Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Thammasat School of Engineering
สถาปนา19 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (35 ปี)
คณบดีศ.ดร.สัญญา มิตรเอม[1]
ที่อยู่
ศูนย์รังสิต
เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
ศูนย์พัทยา
เลขที่ 39/4 หมู่ 5 ถนนชลบุรี–ระยอง ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
สี  สีเลือดหมู
มาสคอต
เกียร์
เว็บไซต์www.engr.tu.ac.th

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Thammasat School of Engineering; TSE) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 10 ของมหาวิทยาลัย และเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 9 ในมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่แรกของประเทศไทยที่มีจัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติที่สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด, หลักสูตรปริญญาตรีสองสถาบัน และหลักสูตรปริญญาตรีควบปริญญาโท คณะมีชื่อเสียงในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติซึ่งมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศอังกฤษ สหภาพยุโรป และผลิตงานวิจัยอย่างต่อเนื่องด้านไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ การสื่อสารโทรคมนาคม เครื่องกล โยธา เคมี อุตสาหการ

โดยในปี ค.ศ. 2024 ได้รับการจัดอันดับจาก EduRank ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีชื่อเสียงด้านการจัดอันดับ ประเมินมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยประเมินจากผลงานวิชาการวิจัย การตีพิมพ์บทความระดับนานาชาติ ในด้านวิศวกรรมอุตสาหการอยู่ในลำดับที่ 2 ของประเทศไทย(อันดับ 1 คือ Asian Institute of Technology) อันดับ 114 ของเอเชียและ อันดับ 442ของโลก [2]

โดยคณาจารย์ผู้สอนล้วนเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์ประวัติการศึกษา วิจัยจากมหาวิทยาลัยระดับชั้นนำของโลกรวมถึง ระบบVisiting Professor อาจารย์พิเศษรับเชิญที่มีความรู้ความชำนาญ มีประสบการณ์จริงเป็นที่ยอมรับว่าเป็นแนวหน้าในสาขานั้นๆ ทำให้คณะได้รับความนิยมอย่างสูงจากการจัดอันดับในการประสงค์เข้าศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมปลายสายวิทยาศาสตร์ ในกลุ่ม The Most Popular University in Thailand[3]

โดยปรัชญาด้านเสรีภาพของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทำให้นักศึกษาที่นี่ มีอิสระด้านความคิด และ มีปรัชญาด้านการรับใช้สังคม และ เพื่อนมนุษย์โดยโครงงานวิศวกรรมของที่นี่ จะโดดเด่นด้านการนำความรู้ด้านวิศวกรรมประยุกต์เพื่อออกแบบ สร้างหุ่นยนต์ อุปกรณ์เครื่องกล การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าย่านไมโครเวฟสร้างพลังงาน ยานพาหนะเพื่อคนพิการ วัสดุชนิดใหม่ทางเคมี วัสดุก่อสร้างที่ประหยัดพลังงาน การสร้างโมเดลระบบปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่บูรณาการด้าน วิทยาศาสตร์เข้ากับ ศิลปศาสตร์ อย่างสมบูรณ์เนื่องด้วยพื้นฐานมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่น ด้านการเมือง การปกครอง นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ การบัญชี รัฐศาสตร์

ทำเลที่ตั้งนับว่าเป็นจุดที่โดดเด่น และเป็นข้อได้เปรียบอย่างยิ่ง เพราะอยู่ในอาณาบริเวณ แคมปัสขนาดใหญ่ที่รายล้อมด้วยอุทยานวิทยาศาสตร์ระดับชาติ ประกอบด้วย ศูนย์วิจัยวัสดุ และโลหะแห่งชาติ MTEC ศูนย์วิจัยอิเลคทรอนิคส์นิคส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ NECTEC ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ BIOTEC และ ศูนย์วิจัยด้านพลังงานและแบตเตอรี่ PTEC ศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยี NanoTec ซึ่งล้วนเป็นศูนย์รวมงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับนานาชาติแห่งแรกของประเทศไทยที่มี นักวิจัยระดับชั้นนำมีความเชี่ยวชาญ ด้านโลหะ วัสดุ โพลิเมอร์ ไฟฟ้า พลังงาน แบตเตอรี่ อิเลคทรอนิคส์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี รวมถึง ด้านซิงโครตรอน และ โฟโตนิคส์ ระบบปัญญาประดิษฐ์ ArtificialIntelligence จึงเป็นโอกาสอันดีที่นักศึกษาที่นี่ สามารถร่วมทำวิจัย ฝึกงาน ดูงาน และมีโอกาสใช้งานเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในระดับนานาชาติ อาทิ SuperComputer ระบบเลเซอร์ และพลาสมา เครื่องเร่งอนุภาค เครื่องมือทดสอบระบบมอเตอร์ไฟฟ้าและหน่วยกักเก็บพลังงาน อีกทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ยังมีความร่วมมือ กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย AIT ที่อยู่ในวิทยาเขตเดียวกัน ซึ่งที่เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำระดับนานาชาติ ปริญญาโท เอก ด้านวิศวกรรมศาสตร์

