

  • ระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับ 5 ปี ชั้น 1 - 5
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือชั้น 6 - 9
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือชั้น 10 - 12

3. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ มีเทียบเคียงทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย

4. การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็นระดับอนุปริญญา (Associate degree) และระดับปริญญา

5. การศึกษาต่อเนื่อง เป็นการศึกษาสำหรับประชาชนที่พลาดโอกาสการศึกษาในระบบสายสามัญและสายอาชีพ

การศึกษาสามัญ 12 ปี (General Education) ของเวียดนามนั้นเวียดนามมีวัตถุประสงค์ที่จะ ให้ประชาชนได้มีวิญญาณในความเป็นสังคมนิยม มีเอกลักษณ์ประจำชาติ และมีความสามารถในด้านอาชีพ ในอดีตการศึกษาสามัญของเวียดนามมีเพียง 10 ปีเท่านั้น และไม่มีอนุบาลศึกษามาก่อนจนถึงปีการศึกษา 2532 - 2533 จึงมีการศึกษาถึงชั้นปีที่ 9 ทั้งประเทศ ซึ่งได้เรียกการศึกษาสามัญ 9 ปี ดังกล่าวนี้ว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic Education) และเมื่อได้ขยายไปถึงปีที่ 12 แล้วจึงได้เรียกการศึกษาสามัญ 3 ปีสุดท้ายว่า มัธยมชั้นสูง (Upper Secondary School) ปี 2535 - 2536 ระบบการศึกษาสามัญในเวียดนามจึงกลายเป็นระบบ 12 ชั้นเรียนทั้งประเทศ โดยเด็กที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 จะมีอายุย่างเข้าปีที่ 6

เมื่อเวียดนามได้ใช้ระบบการศึกษาเป็น 12 ปีแล้ว จำนวนนักเรียนในทุกระดับชั้นยังมีน้อย ดังนั้นปี 2534 สภาแห่งชาติของเวียดนามจึงได้ออกกฎหมายการกระจายการศึกษาระดับประถมศึกษา (Law of Universal Primary Education) ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกว่าด้วยการศึกษาของเวียดนาม

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมของเวียดนามส่วนใหญ่ล้วนมีวัฒนธรรมที่มีรากฐานมาจากจีน และศาสนาพุทธและลัทธิเต๋า

สื่อสารมวลชน

สื่อของเวียดนามได้รับการควบคุม โดยรัฐบาลตามกฎหมายปี 2004 ในการเผยแพร่ [31] โดยทั่วไปจะมองเห็นว่า ภาคสื่อของเวียดนามถูกควบคุม โดยรัฐบาลไปตามเส้นทางของพรรคคอมมิวนิสต์ แม้ว่าหนังสือพิมพ์บางฉบับจะค่อนข้างตรงไปตรงมา [32] เสียงของเวียดนามเป็นบริการกระจายเสียงทางวิทยุแห่งชาติที่รัฐ ออกอากาศผ่านทางเอฟเอ็มโดยใช้เครื่องส่งสัญญาณให้เช่าในประเทศอื่น ๆ และการให้การออกอากาศจากเว็บไซต์ของ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศเวียดนาม เป็นบริษัทวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

ตั้งแต่ปี 1997 เวียดนามมีการควบคุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสาธารณะอย่างกว้างขวาง โดยใช้วิธีการทางกฎหมายและทางเทคนิค เพื่อล็อกผลจะเรียกกันอย่างแพร่หลายว่า "แบมบู ไฟร์วอลล์"[33] โครงการความร่วมมือโอเพ่นเน็ตริเริ่มจัดระดับของเวียดนามการเซ็นเซอร์ทางการเมืองจะเป็นการ "แพร่หลาย"[34] ในขณะที่ผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนเวียดนามพิจารณาให้เป็นหนึ่งใน 15 ของโลก "ศัตรูของอินเทอร์เน็ต"[35] แม้ว่ารัฐบาลของเวียดนามอ้างว่าเพื่อป้องกันประเทศกับเนื้อหาลามกอนาจารหรือไม่เหมาะสมทางเพศผ่านความพยายามสกัดกั้นของหลายทางการเมืองและศาสนาเว็บไซต์ที่มีความสำคัญเป็นสิ่งต้องห้ามยัง[36]

ดนตรี

เพลงเวียดนามแบบดั้งเดิมแตกต่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศ ดนตรีคลาสสิกเหนือเป็นรูปแบบดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดของเวียดนามและเป็นประเพณีที่เป็นทางการมากขึ้น ต้นกำเนิดของดนตรีเวียดนามสามารถโยงไปถึงการรุกรานของมองโกลในศตวรรษที่ 13 เมื่อเวียดนามจับกุมคณะงิ้ว[37]

วรรณกรรม

วรรณกรรมในเวียดนาม มีมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์โง มีการกล่าวเน้นเกี่ยวกับบรรพบุรุษหรือวีรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกไปด้วย

