Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
Naresuan University Hospital
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
พิกัด16°44′56″N 100°11′20″E / 16.748921°N 100.189018°E / 16.748921; 100.189018
หน่วยงาน
ประเภทโรงพยาบาลเพื่อการเรียนการสอน
สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
บริการสุขภาพ
แผนกฉุกเฉินมี
จำนวนเตียง362[1]
ประวัติ
เปิดให้บริการ26 มีนาคม พ.ศ. 2548
ลิงก์
เว็บไซต์www.med.nu.ac.th/nuh/

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐบาลระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super tertiary care) ในเขตภาคเหนือตอนล่าง สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร เลขที่ 99 หมู่ 9 ถนนพิษณุโลก - นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000

ประวัติ

เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติให้มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้น และในคราวเดียวกันก็ได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ปัจจุบันคืออาคารคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์) เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ในระดับชั้นพรีคลินิก (ชั้นปี 2-3) รวมทั้งโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมุ่งหวังให้เป็นสถานศึกษาสำหรับการเรียนการสอนในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยนเรศวรในส่วนที่เกี่ยวกับการฝึกภาคปฏิบัติการ และเป็นสถานที่พักอาศัยของนิสิตแพทย์ และนิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ ที่เรียนภาคปฏิบัติด้วย นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้เป็นศูนย์วิจัยทางการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศในเขตภาคเหนือตอนล่าง รวมทั้งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียงได้มากยื่งขึ้น

การก่อสร้างศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2539 จนแล้วเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 สภามหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ เป็น "สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร" โดยให้มีสถานะเทียบเท่าคณะและอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานอธิการบดี เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร โดยมีแนวความคิดว่าจะให้มีศูนย์วิจัยทางการแพทย์เฉพาะทางต่างๆ ในอนาคต ซึ่งสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหน่วยงานในการสนับสนุนการเรียนการสอน การบริการสุขภาพชั้นสูง และผลิตงานวิจัยเพื่อตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนตลอดมา

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2546 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อประดิษฐานหน้าอาคารสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ[2]

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในการเปิดอาคารสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ และพระราชานุสาวรีย์ โดยพระองค์ได้พระราชทานนาม "อาคารสิรินธร" แก่สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย "ส.ธ." ประดิษฐานเหนืออาคาร[2]

ปี พ.ศ. 2548 สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 118 (2/2548) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2548 โดยมีมติให้ใช้ชื่อ "โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร" และต่อมาในการประชุมสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 119 (3/2548) เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 มีมติให้รวมสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าเป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548[3] เพื่อดำเนินการเป็นโรงพยาบาลหลักสำหรับการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4-6) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป

ปัจจุบันโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง โดยเป็นแหล่งปฏิบัติงานรวมทั้งเป็นแหล่งทำการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ระดับชั้นคลินิก และนิสิตสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรมีโครงการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาลโดยเพิ่มจำนวนเตียงผู้ป่วยเป็น 400 เตียง หลังได้รับอนุมัติวงเงินงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมภายใต้โครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555[4]

ทำเนียบผู้อำนวยการ

ตั้งแต่การก่อตั้งจากศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร จนถึงโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร มีรายนามผู้อำนวยการดังนี้[2]

ศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 – 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
2. ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์สุจินต์ อึ้งถาวร 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2542
3. รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2543
สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2543 – 15 มกราคม พ.ศ. 2547
2. อาจารย์ นายแพทย์องอาจ เลิศขจรสิน 16 มกราคม พ.ศ. 2547 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2548
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. อาจารย์ นายแพทย์องอาจ เลิศขจรสิน 26 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2550
2. ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย 16 มีนาคม พ.ศ. 2550 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพิริยา นฤขัตรพิชัย 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
4. ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ศิริเกษม ศิริลักษณ์ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565
5.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพิริยา นฤขัตรพิชัย 1 กันยายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

หน่วยงาน

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีการแบ่งหน่วยงานต่างๆ ดังต่อไปนี้[5]

อ้างอิง

  1. http://gishealth.moph.go.th/healthmap/infoequip.php?maincode=14972&id=130903[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 2.2 "ประวัติความเป็นมา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-23. สืบค้นเมื่อ 2014-12-08.
  3. รายงานประจำปี 2548 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  4. "โครงการพัฒนาระบบบริการระดับตติยภูมิ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-19. สืบค้นเมื่อ 2009-11-26.
  5. "โครงสร้างองค์กรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-10-20. สืบค้นเมื่อ 2014-09-19.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9