คุณธรรมนิยม
ธรรมาธิปไตย (อังกฤษ: meritocracy) หรือ คุณธรรมนิยม เป็นระบบการเมืองซึ่งเศรษฐทรัพย์และ/หรืออำนาจทางการเมืองถูกมอบให้กับบุคคลโดยขึ้นอยู่กับความสามารถ ความพยายาม หรือความสำเร็จ มิใช่ความมั่งคั่งหรือชนชั้นทางสังคม[1] การเจริญก้าวหน้าในระบบเช่นนี้ขึ้นอยู่กับประสิทธิผลซึ่งถูกวัดด้วยการทดสอบหรือสัมฤทธิผลอันเป็นประจักษ์ แม้ว่าแนวคิดคุณธรรมนิยมจะดำรงอยู่มาแล้วหลายศตวรรษ คำว่า "meritocracy" ในภาษาอังกฤษเพิ่งถูกบัญญัติขึ้นใน ค.ศ. 1958 โดยนักสังคมวิทยาในหนังสือเสียดสีการเมืองดิสโทเปียชื่อว่า The Rise of the Meritocracy[2] สาระสำคัญของระบอบธรรมาธิปไตย ได้แก่ การจะบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งย่อมไม่กระทำโดยคำนึงถึงทักษะความสามารถและ/หรือประสบการณ์ของบุคคลนั้นเป็นที่ตั้ง หากแต่คำนึงถึงคุณธรรมของบุคคลนั้น กับทั้งสถานการณ์และความต้องการในขณะที่มีการยื่นขอเข้ารับการบรรจุหรือการแต่งตั้งเป็นหลัก นอกจากนี้ ย่อมไม่คำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้โดยเด็ดขาด กล่าวคือ ความยากดีมีจน (เศรษฐยาธิปไตย) ความสัมพันธ์ทางครอบครัว (คติเห็นแก่ญาติ) ความสัมพันธ์ฉันมิตร (คติเห็นแก่มิตร) ชนชั้นวรรณะ (คณาธิปไตย) ความเต็มใจและ/หรือความต้องการของบุคคลนั้น (ประชาธิปไตย) และพื้นเพอื่น ๆ ตามแต่สถานการณ์เป็นต้นว่าอำนาจทางการเมืองหรือสถานะทางสังคม อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริง การมักไม่ได้เป็นไปตามหลักดังกล่าวโดยครบถ้วนนัก กับทั้งการบรรจุและการแต่งตั้งบุคคลก็มักพิจารณาถึงความเหมาะสมกับงาน ทักษะความสามารถ และบุคลิกภาพของบุคคลนั้นเป็นที่ตั้ง สังคมธรรมาธิปไตยมักยกย่องเชิดชูบุคคลที่กระทำคุณประโยชน์เป็นที่ประจักษ์ อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|