เทศกาล

ต้นไม้ของประเพณีตรุษญวน (ปีใหม่ทางจันทรคติ)

เวียดนามมีเทศกาลตามปฏิทินจันทรคติมากมาย เทศกาลที่สำคัญที่สุดคือการเฉลิมฉลองปีใหม่ตรุษญวน งานแต่งงานเวียดนามแบบดั้งเดิมยังคงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและมักจะมีการเฉลิมฉลองโดยชาวเวียดนามในประเทศตะวันตก

เทศกาลเต๊ต (tết)
เป็นเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด มีชื่อเต็มว่า "เต๊ตเงวียนด๊าน"(Tết Nguyên Đản) หมายความว่า เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี มีขึ้นระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื่อ และศาสนาพุทธ และเป็นการเคารพบรรพบุรุษ
เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวน (บั๋นตรุงทู)(Bánh trung thu) พร้อมทั้งจัดขบวนแห่เชิดมังกร เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อดวงจันทร์

การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวเป็นองค์ประกอบสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศคิดเป็น 7.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เวียดนามต้อนรับผู้มาเยือนกว่า 12.9 ล้านคนในปี 2560 เพิ่มขึ้น 29.1% จากปีก่อนทำให้เวียดนามเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่เติบโตเร็วที่สุดในปีที่ผ่านมา ผู้มาเยือนเวียดนามส่วนใหญ่ในปี 2560 มาจากเอเชียมีจำนวน 9.7 ล้านคน จีน (4 ล้านคน) เกาหลีใต้ (2.6 ล้านคน) และญี่ปุ่น (798,119) คิดเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดในปี 2560 [285] เวียดนามยังดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากจากยุโรปด้วยจำนวน 1.9 ล้านคนในปี 2017 รัสเซีย (574,164) ), สหราชอาณาจักร (283,537), ตามมาด้วยฝรั่งเศส (255,396) และเยอรมนี (199,872) เป็นแหล่งที่มาของนักท่องเที่ยวจากยุโรปที่ใหญ่ที่สุด จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐ (614,117) และออสเตรเลีย (370,438)

กีฬา

โววีนัม ศิลปะการต่อสู้แบบเวียดนาม

กีฬาที่ได้รับความนิยมมากในเวียดนามคือ กีฬาโววีนัม เป็นศิลปะการต่อสู้แบบเวียดนาม ในขณะเดียวกันกีฬาจากตะวันตกอย่างฟุตบอลก็ได้รับความนิยมอย่างสูงในเวียดนาม ฟุตบอลทีมชาติเวียดนามชนะการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนสองสมัยในปี 2551 และ 2561 แบะผ่านเข้าถึงรอบก่องรองชนะเลิศเอเชียนคัพ 2019 ทีมเยาวชนชุดอายุต่ำกว่า 23 ปี คว้ารองแชมป์ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2018 และคว้าอันดับสี่ในฟุตบอลเอเชียนเกมส์ 2018 ในขณะที่ทีมรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ได้มีส่วนร่วมในฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี 2017[38][39] ฟุตบอลหญิงทีมชาติเวียดนาม มีผลงานโดดเด่นเช่นกัน โดยเป็นทีมที่คว้าเหรียญทองในกีฬาซีเกมส์ได้มากที่สุดจำนวน 7 สมัย

กีฬาอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมได้แก่ แบดมินตัน, เทนนิส, วอลเลย์บอล, เทเบิลเทนนิส และ หมากรุกสากล ปัจจุบันเวียดนามเป็นหนึ่งในชาติที่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันทางด้านกีฬา จากการคว้าชัยชนะจากกีฬาหลายประเภท และมีส่วนร่วมในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน โดยเป็ยสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล

อาหาร

เฝอ หนึ่งในอาหารเวียดนามยอดนิยม

อาหารในเวียดนามมีวัฒนธรรมอาหารที่มาจากจีน หรือประยุกต์มาจากอาหารแบบจีน โดยผสมผสานกับวัฒนธรรมแบบเกษตรเวียดนาม ซึ่งเฝอเป็นอาหารยอดนิยมในเวียดนาม และโด่งดังในฐานะอาหารประจำชาติของประเทศเวียดนาม

การแต่งกาย

การแต่งกายอ๊าวส่าย (Áo dài) เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัว สวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงาน และพิธีการสำคัญของประเทศ ชุดผู้หญิงคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมมากจากผู้หญิงเวียดนามทั่วทั้งประเทศ ส่วนผู้ชายจะสวมใส่ชุดอ๊าวส่ายด๋ในพิธีแต่งงานหรือพิธีศพ

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. ทะเลจีนใต้ในเวียดนามเรียกว่าทะเลตะวันออก (Biển Đông)[10]
  1. รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามกล่าวว่าภาษาเวียดนามเป็น "ภาษาประจำชาติ" มากกว่า "ภาษาทางการ"; ภาษาเวียดนามเป็นภาษาเดียวโดยพฤตินัยที่ใช้ในเอกสารราชการและกฎหมาย[1]
  2. มีอีกชื่อว่าชาวกิญ[2]
  3. มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557[5]

