Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
Maharaj Nakhon Si Thammarat Hospital
แผนที่
ประเภทโรงพยาบาลมหาราช
ที่ตั้ง198 ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง24 มิถุนายน พ.ศ. 2496 (โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช)
12 กันยายน พ.ศ. 2525 (โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช)
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
โรงเรียนแพทย์คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
ผู้อำนวยการนายแพทย์พงษ์พจน์ ธีรานันตชัย
จำนวนเตียง844
เว็บไซต์โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เดิมชื่อโรงพยาบาลนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่ 198 ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติ

โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2495 บนที่ดิน 37 ไร่ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “วังโพธิ์ยายรด” อันเป็นที่ประทับในสมัยทรงดำรงตำแหน่งเป็นอุปราชของจังหวัดในภาคใต้และพื่อเป็นอนุสรณ์จึงได้ตั้งชื่อเรือนคนไข้หลังแรกว่า “ยุคลฑิฆัมพร”

โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช ได้เริ่มให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2496 โดยมีขนาด 10 เตียง มีแพทย์ 2 คน คือ นายแพทย์จำลอง แจ่มไพบูลย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาล และแพทย์หญิงองุ่น แจ่มไพบูลย์ มีลูกจ้างประจำ 10 คน หลังการก่อสร้างตึกอำนวยการเสร็จโรงพยาบาลจึงได้เปิดให้บริการเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2496 และขยายเป็น 25 เตียง โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช ได้รับการพัฒนาขยายต่อมาเป็นโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง เพื่อรองรับคนไข้ที่มารับบริการเพิ่มขึ้นทุกปี

ในปี พ.ศ. 2517 นายแพทย์สุพาศน์ บุรพัฒน์ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล แทนนายแพทย์จำลอง แจ่มไพบูลย์ ซึ่งได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช

ในปี พ.ศ. 2521 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งสร้างโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 1,000 เตียง ประจำภาคต่างๆ ของประเทศและขอพระราชทานนามว่า “โรงพยาบาลมหาราช” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ซึ่งเมื่อพิจารณาจากความเหมาะสม โรงพยาบาลนครศรีธรรมราชจึงได้รับการคัดเลือก ดังนั้นในปี พ.ศ. 2522 จากความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น ด้านการก่อสร้าง และจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ รวมเป็นจำนวนเงิน 360 ล้านบาท การ่อสร้างโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จึงได้มีการดำเนินการในปี พ.ศ. 2523 และเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2526

วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิด “โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช”[1][2]

ผู้อำนวยการ

โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายแพทย์จำลอง แจ่มไพบูลย์ พ.ศ. 2496พ.ศ. 2517
2. นายแพทย์สุพาศน์ บุรพัฒน์ พ.ศ. 2517พ.ศ. 2525
โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายแพทย์สุพาศน์ บุรพัฒน์ พ.ศ. 2525พ.ศ. 2533
2. นายแพทย์สนั่น ประเสริฐศิลป์ พ.ศ. 2533พ.ศ. 2534
3. นายแพทย์อุระพงษ์ เวศกิจกุล พ.ศ. 2534พ.ศ. 2550
4. นายแพทย์สมชาย นิ้มวัฒนากุล พ.ศ. 2550พ.ศ. 2552
5. นายแพทย์สมชัย อัศวสุดสาคร พ.ศ. 2552พ.ศ. 2558
6. นายแพทย์ประภาส จิตตาศิรินุวัตร พ.ศ. 2558พ.ศ. 2559
7. นายแพทย์ทรงเกียรติ เล็กตระกูล พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2565
8. นายแพทย์พงษ์พจน์ ธีรานันตชัย พ.ศ. 2565 – พ.ศ. 2567
9. แพทย์หญิงจิรวรรณ อารยะพงษ์ พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ของสถาบันพระบรมราชชนก สถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2537 ณ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติ

ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแพทย์ในชนบทเป็นจำนวนมาก และรุนแรงขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมมากขึ้น ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมและความเจริญก้าวหน้าของวัตถุได้แพร่ขยายเข้าสู่ชนบท โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ก็แพร่อย่างรวดเร็วและเพิ่ม มากขึ้นประชาชนต้องการดูแลรักษามากขึ้น แต่แพทย์จำนวนมากต้องการทำงานในกรุงเทพฯ และในเมืองที่มีความเจริญด้านเศรษฐกิจ อีกทั้งสถานพยาบาลเอกชนก็ยังดึงดูดแพทย์จากภาครัฐในชนบทไปอีกมากด้วย พ .ศ .2537 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัยจัดทำโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทขึ้น โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชได้เข้าร่วมโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท โดยจัดตั้งเป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก เป็น 1 ใน 13 ศูนย์แพทย์ที่เข้าร่วมโครงการโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล รับนักศึกษาแพทย์ตั้งแต่ ปี 2541 ( เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2542 ) โดยกำหนดให้มีโควตา ในปีการศึกษา 2548 ในเขตการศึกษาเป็นเขต 16 รับนักเรียนที่มีภูมิลำเนา จังหวัดนครศรีธรรมราช

หลักสูตรการศึกษา

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยมหิดล ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ระยะเวลาในการศึกษา

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ผ่านทางระบบรับตรงประจำปีตามประกาศศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ตามเขตพื้นที่จังหวัดที่สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุขกำหนดในแต่ละปี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "ประวัติโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-21. สืบค้นเมื่อ 2017-12-07.
  2. "ผู้บริหารโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-21. สืบค้นเมื่อ 2017-12-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9