Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี

อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี
แผนที่
ประเภทอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น ที่จอดรถใต้ดิน 1 ชั้น และสวนสาธารณะ
พื้นที่92 ไร่
เปิดตัว10 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ผู้ดำเนินการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถานะเปิดทำการบางส่วน

อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี คือ อาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น ที่จอดรถใต้ดิน 1 ชั้น และสวนสาธารณะ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สร้างขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีพื้นที่ 92 ไร่[1] ประกอบด้วยสวนสาธารณะใหญ่ระดับเมืองราว 80 ไร่และตัวอาคารอีกราว 20 ไร่ มีพื้นที่อาคารรวม 60,000 ตร.ม.[2] ประกอบด้วยอาคารป๋วย 100 ปี ตึกเรียนสีเขียวรูปตัวเอช ที่มาจากความหมายของคำว่า Humanity ใต้หลังคาที่โค้งเป็นเนินดิน เป็นแปลงเกษตรในเมืองบนหลังคาเขียวที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย[3] และสวนสาธารณะลอยฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย และใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากที่สหรัฐ[4] มีแปลงเกษตรออร์แกนิกพื้นที่ 7,000 ตร.ม.[5] ฮอลล์คอนเสิร์ตจุ 630 ที่นั่ง หอจดหมายเหตุ โดยมีสถาบันอาศรมศิลป์ออกแบบอาคาร และบริษัท แลนด์โพรเซส ออกแบบสวน ก่อสร้างโดยบริษัท พรีบิลท์ จำกัด (มหาชน) และควบคุมงานโดยบริษัท คอนซัลติ้ง แอนด์ แมนเนจเม้นต์ 49 จำกัด[6]

ประวัติ

จุดเริ่มต้นของอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ธีรพล นิยม พูดคุยกับสุลักษณ์ ศิวรักษ์ และชาญวิทย์ เกษตรศิริ เกี่ยวกับการออกแบบสร้างสรรค์โครงการอะไรสักอย่างเพื่อระลึกถึง อ.ป๋วย จึงเห็นว่า การทำสวนสาธารณะน่าจะเหมาะสมที่สุด จากนั้นธีรพลจึงชวนกชกร วรอาคม แห่งบริษัทแลนด์โพรเซส กับปราณิศา บุญค้ำ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาร่วมสร้างสรรค์โครงการขึ้น เพื่อเสนอกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[7] โครงการมีวงเงินการก่อสร้างราว 1,000 ล้านบาท ส่วนอาคารได้รับงบประมาณจากทางรัฐบาล แต่ส่วนสวนสาธารณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดการระดมทุนสร้าง 150 ล้านบาท[8]

โครงการเริ่มก่อสร้าง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เปิดอาคารในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคาร[9]

การออกแบบ

ส่วนอาคาร
หลังคาเขียว

ผังแม่บท

จากการศึกษาข้อมูลด้านกายภาพพื้นที่สาธารณะเดิมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต พบว่าพื้นที่เปิดโล่งสาธารณะภายในธรรมศาสตร์ครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 70 แต่รูปแบบส่วนใหญ่เป็นที่จอดรถ ลานดาดแข็ง พื้นที่รกร้าง เป็นที่ไม่มีกิจกรรมการใช้งานของนักศึกษา ไม่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักศึกษา ขาดการพัฒนาพื้นที่ส่งเสริม การเรียนรู้ ทำกิจกรรม จึงได้เกิดแนวคิดการวางกรอบการพัฒนาผังแม่บท ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต พ.ศ. 2577 ข้อหนึ่งคือ กำหนดให้ธรรมศาสตร์ มีสวนธรรมศาสตร์สาธารณะ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนแกนกลางด้านตะวันออก-ตะวันตกที่ส่วนใหญ่ยังเป็น พื้นที่ว่างเปล่าและเส้นทางสัญจรหลักในแนวแกนด้านเหนือใต้ที่เชื่อมต่อ ชุมชนและสถาบันโดยรอบมหาวิทยาลัย รวมกันเป็นโครงข่ายสีเขียวที่เชื่อมองค์ประกอบอีกสองส่วนเข้าด้วยกัน และยังต้องการส่งเสริมพื้นที่สาธารณะ 2 ข้อ ได้แก่ การสร้างชุมชน แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (TU community) โดยเน้นการสร้างศูนย์กลางในพื้นที่การศึกษาที่ชัดเจน และการส่งเสริม ศูนย์บริการประชาชน (TU public service) เพื่อขับเน้นเอกลักษณ์จากวิถีเดิมของการให้บริการประชาชนในย่านโดยรอบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จึงได้เสนอกรอบแนวคิดการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต[10]

อาคารและสวนสาธารณะ

ผังอาคารมีรูปตัว H โดยพิจารณาจากผังบริเวณ โดยให้อาคารนี้เป็น แกนหลักของวิทยาเขตนี้ ทั้งสวนนี้ ยังติดกับถนนพหลโยธิน เพื่อให้บุคคลจากภายนอกได้ใช้ การออกแบบเป็นตัว H จึงทำให้ผู้คนสามารถมาใช้ได้จากทุกทิศทาง ออกแบบเพื่อให้เป็นห้องเรียนกลางแจ้ง ภายใต้แนวคิดประชาธิปไตย พื้นที่ของอุทยานจะแบ่งได้เป็น 4 ส่วน แทนหัวใจของประชาธิปไตย นั่นคือ ประชาชน เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ สวนสาธารณะ ประกอบด้วยลานแสดงกลางแจ้ง ลานพักผ่อน/แลกเปลี่ยนความรู้ พื้นที่เรียนรู้ของฝายชะลอน้ำ พื้นที่เรียนรู้ป่าชุ่มน้ำ เส้นทางวิ่งเพื่อสุขภาพ ศูนย์กีฬากลางแจ้งขนาดกลางและเล็ก ลานปฏิมากรรม สามัญชน คนธรรมศาสตร์ ศูนย์สุขภาพ และ ลานกิจกรรมสาธารณะ เป็นต้น[11] สำหรับพื้นที่อาคารประกอบด้วย หอประชุม ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ พิพิธภัณฑ์ ฮอลล์คอนเสิร์ตจุ 630 ที่นั่ง ฯลฯ

อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ยังออกแบบตามแนวคิดความยั่งยืน หลังคาเขียวทำเป็นเนินภูเขา มีต้นไม้ด้วย และยังมีผักที่หลากหลายสี รวมถึงการเป็นนาขั้นบันได ซึ่งตรงกับชื่ออาจารย์ป๋วย ที่แปลว่า "พูนดิน" นักศึกษา หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัย เข้ามาขอพื้นที่ปลูกผัก เพื่อเป็นรายได้เสริม และผักเหล่านี้ก็จะถูกส่งกลับมาเป็นอาหารให้นักศึกษาด้วย บนหลังคามีจุดนั่งได้ 12 ช่อง

นาขั้นบันไดมีประโยชน์หลายอย่าง ช่วยลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Urban heat island) ตัวอาคารเองก็ออกแบบมาเพื่อการประหยัดพลังงานเช่นกัน ออกแบบสอดคล้องกับทิศทางแดดลม หลังคามี 2 ชั้นเพื่อป้องกันน้ำและความชื้น ทำให้มีที่ว่างระหว่างชั้น ที่ลมสามารถพัดผ่านได้ ความร้อนก็จะเข้าสู่อาคารน้อยมาก ผนังใช้ผนังอิฐ สะท้อนคำว่า "พูนดิน" โดยใช้ผนังอิฐ 2 ชั้น กันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคาร โดยการหน่วงความร้อนไว้ ทำให้อากาศภายในอาคารไม่ร้อน มีชายคายื่นออกมาไม่ให้แดดเข้าสู่อาคารโดยตรง อาคารยังติดตั้งหลังคาเซลล์แสงอาทิตย์ นำพลังงานลมมาใช้ และมีน้ำรอบอาคาร 4 ด้าน ที่เป็นน้ำฝน ก็จะเอามารดน้ำต้นไม้ สวนแห่งนี้ออกแบบมาเพื่อเป็นพื้นที่รองรับน้ำ ซึมน้ำ และบำบัดน้ำ ด้วยพืชชนิดต่าง ๆ ก่อนปล่อยน้ำสู่ระบบคลองเดิม โดยเชื่อมโยงกับผังแม่บทเรื่องการระบายน้ำของมหาวิทยาลัย[12]

การออกแบบอาคารนี้ ยังมีแนวคิดเรื่องความประหยัด ที่สะท้อนความเป็น อ.ป๋วยที่มัธยัสถ์ โดยงบประมาณอาคารรวมครุภัณฑ์ ต่อตารางเมตรประมาณ 2 หมื่นกว่าบาท (หากเทียบกับ คอนโดมิเนียมระดับกลางสูงที่ราคาประมาณตารางเมตรละ 3 หมื่นกว่าบาท) และยังคำนึงถึงการใช้วัสดุผลิตภายในประเทศที่ง่ายต่อการบำรุงรักษา[7]

อ้างอิง

  1. "สายสีแดงบูม 3 เมืองใหม่ บางซื่อพลิกโฉมค้าปลีกอาเซียน". ประชาชาติธุรกิจ. 4 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. "PUEY UNGPHAKORN CENTENARY HALL". อาร์ตโฟร์ดี. 10 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. มิ่งขวัญ รัตนคช (7 ธันวาคม 2562). "อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "เนรมิต!! สวนผักออร์แกนิกลอยฟ้าใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ณ อาคารอุทยานเรียนรู้ ป๋วย 100 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. 17 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "Giant rooftop farm opens near Thai capital". NHK WORLD-JAPAN. 11 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. "ความคืบหน้าการก่อสร้าง อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี". สำนักงานธรรมศาสตร์สัมพันธ์ อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. 7.0 7.1 Karoonporn Chetpayark (11 พฤศจิกายน 2562). "'อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี' ความเป็นธรรมศาสตร์ที่อยากให้พื้นที่สีเขียวเป็นของทุกคน". เดอะแมตเตอร์. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. "ชวนวิ่งเพื่อสร้างสวนสาธารณะ "ป๋วย อึ๊งภากรณ์"". บางกอกไลฟ์นิวส์. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. "เจ้าฟ้าพัชรกิตติยาภาฯ ทรงเปิดอาคาร "อุทยานเรียนรู้ ป๋วย 100 ปี"". ผู้จัดการออนไลน์. 11 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  10. พรทิพย์ กิ้มนวน และ ปราณิศา บุญค้ำ (4 มิถุนายน 2562). "บทบาทพื้นที่สาธารณะในการพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต พ.ศ. 2577". Thai Journal Online. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  11. "สุดยอดแลนด์มาร์คปี 2020 สวนป๋วย". ธรรมศาสตร์ สุด สุด. 8 กรกฎาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-19. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  12. ธารริน อดุลยานนท์ (7 กันยายน 2560). "อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี : สวนใหม่ล่าสุดของธรรมศาสตร์ที่มีอาคารเรียนใต้เนินดินและพื้นที่สีเขียวสำหรับทุกคน". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9