Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน มหาวิทยาลัยนเรศวร

วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน
“สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์”
มหาวิทยาลัยนเรศวร
The Institute for Fundamental Study “The Tah Poe Academia Institute”
ชื่อเดิมฟอรัมฟิสิกส์ทฤษฎีระดับนักศึกษา
กลุ่มฟิสิกส์ทฤษฎีท่าโพธิ์
สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ สำหรับฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา[1]
ชื่อย่อIF
สถาปนา14 มีนาคม พ.ศ. 2554; 13 ปีก่อน (2554-03-14)
ผู้อำนวยการดร.เสกสรร สุขะเสนา
ที่อยู่
วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน “สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ” ชั้น 2 อาคารมหาธรรมราชา A มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 ประเทศไทย
เว็บไซต์if.nu.ac.th

วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีฐานะเทียบเท่าคณะวิชาของมหาวิทยาลัยนเรศวร เน้นการวิจัยและการจัดการศึกษาชั้นสูงทางฟิสิกส์ทฤษฎีและการค้นคว้าศาสตร์อื่นที่ใช้ฟิสิกส์ทฤษฎีเป็นเครื่องมือในการวิจัยระดับรากฐานขององค์ความรู้ ปัจจุบัน IF มีการวิจัยในระดับนานาชาติในสาขาต่าง ๆ คือ จักรวาลวิทยา, สัมพัทธภาพทั่วไปและความโน้มถ่วง, ทฤษฎีสนามควอนตัม, ความโน้มถ่วงควอนตัมและทฤษฎีสตริง, ฟิสิกส์ควอนตัมประยุกต์, โครงสร้างเชิงทฤษฎี และ ฟิสิกส์ของระบบเศรษฐศาสตร์ การเงินและสังคม

ประวัติ

วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน มหาวิทยาลัยนเรศวร เริ่มแรกเป็นการรวมตัวกันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาฟิสิกส์ ศึกษาศาสตร์ฟิสิกส์ และวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นฟอรัมฟิสิกส์ทฤษฎีระดับนักศึกษา (Students' Forum for Theoretical Physics: SFTP) ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมาชิกในขณะนั้นคือ บุรินทร์ กำจัดภัย, ศุภปิยะ ทวีวิไลศิริกุล (ศุภปิยะ สิระนันท์), นราธิป สงมี และเดชา ศุภพิทยาภรณ์ มีที่ทำการซึ่งได้รับการอนุเคราะห์จากห้องปฏิบัติการวิจัยสารเซรามิคส์ซูเปอร์คอนดัคเตอร์ที่ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ปรึกษาของฟอรัมในขณะนั้นคือ ผศ.ดร.สดชื่น วิบูลยเสข และ รศ.ดร.นิกร มังกรทอง[2]

ต่อมาเมื่อ บุรินทร์ กำจัดภัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมกับ ชนัญ ศรีชีวิน บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งกลุ่มฟิสิกส์ทฤษฎีท่าโพธิ์ (The Tah Poe Group of Theoretical Physics : TPTP) ขึ้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2539 โดยพยายามผลักดันนักฟิสิกส์รุ่นเยาว์ให้มีการพัฒนาการศึกษาด้านฟิสิกส์ทฤษฎีและบรรยากาศทางวิชาการขึ้น ภายหลังกลายเป็นเครือข่ายเพื่อนพ้องและความร่วมมือของนักฟิสิกส์รุ่นเยาว์ในหลายสถาบันในประเทศไทย[2]

เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2549 ที่ประชุมมาสเตอร์ทาพาเอียน (คณาจารย์) มีมติให้ยกฐานะสำนักเรียนท่าโพธิ์เป็น สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ สำหรับฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา (The Tah Poe Academia Institute for Theoretical Physics and Cosmology) โดยยังคงมีชื่อย่อเดิมคือ TPTP และชื่อสั้นคือ สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ (The Tah Poe Academia Institute) โดยมีคณะกรรมการ 3 ชุดคือ คณะกรรมการที่ปรึกษา สภาทาพาเอียนและสภาวิชาการ และให้ บุรินทร์ กำจัดภัย ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ (Headmaster)[2] ต่อมาวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554 มีประกาศสภามหาวิทยาลัยนเรศวรเรื่อง จัดตั้งส่วนงานและการแบ่งส่วนงานในมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้จัดตั้งวิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน ขึ้น โดยมีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป และให้โอนกิจการที่เกี่ยวข้องกับ (1) ด้านการวิจัย (2) การจัดการเรียนการสอน (3) สถานีฟิสิกส์ศึกษาและการบริการวิชาการ (4) สัมมนาท่าโพธิ์ (5) การสร้างความตระหนักของประชาชนต่อวิทยาศาสตร์ สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์สำหรับฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยา ไปอยู่ภายใต้การบริหารจัดการที่เป็นทางการของวิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐานด้วย โดยให้คงเหลือไว้แต่กิจการเกี่ยวกับการสอบข้ามฟาก การสอบเลื่อนชั้นและการเป็นสภาการศึกษาไว้[2]

หลักสูตร

IF เป็นโรงเรียนฟิสิกส์ที่ฝึกนักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก (Postdoctoral Training School) โดยมุ่งเน้นการผลิตอาจารย์ฟิสิกส์ระดับมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพสูงและสามารถเป็นผู้นำทางวิชาการได้ด้วยตัวเอง และมีหลักสูตรการศึกษาดังนี้

  1. ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ฟิสิกส์ทฤษฎี) (Semi - English Program)
  2. ป.บัณฑิตชั้นสูง (สนามควอนตัม ความโน้มถ่วงและจักรวาลวิทยา) (English Program) (สูงกว่าปริญญาโท)
  3. ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ฟิสิกส์ทฤษฎี) English Program

อ้างอิง

  1. , ประวัติวิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน "สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ", สืบค้นเมื่อ 26สิงหาคม พ.ศ. 2559
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ประวัติวิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9