สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีสถานะเทียบเท่าคณะ ตั้งขึ้นเพื่อให้การศึกษา ฝึกอบรม ค้นคว้า วิจัยและให้บริการด้านภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
ประวัติ
พ.ศ. 2528 สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกจัดตั้งขึ้นโดยให้มีสถาบันเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อรองรับความต้องการด้านภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนของคณะวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบบรรยายรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานที่นักศึกษาปริญญาตรีภาคปกติทุกสาขาวิชาต้องผ่านการสอบไล่
ปัจจุบัน สถาบันภาษา มีภารกิจหลักคือบรรยายวิชาภาษาต่างประเทศพื้นฐาน จัดอบรมภาษาต่างประเทศแก่องค์กรต่างๆ และบุคคลทั่วไป วิจัยและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาภาษาต่างประเทศ และเป็นศูนย์ทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษ ซึ่งได้ปฏิบัติภารกิจดังกล่าวในทั้งสามศูนย์การศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[ 1] นอกจากนี้สถาบันยังได้พัฒนาหลักสูตรภาษาต่างประเทศของตนเองขึ้นเป็นเอกเทศอีกด้วย [ 2]
ภารกิจ
บริการสังคม
สถาบันภาษา มีภารกิจบริการสังคมในด้านภาษาอังกฤษ เช่น การพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โดยเฉพาะในโรงเรียนด้อยโอกาสทางการศึกษา นอกจากนี้ยังได้ให้บริการพัฒนาภาษาอังกฤษสำหรับพระภิกษุ สามเณร และสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ทั้งนี้สำหรับเยาวชนและนักศึกษา สถาบันฯ ได้จัดให้มีค่ายภาษาอังกฤษภาคฤดูร้อน ทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งนี้สถาบันภาษา ยังมีการจัดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษเป็นประจำทุกปี โดยมีบริการจัดสอบ TU–GET (Thammasat University General English Test) และ TU–STEPS (Thammasat University Standardized Test of English Professional Skills) นอกจากนี้ยังมีบริการจัดสอบวัดระดับในระดับมัธยมศึกษา (TU–SET) ด้วย
หลักสูตร
ระดับปริญญาตรี สถาบันภาษารับผิดชอบเกี่ยวกับการบรรยายในลักษณะวิชาภาษาอังกฤษให้แก่ทุกคณะในมหาวิทยาลัย ทั้งกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน และกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ เป็นวิชาบังคับเลือก และวิชาเลือกเสรี นอกจากนี้ยังมีการเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษ เป็นรายวิชาโท ด้วย
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเชิงอาชีพเพื่อการสื่อสารนานาชาติ (ภาคภาษาอังกฤษ) (ศศ.ม. ภาษาอังกฤษเชิงอาชีพเพื่อการสื่อสารนานาชาติ) (M.A. in Career English for International Communication) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (ภาคภาษาอังกฤษ) (ศศ.ม. การสอนภาษาอังกฤษ) (M.A. in English Language Teaching) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) (ปร.ด. การสอนภาษาอังกฤษ) (Doctor of Philosophy in English Language Teaching) ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
โครงการอบรมภาษาอังกฤษสำหรับบุคคลทั่วไป
โดยให้การอบรมภาษาอังกฤษแก่บุคคลทั่วไปที่อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีในหลักสูตรต่างๆ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต[ 3] [ 4] ดังนี้
Listening & Speaking for Starters (ทักษะการฟัง – การพูดในชีวิตประจำวัน)
Fundamental English Grammar (ทักษะการใช้ไวยากรณ์)
Writing for Academic Success (ทักษะการเขียนเชิงวิชาการ)
Email Writing (การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการเขียนอีเมล)
Oral Business Communication (ทักษะการสื่อสารเชิงธุรกิจ)
IELTS Test Preparation (เตรียมสอบ IELTS)
TU-GET PBT Preparation Course (เตรียมสอบ TU-GET PBT)
TU-GET PBT Preparation Course (เตรียมสอบ TU-GET PBT)
TU-TESOL Certificate
English Upskill Certificate
อ้างอิง
↑ สยามเอชอาร์เอ็ม. (2553). สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับอาจารย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1] เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . (เข้าถึงเมื่อ: 8 สิงหาคม 2553).
↑ สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2553). ABOUT THE INSTITUTE. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2] เก็บถาวร 2010-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . (เข้าถึงเมื่อ: 21 กรกฎาคม 2553).
↑ สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2553). English Short Courses. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [3] เก็บถาวร 2010-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . (เข้าถึงเมื่อ: 21 กรกฎาคม 2553).
↑ ศูนย์พัฒนาความสามารถ ในการใช้ภาษาอังกฤษ. (2551). หลักสูตรฝึกอบรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [4] [ลิงก์เสีย ] . (เข้าถึงเมื่อ: 8 สิงหาคม 2553).
สัญลักษณ์ ศูนย์ คณะ วิทยาลัย หน่วยงานวิจัย และบริการวิชาการ วันสำคัญ คณะบุคคล สวัสดิการและบริการ อื่น ๆ