สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) (13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560[2]) ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 มาตรา 39/2 ทำหน้าที่ศึกษาและปฏิรูปทั้ง 11 ด้านสืบต่อจาก สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ถูกยุบไปตามมาตรา 39/1 โดยสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศนั้นประกอบด้วยบุคคลจากหลากหลายอาชีพทั้งสิ้นไม่เกิน 200 คนซึ่งทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งโดย นายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งโดยไม่ต้องนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย วันที่ 5 ตุลาคม 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้เรียกประชุมที่บ้านเกษะโกมล และได้มีการลงนามแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศทั้ง 200 คนพร้อมกับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ทั้ง 21 คน ซึ่งสมาชิกทั้ง 200 คนประกอบไปด้วยอดีตสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ,นักวิชาการ,นายทหารนายตำรวจทั้งในและนอกราชการ,ตัวแทนกลุ่มการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองโดยสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูประเทศเป็นชาย 183 คนและหญิง 17 คนโดยในวันเดียวกัน ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศทั้ง 200 คน[3] วันที่ 13 ตุลาคม 2558 มีพิธีเปิดประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศที่ อาคารรัฐสภา โดยมีนาย ชัย ชิดชอบ สมาชิกสภาที่อาวุโสสูงสุดทำหน้าที่เป็นประธานสภาชั่วคราวเพื่อเลือกประธานสภาผลปรากฏว่าศาสตราจารย์เกียรติคุณ ร้อยเอก ดร. ทินพันธุ์ นาคะตะ ซึ่งพลเอก ฐิติวัจน์ กำลังเอก บุตรชายของ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก อดีต ผู้บัญชาการทหารบก และอดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เสนอชื่อเพียงคนเดียวได้รับเลือกเป็นประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศโดยมีนาย อลงกรณ์ พลบุตร เป็นรองประธานสภาคนที่ 1 และนางสาว วลัยรัตน์ ศรีอรุณ เป็นรองประธานสภาคนที่ 2 โดยในวันเดียวกัน ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งประธานสภาและรองประธาน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ [4] วันที่ 27 ตุลาคม 2558 ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ลงนามในคำสั่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ 150/2558 เรื่องแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นางสายทิพย์ เชาวลิตถวิล ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[5] วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ร้อยเอก ดร.ทินพันธุ์ นาคะตะ ได้ประกาศ ข้อบังคับ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2558[6] วันที่ 1 ตุลาคม 2559 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศทหารชั้นนายพล วาระ ตุลาคม 2559 โดยมีสมาชิกได้รับพระราชทานยศ พลเอก 3 รายได้แก่ พลเอก สสิน ทองภักดี พลเอก สุรเดช เฟื่องเจริญ พลเอก ธงชัย สาระสุข นางสายทิพย์ เชาวลิตถวิล เกษียณอายุราชการ นายสรศักดิ์ เพียรเวช ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จำนวนผู้จบปริญญาเอก ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ มีจำนวน 23 รายจาก 200 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.5 มากกว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 ที่มีจำนวน 16 ราย จาก 220 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.27 มีผู้ที่มียศทหารและตำรวจไทย ทั้งหมด 78 ราย จาก 200 ราย คิดเป็นร้อยละ 39 ยศกองอาสารักษาดินแดน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ผู้มีตำแหน่งทางวิชาการ 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 และเป็นแพทย์ 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.5 อำนาจหน้าที่
รายนามสมาชิกสื่อข่าว
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |