Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิทยาลัยสหวิทยาการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
College of Interdisciplinary Studies,
Thammasat University
ตราประจำมหาวิทยาลัย
สถาปนา5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 (21 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.สายฝน สุเอียนทรเมธี
ที่อยู่
วารสารวารสารสหวิทยาการ
สี  สีเทามิลเลนเนียม
  สีแดงเลือดหมู
มาสคอต
นกฮูก
เว็บไซต์www.cis.tu.ac.th

วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะ สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนในหลากหลายสาขาวิชาทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาแรก ๆ ของประเทศไทยที่จัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการศาสตร์ความรู้ลักษณะสหวิทยาการ โดยเปิดการเรียนการสอน 3 ศูนย์การศึกษา ได้แก่ ท่าพระจันทร์ ศูนย์ลำปาง และศูนย์รังสิต

ประวัติ

ในสมัยที่ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิรี เป็นอธิการบดี กลุ่มศิษย์เก่าอาวุโส เตรียมมธก. และผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิตเดิม ได้นำเสนอให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รื้อฟื้นการจัดการเรียนการสอน ธรรมศาสตรบัณฑิต ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในเวลานั้นผู้บริหารมหาวิทยาลัยหลายท่านได้ให้ความสนใจและศึกษาความเป็นไปได้ที่จะยกร่างหลักสูตรที่มีลักษณะบูรณาการองค์ความรู้สาขาต่าง ๆ ทางสังคมศาสตร์ ซึ่งอาจตอบสนองความต้องการของสังคมไทยสมัยใหม่ ต่อมาในสมัย รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นอธิการบดี รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการขยายการจัดการศึกษาออกสู่ภูมิภาคภายใต้โครงการเปิดวิทยาเขตสารสนเทศ ประกอบกับกระแสการเรียกร้องของประชาคมในจังหวัดลำปางให้มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี เพิ่มเติมจากที่มีการสอนในระดับปริญญามหาบัณฑิตโดยคณะรัฐศาสตร์อยู่แล้วเป็นเวลาหลายปี

รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการในขณะนั้น ได้เรียนเชิญท่านอธิการบดีพบปะกับประชาคมลำปาง เพื่อปรึกษาหารือความเป็นไปได้ในการขยายการจัดการรียนการสอนขึ้นที่จังหวัดลำปางแนวคิดเดิมเกี่ยวกับหลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิตจึงถูกนำมาพัฒนาเป็นหลักสูตรแบบสหวิทยาการอีกครั้ง โดยมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะทำงานชุดหนึ่งมี รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, รศ.ดร.สายทิพย์ สุคติพันธ์ และ ผศ.พรชัย ตระกูลวรานนท์ เป็นแกนนำในการทำประชาพิจารณ์และพัฒนาหลักสูตร สหวิทยาการสังคมศาสตร์ขึ้น ซึ่งต่อมาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ ได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากที่ประชุมคณบดี และในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2542 ได้รับการอนุมัติเห็นชอบหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หลักสูตรได้เริ่มจัดการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2542 ภายโตรงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และบริหารหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ

วิทยาลัยสหวิทยาการได้จัดตั้งขึ้นตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการบริหารศูนย์ลำปาง ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 มีสถานะเป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยมีหน้าที่จัดการศึกษา การวิจัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคม ตลอดทั้งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมภายใต้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2547 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2547) หลักสูตรอนุปริญญาสาขาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2547) ได้รับความเห็นชอบจากสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

วิทยาลัยสหวิทยาการ ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดโครงสร้างการบริหารใหม่ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการบริหารงานวิทยาลัยสหวิทยาการ พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 กำหนดให้วิทยาลัยสหวิทยาการแยกการบริหารงานเป็นอิสระออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และตัดโอนภารกิจงบประมาณและบุคลาคลกรของโครงการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิตสหวิทยาการสังคมศาสตร์ และ โครงการปริญญาเอกสหวิทยาการ และตัดโอนบุคลากรและงบประมาณจากสำนักงานบัณฑิตศึกษา มาอยู่ภายใต้โครงสร้างวิทยาลัยสหวิทยาการ

หลักสูตร

วิทยาลัยสหวิทยาการ ปัจจุบันมีการเรียนการสอนรวม 7 หลักสูตร โดยเปิดการเรียนการสอนทั้ง 3 ศูนย์การศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่

