Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
Faculty of Social Sciences
Naresuan University
ตราสัญลักษณ์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สถาปนา28 มิถุนายน พ.ศ. 2517; 50 ปีก่อน (2517-06-28)
คณบดีผศ.ดร.นภิสา ไวฑูรเกียรติ
ที่อยู่
วารสารวารสารสังคมศาสตร์
สี   สีฟ้า-ขาว
มาสคอต
พระมาลาเบี่ยง
เว็บไซต์socsci.nu.ac.th

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (Faculty of Social Sciences) เป็นคณะสายสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ณ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

ประวัติ

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก ซึ่งมีการจัดตั้ง "คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก" ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517

แต่เดิมก่อนที่จะมาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกนั้น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้พัฒนามาจากคณะวิชา "มนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก" (ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์) สังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2510 เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างในภูมิภาคของประเทศไทย ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตครูในนามสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ได้แก่ วิชาเอกสังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เป็นต้น

จากนั้น หลังได้รับการยกฐานะให้เป็น "คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก" ได้มีการเปิดสอนปริญญาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ในสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขาวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาภูมิศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการแนะแนว เป็นต้น

ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยได้ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยนเรศวร" ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ได้มีการรวมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้าด้วยกันเป็น "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร"

และในปี พ.ศ. 2546 ทางสภามหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีมติในการปรับโครงสร้างหน่วยงานใหม่ โดยให้รวมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และให้จัดตั้งคณะใหม่ 3 คณะ ซึ่งมี "คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร" รวมอยู่ด้วย

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (วันที่ 16 มกราคม 2553)  สภามหาวิทยาลัยจึงได้มีมติเห็นสมควรให้จัดตั้งภาควิชาในคณะสังคมศาสตร์ และให้แบ่งส่วนงานภายในออกเป็น 5 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขานุการคณะ ภาควิชาจิตวิทยา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

ปี พ.ศ. 2557 คณะสังคมศาสตร์ ได้รับการประเมินให้เป็นคณะวิชาที่ผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาตรี ที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2555 มีระดับความพึงพอใจในด้านคุณภาพของบัณฑิตและการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด  และมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทุกคณะวิชาในมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยตามตัวบ่งชี้เรื่องคุณภาพของบัณฑิตระดับปริญญาตรี  คณะสังคมศาสตร์ ได้คะแนนสูงสุดใน 3 มิติ คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และตัวบ่งชี้  เรื่อง ผลการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์ คณะสังคมศาสตร์ ได้คะแนนสูงสุดใน 4 มิติ คือ ด้านเก่งคน ด้านเก่งคิด ด้านเก่งครองชีวิต ด้านเก่งพิชิตปัญหา

ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558 คณะสังคมศาสตร์ ได้ครบรอบการก่อตั้ง 41 ปี และพร้อมๆ กันนี้ จะเป็นปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยนเรศวรครบรอบ 25 ปี คณะสังคมศาสตร์ จึงมุ่งมั่นสู่การเป็นคณะวิชาที่เน้นการศึกษาวิจัยประเด็นด้านสังคมศาสตร์อย่างเข้มข้น การสร้างนวัตกรรม ด้วยมาตรฐานทางวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยเน้นการบูรณาการการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้บัณฑิตของคณะเป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิตสืบต่อไป

ภาควิชา

ปัจจุบัน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบด้วย 4 ภาควิชา ดังนี้

  • ภาควิชาจิตวิทยา
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • ภาวิชาพัฒนาสังคม
  • ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรการศึกษา

ปัจจุบัน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรในสาขาวิชา ได้แก่

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ภาควิชา
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
ภาควิชาจิตวิทยา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาจิตวิทยา
ภาควิชาประวัติศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์
ภาควิชาพัฒนาสังคม

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาพัฒนาสังคม

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาพัฒนาสังคม

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)(ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์)

  • สาขาวิชาสังคมศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.)