ธรรมศาสตร์ วิทยาเขตศูนย์รังสิต ทำเลที่ตั้งยังใกล้กับ เขตประกอบการนิคมอุตสาหกรรม ต่าง อาทิ นวนคร โรจนะ ไฮเทค รวมถึง ธรรมศาสตร์ วิทยาเขตศูนย์พัทยา ที่ล้อมรอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ด้าน ภาคตะวันออก อาทิ นิคมอีสเทอร์นซีบอร์ด นิคมอมตะซิตี้ นิคมมาบตาพุดทำให้สะดวกต่อการฝึกงาน และการรวมถึงแลกเปลี่ยนดูงาน การทำความร่วมมือต่างๆ

ปัจจุบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง ผู้บริหารภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ ผู้นำภาคการเมือง ผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองแนวใหม่ นักวิชาการ สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชื่อดัง ทั้งในและ ต่างประเทศ

ประวัติคณะ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีดำริที่จะจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 ดังมีหลักฐานปรากฏในข้อเสนอแผนดำเนินการโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนาคม พ.ศ. 2521 ความว่า "25 ธันวาคม พ.ศ. 2511 สภาการศึกษามีหนังสือ ที่ สร.0411 (1) แจ้งว่าได้ส่งเรื่องไปยังมูลนิธิฟอร์ดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอความช่วยเหลือในการจัดสอนทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปริญญาตรี และช่วยในการวางแผนก่อสร้างมหาวิทยาลัยที่รังสิตและวังหน้า" หลังจากปี พ.ศ. 2511 ก็ได้มีการพัฒนาที่ดินมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่รังสิตมาโดยลำดับ และได้มีการจัดส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อต่างประเทศทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ แต่ในช่วง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มหาวิทยาลัยประสบภาวะวิกฤตการณ์ทางด้านการเมือง จึงทำให้โครงการต่าง ๆ ต้องชงักงันไป

ในปี พ.ศ. 2531 สมัยศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เสนอโครงการจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในช่วงการปรับแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 6 โดยผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 และจัดส่งให้ทบวงมหาวิทยาลัยพิจารณา เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2531 ขณะเดียวกันได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2531 พิจารณาเรื่องการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ยกฐานะวิทยาลัยในหลายจังหวัดขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยและได้มีมติ "ให้ทบวงมหาวิทยาลัยรับไปพิจารณาเสนอจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วน"

เมื่อข้อเสนอโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการปรับแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 6 ของทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2531 และได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2532 แล้ว ทบวงมหาวิทยาลัยได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ไปยังสำนักงาน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่าง ๆ โดยต้องให้สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ. พิจารณาเสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งในที่สุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2532 และได้ส่งร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะฯ ให้สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา จากนั้นสำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีได้ส่งไปยังสำนักราชเลขาธิการเพื่อโปรดเกล้าลงพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงถือว่าวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เป็นวันจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้เริ่มดำเนินการเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยในด้านการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ในช่วงการปรับแผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2533–2534 (2 ปีสุดท้ายของแผน) เพื่อให้มีส่วนในการผลิตวิศวกรสาขาต่าง ๆ ออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติ อันเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2532

