อัตตาธิปไตย
ในสาขารัฐศาสตร์ อัตตาธิปไตย[1] (อังกฤษ: autocracy) เป็นระบอบการปกครองที่อำนาจสูงสุดรวมศูนย์อยู่ในมือของบุคคลคนเดียว ที่สามารถตัดสินใจได้อย่างไม่จำกัดโดยกฎหมายหรือกลไกการควบคุมที่ประชาชนตั้งขึ้น (อาจยกเว้นเมื่อคุกคามโดยปริยายด้วยรัฐประหารหรือการก่อการกำเริบของมวลชน)[2] เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า "ระบอบการปกครองที่ผู้นำมีอำนาจเด็ดขาดและไม่จำกัด"[3] อัตตาธิปไตยในประวัติศาสตร์ปกติจะอยู่ในรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบเผด็จการ ในยุคต้น ๆ คำว่า "autocrat" มักใช้หมายถึงลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ปกครอง โดยนัยว่า "ไร้ผลประโยชน์ขัดกัน" ประวัติในยุคกรีกสมัยกลาง (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5-6 จนจบสมัยกลาง) คำว่า Autocrates ใช้กับใครก็ได้ที่มีบรรดาศักดิ์เป็น "จักรพรรดิ" ไม่ว่ากษัตริย์จะทรงมีอำนาจเช่นไรจริง ๆ กษัตริย์เชื้อสายสลาวิกบางพระองค์ รวมทั้งจักรพรรดิของรัสเซียยังทรงมีคำว่า อัตตาธิปัตย์ (Autocrat) ในพระยศของพระองค์ ผิดจากกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในประเทศยุโรปอื่น ๆ เปรียบเทียบกับระบอบอื่นทั้งระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จและเผด็จการทหารบ่อยครั้งระบุว่าเป็นอัตตาธิปไตย แม้อาจไม่ใช่จริง ๆ เพราะในระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ รัฐจะควบคุมวิถีชีวิตและประชาสังคมทุกอย่าง อาจมีผู้มีอำนาจเผด็จการสูงสุด ซึ่งก็จะทำให้เป็นอัตตาธิปไตย หรืออาจมีผู้นำเป็นกลุ่มเช่น คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองหรือพรรคการเมืองเดี่ยว ตามการวิเคราะห์ข้อพิพาททางการทหารระหว่างรัฐสองรัฐ ถ้ารัฐหนึ่งเป็นอัตตาธิปไตย โอกาสความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ[4] นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ยกตัวอย่างที่จำแนกความแตกต่างระบอบอัตตาธิปไตยกับระบอบระบอบอำนาจนิยมโดยยกเรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ไว้ว่า "พระเจ้าเสือต้องการใช้อำนาจตามหลักอัตตาธิปไตย พระเจ้าแผ่นดินคือผู้มีอำนาจล้นพ้น จะรับสั่งให้อะไรเป็นผิดหรือถูกก็ได้ทั้งนั้น...แต่พระราชอำนาจในทัศนะของพันท้ายฯ เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้เพราะอาญาสิทธิ์ หากทรงละเว้นไม่เอาโทษพันท้ายฯ ก็จะทำให้อาญาสิทธิ์เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์"[5] การรักษาอำนาจเพราะองค์อัตตาธิปัตย์ (autocrat) ก็ต้องอาศัยคนอื่น ๆ เพื่อจะปกครอง ดังนั้น การแยกแยะอัตตาธิปไตยจากคณาธิปไตยที่เกิดในประวัติศาสตร์ บางครั้งจึงเป็นเรื่องยาก อัตตาธิปัตย์ตามประวัติโดยมากต้องอาศัยขุนนาง ทหาร นักบวช และกลุ่มอภิสิทธิชนอื่น ๆ[6] อัตตาธิปไตยบางครั้งจะอิงอำนาจการปกครองกับเทวสิทธิราชย์ ตัวอย่างตามประวัติจักรวรรดิโรมัน - ในปี 27 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิเอากุสตุสทรงก่อตั้งจักรวรรดิโรมันหลังจากอวสานของสาธารณรัฐโรมัน แม้พระองค์จะทรงอนุญาตวุฒิสภาโรมัน แต่อำนาจที่แท้จริงก็อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ทั้งสิ้น เป็นระบอบที่ทรงสันติภาพและความรุ่งเรืองจนกระทั่งถึงจักรพรรดิก็อมมอดุสเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 161 แล้วต่อมาในคริสต์ทศวรรษที่ 3 จึงเห็นการรุกรานจากอนารยชนและความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ต่อมาทั้งจักรพรรดิดิออเกลติอานุส (ค.ศ. 284-305) และจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช (ค.ศ. 306-337) ก็ทรงอำนาจโดยเป็นผู้นำเผด็จการเบ็ดเสร็จ ซึ่งเพิ่มอำนาจขององค์จักรพรรดิ แต่จักรวรรดิโรมันก็ขยายใหญ่มากจนจักรพรรดิดิออเกลติอานุส ต้องทรงให้ปกครองโดยผู้นำ 4 ท่านเป็นระบบ tetrarchy (ค.ศ. 284-324) ในที่สุด จักรวรรดิโรมันก็แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ภาคตะวันตก (โรมัน) และภาคตะวันออก (จักรวรรดิไบแซนไทน์) โดยจักรวรรดิโรมันตะวันตกในที่สุดก็ล้มลงใน ค.ศ. 476 หลังจากที่จักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุส ทรงยอมแพ้ต่อกษัตริย์เยอรมัน[7] ดูเพิ่มเชิงอรรถและอ้างอิง
|