ปริญญาตรี

  • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ ศึกษา ณ มธ.ศูนย์ลำปาง
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิชาสหวิทยาการ ศึกษา ณ มธ.ศูนย์รังสิต
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ศึกษา ณ มธ.ท่าพระจันทร์ และ มธ.ศูนย์ลำปาง
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ศึกษา ณ มธ.ท่าพระจันทร์
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิทยาศาสตร์เเละนวัตกรรมข้อมูล ศึกษา ณ มธ.ศูนย์รังสิต

ปริญญาโท

  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสตรี เพศสถานะ และเพศวิถีศึกษา ศึกษา ณ มธ.ท่าพระจันทร์
  • ศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ ศึกษา ณ มธ.ท่าพระจันทร์

ปริญญาเอก

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ ศึกษา ณ มธ.ท่าพระจันทร์

รายนามคณบดีวิทยาลัยสหวิทยาการ

วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รายนามคณบดี (ตำแหน่งทางวิชาการขณะดำรงตำแหน่ง) วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ เล็ก สมบัติ พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2550
2. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทนา รณเกียรติ พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2553
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬาพร เอื้อรักสกุล พ.ศ. 2553 – พ.ศ. 2556
4. ศาสตราจารย์ วันทนีย์ วาสิกะสิน พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2559
5. รองศาสตราจารย์ ดร.เดชา สังขวรรณ พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2562
6. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ (รักษาการ) 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 – 28 เมษายน พ.ศ. 2563
7. ศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิง ศิริวรรณ สืบนุการณ์ (รักษาการ) 29 เมษายน พ.ศ. 2563 – 25 ตุลาคม 2563
8. รองศาสตราจารย์ ดร.สายฝน สุเอียนทรเมธี 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

อาจารย์และศิษย์เก่าวิทยาลัยสหวิทยาการที่สร้างชื่อเสียง

  • รองศาสตราจารย์ ดร.สินิทธ์ สิทธิรักษ์ อดีตอาจารย์ประจำ ผู้บุกเบิกการเรียนการสอนด้านสตรีศึกษาในระดับปริญญาโท ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีมาก ประจำปี พ.ศ. 2560
  • รองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี จุฑาวิจิตร อาจารย์คณะวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ชมเชย สาขาปรัชญา ประจำปี พ.ศ. 2549 จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์กับโลกทัศน์นักเขียนไทย : ภาพสะท้อนสังคมและ การเมืองจากวรรณกรรม ประเภทเรื่องสั้นระหว่างปี พ.ศ. 2540–2544"
  • ศาสตราจารย์ ดร.สิทธิพล เครือรัฐติกาล ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการและที่ปรึกษาผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2554 จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "ภาพลักษณ์ของเจิ้งเหอในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีน" และรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2558 จากผลงานวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือหลังสิ้นสุดสงครามเย็น (ค.ศ. 1989 - 2011)"
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน ของสภาผู้แทนราษฎร อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทางสหวิทยาการด้านรัฐสวัสดิการและความเป็นธรรมศึกษา ผู้รณรงค์ประเด็นรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าและสังคมนิยมประชาธิปไตย คณะกรรมการประกันสังคมจากการเลือกตั้งโดยตรงครั้งแรก
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ชวัล โภคาพานิชวงษ์ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี สาขาสังคมวิทยา ประจำปี พ.ศ. 2558 จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "การเชื่อม (ข้าม) ถิ่นที่ : ปฏิสัมพันธ์ของผู้คนบนเมืองชายแดนกับการต่อรอง ความหมายผ่านพื้นที่/ชุมชนทางศาสนาของผู้อพยพข้ามพรมแดนชาวพม่าในจังหวัดระนอง"
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงชัย ทองปาน ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี สาขาสังคมวิทยา ประจำปี พ.ศ. 2558 จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "เศรษฐีใหม่สวนยาง : การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีพของครัวเรือน ชาวนาในลุ่มน้ำห้วยคอง"
  • รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณลักษณ์ เมียนเกิด ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับชมเชยด้านครอบครัวประจำปี พ.ศ. 2559 ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "การปฏิบัติดูแลและคุณค่าทางจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลตำบลบางสีทอง จังหวัดนนทบุรี"
  • รองศาสตราจารย์ ดร.จุฬาพร เอื้อรักสกุล อดีตคณบดี กรรมการศูนย์อาเซียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พลอยชมพู ศุภทรัพย์ ศิษย์เก่าวิทยาลัยสหวิทยาการ รุ่นที่ 16 นักแสดง สังกัด จีเอ็มเอ็มทีวี
  • กัญญาวีร์ สองเมือง ศิษย์เก่าวิทยาลัยสหวิทยาการ รุ่นที่ 18 นักแสดง สังกัด QOW Entertainment

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9