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงกำหนดให้วันนี้เป็นวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยเป็น คณะที่ 10 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งที่ 9 ในมหาวิทยาลัยของรัฐโดยเริ่มมีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ ปีการศึกษา 2533 เป็นต้นมา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีการศึกษา การดำเนินงาน
2533 เปิดรับนักศึกษา 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
2534 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
2536 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
2538 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
2539 เปิดรับนักศึกษาโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งน็อตติ้งแฮมประเทศอังกฤษ 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
2540 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
2545 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล เปิดรับนักศึกษา หลักสูตรปริญญาโท 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และสาขาวิชาเคมี เปิดรับนักศึกษา หลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และเปิดหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2549 เปิดรับนักศึกษาโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาท์เวลล์ ประเทศออสเตรเลีย 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
2551 เปิดหลักสูตรปริญญาตรี–โท วิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ (Engineering and Business Management) และหลักสูตรปริญญาโท–เอก วิศวกรรมทางการแพทย์ (Medical Engineering)
2554 เปิดหลักสูตรควบวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตและวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ (Integrated Program of Bachelor and Master of Engineering in Industrial Electrical Engineering)
2556 เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) (Automotive Engineering Program)
2557 เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Bachelor of Engineering Program in Software Engineering) 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ได้ขยายการเรียนการสอน และให้บริการศูนย์ฝึกอบรม สัมมนาในภูมิภาค มีนโยบายที่จะพัฒนาศูนย์การศึกษาภูมิภาคอย่างจริงจัง เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา และนำความเป็นเลิศทางวิชาการ วิธีคิดและวิถีของความเป็นธรรมศาสตร์ไปสู่ชุมชนภาคภาคตะวันออกอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2557 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา ได้รับเงินสนับสนุนจาก บริษัท สยามกลการ จำกัด ในการสร้างอาคารปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์ เป็นจำนวนเงิน 68 ล้านบาท และอาคารสนับสนุนการเรียนการสอน (หอพัก) เป็นจำนวนเงิน 30 ล้านบาท อีกทั้งบริษัทสยามกลการยังได้บริจาคเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในอาคารปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์ และทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ที่มีผลการเรียนดี   

หน่วยงานและหลักสูตร

ปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรทั้งภาคปกติ และโครงการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[4]

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
บัณฑิตศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์ (หลักสูตรพหุวิทยาการ)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมทางการแพทย์ (หลักสูตรพหุวิทยาการ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน และโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาคภาษาอังกฤษ (TEP–TEPE) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (สองสถาบัน)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (สองสถาบัน)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (สองสถาบัน)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (สองสถาบัน)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (สองสถาบัน)
โครงการหลักสูตรนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ (TU–PINE) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและบริหารการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ

รายนามคณบดี

รายนามคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีดังนี้

ทำเนียบคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ดร.นักสิทธิ์ คูวัฒนาชัย 15 มกราคม พ.ศ. 2533 – 14 มกราคม พ.ศ. 2536
รองศาสตราจารย์ สถาพร  เกตกินทะ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2537 (รักษาการ)
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมนึก  ประภารธนาธร 10 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2537
3. รองศาสตราจารย์ ดร.จิรศิริพงศ์  เจริญภัณฑารักษ์

สมัยที่ 1 ตั้งแต่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2540 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2543 
สมัยที่ 2 ตั้งแต่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2543 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545 
19 สิงหาคม พ.ศ. 2545 – 2 กันยายน พ.ศ. 2545 (รักษาการ)

4. รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ บุญญภิญโญ 2 กันยายน พ.ศ. 2545 – 2 กันยายน พ.ศ. 2548
5. รองศาสตราจารย์ ดร.อุรุยา วีสกุล สมัยที่ 1 2 กันยายน พ.ศ. 2548 – 2 กันยายน พ.ศ. 2551
2 กันยายน พ.ศ. 2551 – 29 กันยายน พ.ศ. 2551 (รักษาการ)
สมัยที่ 2 29 กันยายน พ.ศ. 2551 – 29 กันยายน พ.ศ. 2554
6. รองศาสตราจารย์ ดร.ประภัสสร์  วังศกาญจน์ สมัยที่ 1 29 กันยายน พ.ศ. 2554 – 29 กันยายน พ.ศ. 2557
สมัยที่ 2 29 กันยายน พ.ศ. 2557 – 29 กันยายน พ.ศ. 2560
29 กันยายน พ.ศ. 2560 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (รักษาการ)
7. รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล สมัยที่ 1 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
สมัยที่ 2 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
8. ศ.ดร.สัญญา มิตรเอม 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. "รายนามผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-11. สืบค้นเมื่อ 2013-10-18.
  2. "Thailand's best Industrial Engineering universities [Rankings]". EduRank.org - Discover university rankings by location (ภาษาอังกฤษ). 2021-08-11.
  3. TAEMPHIMAI, AMONWIWAT (2024-06-24). "10 อันดับ "คณะวิศวะ" ยอดนิยม ที่ นักเรียน อยากสอบเข้าเรียนต่อมากที่สุด". www.komchadluek.net.
  4. "หลักสูตรคณะวิศวกรรมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 2013-10-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9