อ้างอิง

  1. "The Constitution of the Socialist Republic of Vietnam". Vietnam News Agency. 15 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-01. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
  2. Communist Party of Vietnam 2004.
  3. 3.0 3.1 General Statistics Office of Vietnam 2019.
  4. "2019 Report on International Religious Freedom: Vietnam". U.S. Department of State.
  5. Constitution of Vietnam 2014.
  6. https://nhandan.vn/dan-so-trung-binh-cua-viet-nam-nam-2023-dat-1003-trieu-nguoi-post789936.html
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 International Monetary Fund.
  8. World Bank 2018c.
  9. "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 3 March 2023.
  10. "China continues its plot in the East Sea". Vietnamnet News. 10 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-16. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  11. "Vietnam | History, Population, Map, Flag, Government, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  12. Editors, History com. "Vietnam War". HISTORY (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  13. Woods 2002, p. 38
  14. Yue-Hashimoto 1972, p. 1
  15. http://www.nhandan.com.vn/english/business/050707/business_p.htm
  16. "อมตะซิตี้ เบียนโฮ ทางเลือกใหม่ลงทุน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-07-02.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2007-08-18. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  18. http://thai.cri.cn/1/2007/12/05/21@114375.htm
  19. "เวียดปักธงสนามบิน $8 พันล้าน แข่งสุวรรณภูมิ (ผู้จัดการ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2007-07-04. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  20. "Under South Vietnam Rule" เก็บถาวร 2012-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. MHRO.org. 2010. Retrieved 21 April 2012.
  21. World Directory of Minorities and Indigenous Peoples – Vietnam: Chinese (Hoa).UNHCR Refworld. Retrieved 12 February 2013.
  22. Vietnam (08/08). U.S. Department of State. Retrieved 12 February 2013.
  23. หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6 คอลัมน์ หน้าต่างความจริง วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10620
  24. [1] Religion in Vietnam
  25. "Background Note: Vietnam". US Department of State. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
  26. "The Largest Buddhist Communities" เก็บถาวร 2010-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Adherents.com. Retrieved 9 July 2013. This source quotes a much lower figure than the 85% quoted by the US Department of State.
  27. "Vietnam". APEC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-06. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
  28. "Vietnam". Encyclopedia of the Nations. 14 August 2007. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
  29. "Religion of the Vietnamese". Mertsahinoglu.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-13. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  30. "Vietnam: International Religious Freedom Report 2007". U.S. Department of State: Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor. 14 September 2007. สืบค้นเมื่อ 21 January 2008.
  31. "Law on Publication (No. 30/2004/QH11 of 3 December 2004)". Ministry of Justice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-18. สืบค้นเมื่อ 21 September 2011.
  32. "Muting the Messengers: Vietnam's Press Under Pressure". The Economist. London. 15 January 2009. สืบค้นเมื่อ 17 January 2009.
  33. Wilkey, Robert N (2002). "Vietnam's Antitrust Legislation and Subscription to E-ASEAN: An End to the Bamboo Firewall Over Internet Regulation?". John Marshall Journal of Computer and Information Law. 20 (4). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-19. สืบค้นเมื่อ 2013-08-20.
  34. OpenNet Initiative (9 May 2007). "Country Profile: Vietnam". สืบค้นเมื่อ 15 July 2008.
  35. Reporters Without Borders. "Internet Enemies: Vietnam". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 15 July 2008. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  36. "OpenNet Initiative Vietnam Report: University Research Team Finds an Increase in Internet Censorship in Vietnam". Berkman Center for Internet & Society at Harvard University. 5 August 2006. สืบค้นเมื่อ 15 July 2008.
  37. "Opera—Vietnam". Encyclopedia of Modern Asia. 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 11 August 2012 – โดยทาง BookRags.com.
  38. "Feature: Football mania spreads after Vietnam makes history at Asiad - Xinhua | English.news.cn". web.archive.org. 2018-08-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-19. สืบค้นเมื่อ 2022-07-18. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  39. Rick, August. "How Vietnamese Soccer Upset The Odds That China Is Banking On". Forbes (ภาษาอังกฤษ).

อ่านเพิ่ม

สิ่งพิมพ์

ข้อมูลกฎหมายและรัฐบาล

การเผยแพร่ทางวิชาการ

ข่าวและวารสาร

เว็บไซต์

เนื้อหาเสรี

 บทความนี้รวมข้อความจากงานที่มีเนื้อหาเสรี (free content) ข้อความนำมาจาก UNESCO Science Report: towards 2030, 713–714, UNESCO, UNESCO Publishing.
แม่แบบ:US DOS Background Notes

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล

สื่อและการเซ็นเซอร์

การท่องเที่ยว

Kembali kehalaman sebelumnya