Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
Faculty of Humanities Naresuan University
สัญลักษณ์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สถาปนา28 มิถุนายน พ.ศ. 2517; 50 ปีก่อน (2517-06-28)
คณบดีรศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์
ที่อยู่
วารสารสุวรรณภิงคารสาร
สี  สีน้ำตาล
มาสคอต
สุวรรณภิงคาร หรือ กลศ
เว็บไซต์human.nu.ac.th
สุวรรณภิงคารจากพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (อังกฤษ : Faculty of Humanities, Naresuan University) มีความเป็นมาหลายยุค หลายสมัย ตั้งแต่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก และมหาวิทยาลัยนเรศวร ในปัจจุบัน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรมีภารกิจในการสอนวิชาศึกษาทั่วไป วิชาเฉพาะและวิชาเลือกเสรี ให้แก่นิสิตคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยนเรศวร

ประวัติ

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก ซึ่งมีการจัดตั้ง "คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก" ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517[1]

แต่เดิมก่อนที่จะมาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกนั้น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้พัฒนามาจากคณะวิชา "มนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก" (ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์) สังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2510 เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างในภูมิภาคของประเทศไทย ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตครูสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ได้แก่ วิชาเอกสังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เป็นต้น

จากนั้น หลังได้รับการยกฐานะให้เป็น "คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก" ได้มีการเปิดสอนปริญญาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ในสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้ สาขาวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาพม่า ภาษาศาสตร์ และหลักสูตรปริญญาการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ได้แก่ วิชาเอกศิลปศึกษา ดนตรีศึกษา นาฏศิลป์ศึกษา หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) ได้แก่ ทัศนศิลป์ ดุริยางคศาสตร์ นาฏศิลป์ไทย เป็นต้น

ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยได้ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยนเรศวร" ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ได้มีการรวมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้าด้วยกันเป็น "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร"

และในปี พ.ศ. 2546 ทางสภามหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีมติในการปรับโครงสร้างหน่วยงานใหม่ โดยให้รวมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เดิมเป็น "คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร" และให้จัดตั้งคณะสังคมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ ขึ้นมาใหม่

ภาควิชา

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แบ่งภาควิชาออกเป็น 9 ภาควิชาดังต่อไปนี้

  • ภาควิชาภาษาศาสตร์
  • ภาควิชาภาษาตะวันออก
  • ภาควิชาภาษาตะวันตก
  • ภาควิชาดนตรีวิทยา
  • ภาควิชาวรรณคดีและคติชนวิทยา
  • ภาควิชาภาษาอังกฤษ
  • ภาควิชาภาษาไทย
  • ภาควิชาศิลปะการแสดง
  • ภาควิชาปรัชญาและศาสนา

หลักสูตรการศึกษา

ปัจจุบัน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดสอนในหลักสูตรและสาขาวิชา ดังต่อไปนี้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
  • สาขาวิชาภาษาพม่า
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาเกาหลี
  • สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย
  • สาขาวิชาภาษาอินโดนีเซีย
  • สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
  • สาขาวิชาดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน
  • สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย
  • สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาศาสตร์
  • สาขาวิชาฝรั่งเศสศึกษา
  • สาขาวิชาคติชนวิทยา
  • สาขาวิชาวิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์
  • สาขาวิชาภาษาจีน


หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต

(ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์)

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาศาสตร์
  • สาขาวิชาคติชนวิทยา

สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย

เป็นหน่วยงานระดับหลักสูตร มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับหลักสูตร สังกัดภาควิชาดนตรี ที่จัดการเรียนการสอนวิชาดนตรีไทยในระดับปริญญาตรี เริ่มทำการเรียนการสอนเป็นทางการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2544 ณ ขณะนั้นได้สังกัดอยู่กับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย มีการปรับเปลี่ยนสถานะอยู่หลายคราว ขึ้นกับการจัดระบบบริหารงานของคณะมนุษยศาสตร์

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา : พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗ เก็บถาวร 2022-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2564.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9