  • วิชาเอกการเมืองการปกครอง
  • วิชาเอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • วิชาเอกรัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)

  • สาขาวิชารัฐศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชารัฐศาสตร์

ภาควิชารัฐศาสตรค์และรัฐประศาสนศาสตร์

ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Department of Political Science and Public Administration,
Faculty of Social Sciences, Naresuan University
สถาปนา1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (21 ปี)
(สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์)
16 มกราคม พ.ศ. 2553 (15 ปี)
(ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์)
หัวหน้าภาควิชารศ.ดร.วัชรพล พุทธรักษา
ที่อยู่
สี  สีม่วง
มาสคอต
สิงห์ม่วง
เว็บไซต์http://www.socsci.nu.ac.th/th/?page_id=10442

เดิมภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คือ ภาควิชารัฐศาสตร์ สังกัดคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก รับผิดชอบการเรียนการสอนร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ ผลิตบัณฑิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ นอกจากนี้ ภาควิชารัฐศาสตร์ ยังได้เปิดวิชาโทรัฐศาสตร์ให้นิสิตทุกคณะ ทุกเอก ได้มีโอกาสเลือกเรียน และยังเป็นทุกรายวิชาในวิชาโทรัฐศาสตร์ให้เป็นวิชาเลือกเสรีอีกด้วย

ต่อมาเมื่อมีการสถาปนามหาวิทยาลัยนเรศวรขึ้นในปี พ.ศ. 2533 คณะสังคมศาสตร์เดิมก็ได้ถูกรวมเข้ากับคณะมนุษยศาสตร์เดิม เป็นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2546 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ก็ได้แยกออกเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ โดยสาขาวิชารัฐศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของคณะสังคมศาสตร์ และมีหัวหน้าสาขาวิชาคนแรก คือ รองศาสตราจารย์วรรณา เจียมศรีพงษ์ และต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นสาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ รับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตในหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต และ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

ต่อมาในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยครั้งที่ 28/2552 วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 มีมติให้จัดตั้งภาควิชาในคณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ จึงได้จัดตั้งเป็น ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ตราสัญลักษณ์

ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีสัญลักษณ์ คือ สิงห์ม่วงในโล่กลมโบราณ ซึ่งสื่อความหมายถึง โล่กลมโบราณ อันหมายถึง สัญลักษณ์ที่นำมาจากตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร สื่อถึงการเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยนเรศวรและสีม่วง คือ สีประจำวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นสีประจำจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนเรศวรอีกด้วย

คติพจน์

"เจตน์จำนงสิงห์นเรศวร เพื่อประเทศ เพื่อประชา"

เพลงประจำภาควิชา

"ชูเกียรติสิงห์ม่วง" นอกจากนี้ยังมีเพลงอื่นๆ อีก อาทิ สิงห์ม่วงมอนอ เลือดสิงห์เดียวกัน เป็นต้น

งานวิชาการที่สำคัญประจำภาควิชา

แหล่งข้อมูลอื่น

ศูนย์

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบด้วยศูนย์ต่าง ๆ ดังนี้

ศูนย์ศึกษาบทบาทหญิงและชาย

ศูนย์ศึกษาบทบาทหญิงและชาย เดิมชื่อ ศูนย์สตรีและเด็กศึกษา เป็นหน่วยงานเพื่อการพัฒนาประเทศที่มุ่งพัฒนาสู่สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการเสริมสร้างศักยภาพและการมีส่วนร่วมของหญิงและชายในการพัฒนาประเทศ ดำเนินงานในลักษณะ การสัมมนาและฝึกอบรม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ งานวิจัย การเผยแพร่ความรู้ทางจดหมายข่าวและจุลสาร การจัดบริการให้คำปรึกษา การประชุมทางวิชาการ และการจัดระบบและการบริการข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น

มีบทบาทในการส่งเสริมและการพัฒนาความเสมอภาคในหญิงและชาย โดยประสานการจัดบริการชุมชนร่วมกับองค์กรในท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง โดยขอบข่ายงานครอบคลุมงานด้านการพัฒนา การป้องกันการแก้ไขปัญหาและการนำเสนอข้อมูลเชิงวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ในวงกว้างของชุมชนและสังคมและกลุ่มชนทุกระดับ ถึงผลที่เกิดขึ้นตามปรากฏการณ์ภาพที่เป็นจริงของสังคม โดยเฉพาะการให้ความสำคัญของสถาบันครอบครัวซึ่งเป็นศูนย์รวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9